อิคิไก กับ แฟรนไชส์

ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ทุกคนต่างมี “ อิคิไก ” (ikigai) หรือ “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่” ซ่อนอยู่ในตัวเองทั้งนั้น กล่าวคือ คุณค่าในชีวิตที่ทำให้เราตื่นขึ้นมายามเช้า เพื่อมีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย ในการได้ทำสิ่งที่ตัวเองรัก

อิคิไก ไม่ได้หมายถึงแค่เป้าหมายชีวิตเพียงอย่างเดียว แต่ในเป้าหมายนั้นจะต้องมีการให้ความหมาย หรือคุณค่าที่ตัวเองยึดถือรวมอยู่ด้วย ประกอบไปด้วย 4 อย่าง ก็คือ ทำสิ่งที่รัก, ทำสิ่งที่ถนัด, ทำสิ่งที่สร้างรายได้ และทำประโยชน์แก่โลกใบนี้

ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า

ภาพจาก goo.gl/images/FJxguL

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูว่า เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ “อิคิไก” และเหตุผลของธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในมุมมองของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี เป็นอย่างไร ทำไมแฟรนไชส์ถึงมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต

ความลับอาจอยู่ที่คำว่า อิคิไก (Ikigai)

j1

ภาพจาก goo.gl/images/8CxNom

ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า “อิคิ (生き)” จากคำว่า “อิคิไก (生き甲斐)” แปลว่า “การมีชีวิตอยู่” พอมารวมกับคำว่า “ไก (甲斐)” ที่แปลว่า “ผล/คุณค่า” แล้ว ทำให้เราสามารถตีความได้ว่า

อิคิไก (Ikigai) คือ “เหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่” เป็นคำที่แสดงถึงความคิดในการมองโลกอย่างมีความสุข สอดคล้องกับแนวคิดของชาวโอกินาวาที่อาศัยอยู่หมู่เกาะทางใต้ของญี่ปุ่นคนกลุ่มนี้มีชีวิตยืนยาวและสุขภาพจิตที่ดีสุดในโลก

พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีอิคิไกอยู่ในตัว คือมีคุณค่าและความหมายอะไรบางอย่าง ที่อยากจะตื่นขึ้นมาเพื่อทำสิ่งนั้น ซึ่งคำนี้มีใช้ทั้งในญี่ปุ่นและนักวิชาการประเทศอื่นด้วย

อิคิไก คือ ความสมดุล

i5

ภาพจาก pixabay.com/photo-217882

จากองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่

  1. ทำในสิ่งที่รัก
  2. ทำในสิ่งที่ถนัด
  3. ทำในสิ่งที่สร้างรายได้
  4. ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกใบนี้

เมื่อนำ สิ่งที่รัก + สิ่งที่ถนัด ก็จะเกิดเป็นความหลงใหล (Passion) เอาสิ่งที่รัก + สิ่งที่โลกต้องการ จะเป็นหน้าที่ (Mission) เอาสิ่งที่โลกต้องการ + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะเท่ากับงาน (Vocation)

เอาสิ่งที่ถนัด + สิ่งที่สร้างรายได้ ก็จะได้เป็นอาชีพ (Profession) หากขาดสมดุลที่ลงตัวก็จะทำให้เรารู้สึกไร้ค่า ว่างเปล่า ไม่มั่นคง และไม่มั่งคั่ง จนไม่ทำให้เกิดเป็นอิคิไกนั่นเอง

อิคิไกอยู่ในตัวของเรา

i6

ภาพจาก goo.gl/images/4pMmyb

ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า เราทุกคนล้วนมีอิคิไกเป็นของตัวเอง มีความพิเศษที่ไม่เหมือนใคร มีเหตุผลในการเกิดมา และเราจะหามันเจอจากการได้ทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง

จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่างๆ ในการหาอิคิไกให้เจอ ล้วนต้องคำนึงถึงตัวเราเองทั้งสิ้น แถมมันยังเป็นสิ่งสามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ เพราะทุกอย่างจะเริ่มต้นและจบที่ตัวเรา

มาถึงคำถามที่ว่า ทำไมคนยุคนี้ถึงกำลังตามหาและต้องการ ‘อิคิไก’ กันอย่างเห็นได้ชัด เพราะหลายคนกำลังไม่มีความสุขกับงาน หาสมดุลให้ชีวิตไม่ได้ เบื่อหน่าย ท้อ ล้า ตื่นมาแบบไม่มีความหมาย

มองหน้าตัวเองในกระจกก็รู้สึกว่าไม่ชอบ ตอบตัวเองไม่ได้ว่า นี่คือชีวิตที่เราอยากมีหรือเปล่า การหาอิคิไกให้เจอ จะทำให้คุณมีความสุขกับเรื่องเล็กๆได้ เติมเต็มความรู้สึกที่ว่างเปล่า ทั้งยังสร้างสมดุลและคุณค่าให้กับชีวิต

Japan Success ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยใจรัก

j3

ภาพจาก bit.ly/2NmEjLo

ในประเทศญี่ปุ่น มีการเล่าเรื่องราวในการทำธุรกิจหลากหลายประเภท ที่ดูแล้วไม่น่าจะทำได้ แต่ก็กลับกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของ 16 บริษัท 16 ธุรกิจของญี่ปุ่น ที่ผลิตสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน

ได้แก่ กระดาษทำมือ, ไอศกรีม, เบเกอรี่, โรงแรม, ราเมง, ใบไม้ตกแต่งอาหารญี่ปุ่น, ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว, เชื้อเพลิงรถยนต์จากการรีไซเคิล, พลังงานทดแทน, รถยนต์ไฟฟ้า, ซูชิ, เหล้าสาเก, โมเดลอาหาร, ถุงมือ, ร้านอาหาร และโปรแกรมแชตออนไลน์

สิ่งหนึ่งที่บริษัทเหล่านี้มีเหมือนกัน ก็คือ การทุ่มเทแรงกายและแรงใจ ในการทำธุรกิจที่ตัวเองรักและถนัด จนประสบความสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้นทุกบริษัทที่มีการอ้างถึง ยังมีแรงมุ่งมั่นปรารถนาในการทำธุรกิจที่มากกว่าชื่อเสียงเงินทอง

แต่ต้องการที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น สังคม และโลกใบนี้ ซึ่งความสำเร็จและความยั่งยืนทางธุรกิจของทั้ง 16 บริษัท ล้วนมาจากแนวทางการทำธุรกิจตามหลัก “อิคิไก” นั่นคือ ทำสิ่งที่รัก ทำสิ่งที่ถนัด ทำสิ่งที่สร้างรายได้ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกใบนี้

แฟรนไชส์ คือ เป้าหมายความสุขของชีวิตในแบบอิคิไก

j5

สำหรับ “ธุรกิจแฟรนไชส์” ตามความหมายแล้วก็คือ ธุรกิจที่จะต้องประกอบด้วยบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธิหรือผู้ให้สิทธิ (Franchisor) และผู้ซื้อสิทธิ (Franchisee)

โดยทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันว่า ผู้ซื้อสิทธิจะดำเนินการขายสินค้า หรือบริการ ภายใต้สัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้า เทคโนโลยี และระบบการดำเนินงานทั้งหมดของผู้ให้สิทธิ ในพื้นที่ที่ได้ทำการตกลงกันในสัญญา

โดยผู้ให้สิทธิเป็นผู้กำหนดมาตรการในการดำเนินงานภายใต้ระเบียบ เงื่อนไข ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยผ่านการถ่ายทอด การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือ และการควบคุม ผู้ซื้อสิทธินั้นจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับเจ้าของสิทธิ

เพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์ในการใช้สิทธิเป็นการตอบแทน นั่นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จ อยากขายสินค้าที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด จึงเลือกแฟรนไชส์มาเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเพิ่มกำไร จากเงินทุนของตัวเองที่มีอยู่ เพียงแค่คุณยอมจ่ายในค่าลิขสิทธิ์ คุณก็ได้เป็นเจ้าของกิจการที่มีชื่อแล้ว

j4

ในมุมมองของแฟรนไชส์ซอร์ ถ้ายึดรูปแบบการทำธุรกิจแบบ “อิคิไก” ก็คือ ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด ทำสิ่งที่สร้างรายได้ ด้วยการขายสิทธิให้คนอื่น เพื่อให้คนอื่นหรือสังคมมีอาชีพที่มั่นคง

สามารถนำรายได้ไปเลี้ยงดูครอบครัวได้ โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับแฟรนไชส์ซอร์กลับคืน เพื่อให้แฟรนไชส์ซอร์นำไปสร้างระบบแฟรนไชส์ช่วยเหลือสังคม

โดยแฟรนไชส์ซอร์ก็จะมีเหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่ ก็คือ รู้สึกว่าธุรกิจของตัวเองที่สร้างขึ้นมากับมือ สามารถสร้างอาชีพให้กับคนอื่นๆ ในสังคมได้ แฟรนไชส์ซีที่ซื้อธุรกิจไปก็มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวต่ออย่างมีความสุข

ขณะที่แฟรนไชส์ซี ก็อยากประสบความสำเร็จในธุรกิจ จึงต้องซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ เพราะสินค้าและบริการเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่แล้ว แต่ถ้ามองในมุมของ “อิคิไก” แฟรนไชส์ซีจะรู้สึกดีที่ลูกค้าได้ทานของอร่อยๆ ในพื้นที่จังหวัดของตัวเอง อยู่ใกล้บ้านของพวกเขานิดเดียว และมีความภูมิใจที่มีรายได้จากการใช้บริการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

j6

จากข้างต้นเชื่อกันว่า เราทุกคนเกิดมาเพื่อที่จะทำเป้าหมายบางอย่างให้บรรลุผลโดยสมบูรณ์ ตามหลักการนี้ เรามีความสามารถบางอย่างที่ไม่เหมือนใคร และทำสิ่งนั้นได้ดีกว่าใครทั้งหมดในโลก

เมื่อนำสิ่งนั้นมาสนองตอบต่อความต้องการ เฉพาะที่โลกเราต้องการ เมื่อนั้นนอกจากความมั่งคั่งร่ำรวยที่เราจะได้รับ ยังมีความสุขใจ ที่ไม่อาจหาสิ่งอื่นใดมาเทียบได้ ดังนั้น จงมีความสุขในการใช้ชีวิตตามแบบ… อิคิไก กันเถอะครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เริ่มต้นธุรกิจ goo.gl/gkWoV8


Franchise Tips

อิคิไก (Ikigai) คือ “เหตุผลแห่งการมีชีวิตอยู่” มี 4 องค์ประกอบ

  1. ทำในสิ่งที่รัก
  2. ทำในสิ่งที่ถนัด
  3. ทำในสิ่งที่สร้างรายได้
  4. ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกใบนี้ 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช