“อายิโนะโมะโต๊ะ” แบรนด์ใหญ่ระดับโลก รายได้มากกว่าหมื่นล้านบาท

“ผงชูรส” กลายเป็นหนึ่งในสินค้าที่อยู่คู่ครัวไทย และยังเป็นสินค้าที่อยู่ในร้านอาหาร การเติบโตของ “ตลาดผงชูรส” ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเมืองไทยมียักษ์ใหญ่อยู่หลายแบรนด์ โดยหนึ่งในนั้น www.ThaiSMEsCenter.com

เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึง “ อายิโนะโมะโต๊ะ ” แบรนด์ใหญ่ระดับโลก ที่เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2503 หรือนับถึงตอนนี้ก็กว่า 62 ปี กลายเป็นสินค้าที่เราเห็นจนชินตาแต่เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่า “อาณาจักรอายิโนะโมะโต๊ะ” สร้างรายได้ต่อปีสูงเกินกว่าพันล้านบาท

จุดเริ่มต้นของ “อายิโนะโมะโต๊ะ” เกิดจากสาหร่ายทะเลคอมบุ

แบรนด์ใหญ่ระดับโลก

ภาพจาก https://bit.ly/3UnlZ4i

ย้อนหลังไปประมาณ 114 ปี (ประมาณปี 1908) ศ.ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวบังเอิญได้สัมผัสกับรสชาติของ น้ำซุปที่ได้จากการต้มสาหร่ายทะเลคอมบุที่ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นรสหวาน, เปรี้ยว, เค็ม และขมได้

และพบว่า รสชาติที่ได้จากน้ำซุปนั้น มาจาก “กลูทาเมต” ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนที่พบได้ทั่วไปในวัตถุดิบธรรมชาติต่าง ๆและเรียกรสชาตินี้เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “อูมามิ” ที่แปลว่าแก่นแท้ของความอร่อย

ต่อมามีนักธุรกิจที่ชื่อ ซาบุโรสุเกะ ซูซูกิ นำรสอูมามิ มาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมเครื่องปรุงรสแบบใหม่และก่อตั้งบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตเครื่องปรุงรสอูมามิ ขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก ที่ประเทศญี่ปุ่นมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ บรรดาแม่บ้าน แม่ครัวและเป็นจุดเริ่มต้นของ “อายิโนะโมะโต๊ะ” ตั้งแต่นั้นมา

ทำไม “อายิโนะโมะโต๊ะ” ถึงฮิตติดตลาด?

แบรนด์ใหญ่ระดับโลก

ภาพจาก www.ajinomoto.co.th

บริษัทแม่ของกลุ่มอายิโนะโมะโต๊ะ หรือ Ajinomoto Co., Inc. จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ในประเทศไทยดูแลโดยบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เข้ามาทำการตลาดเมืองไทยตั้งแต่ปี 2503 และถือเป็นฐานการผลิตผงชูรสแห่งแรกนอกประเทศญี่ปุ่นของอายิโนะโมะโต๊ะด้วย สิ่งที่ทำให้อายิโนะโมะโต๊ะ ฮิตติดใจคนไทยเพราะกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจได้แก่

1.การทำตลาดแบบครบเครื่องทั้งการสื่อสารการตลาด การจัดอีเวนท์ในลักษณะของโรดโชว์ไป รวมถึงการจัดทำกิจกรรมร่วมกับผู้บริโภคเพื่อคืนกำไรสู่สังคม

2.เน้นโฆษณาที่สื่อถึงการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติแล้ว และได้ใช้คอนเซ็ปต์การสื่อสารแบบเดียวกันนี้ทั่วโลก และพยายามสื่อให้เห็นถึงตัวโลโก้ของแบรนด์อายิโนะโมะโต๊ะ ที่ขึ้นต้นด้วย “A” ว่ามีความหมายถึง “อินฟินิตี้” ที่เป็นความสุขไม่รู้จบของคนทั่วโลก

3.สร้างคำฮิตติดปากอย่าง “อูมามิ” ที่ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมในรสชาติให้กับอาหารไทยหลากหลายเมนู จนคำว่า “อูมามิ” ติดปาก และทำให้คนไทยจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

4.เจาะกลุ่มร้านอาหารเพื่อบอกให้รู้ถึงการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้รสชาติอาหารอร่อยที่ได้รับการยอมรับและทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจากช่องทางนี้มาก

5.พัฒนาสินค้าต่อเนื่องทันยุคสมัย ในแง่โปรดักส์มีการพัฒนาต่อเนื่องเช่น “อายิโนะโมะโต๊ะ พลัส” ซึ่งเป็นผงชูรสเข้มข้นที่ใช้เพียงครึ่งหนึ่งของผงชูรสปกติ ก็เพิ่มรสชาติอาหารได้ดียิ่งเหมาะกับร้านอาหาร และโรงงานที่ใช้การปรุงอาหารครั้งละจำนวนมาก

อาณาจักร “อายิโนะโมะโต๊ะ” มูลค่ารวมกว่า 4 แสนล้านบาท

แบรนด์ใหญ่ระดับโลก

ภาพจาก https://bit.ly/3dwWJrT

บริษัทแม่ของกลุ่มอายิโนะโมะโต๊ะ หรือ Ajinomoto Co., Inc. จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว และตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซา มาเลเซียซึ่งมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 441,200 ล้านบาทและปัจจุบัน มีบริษัทในเครือกว่า 135 แห่ง ตั้งอยู่ใน 36 ประเทศ รวมมีสินค้าภายใต้อาณาจักรอายิโนะโมะโต๊ะ วางจำหน่ายมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

ในส่วนของประเทศไทย บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด แตกไลน์บริษัทออกไปกว่า 17 แห่ง เช่น บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเครือ และผลิตกาแฟกระป๋อง “เบอร์ดี้” หรือ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ โฟรเซ่นฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งประเภทไก่ หรือบริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกร สเปเชียลตี้ ฟู้ดส์ จำกัด ที่ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งประเภทหมู เป็นต้น รายได้ของอะยิโนะโมะโต๊ะในประเทศไทยยกตัวอย่างปี 2563 มีรายได้ 35,432 ล้านบาท กำไร 3,383 ล้านบาท

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “ผงชูรส”

แบรนด์ใหญ่ระดับโลก

ภาพจาก www.ajinomoto.co.th

ความเชื่อของคนส่วนใหญ่มองว่าผงชูรสรับประทานแล้วมีอันตรายจะสะสมในร่างกาย ซึ่งที่จริงผลึกแท่งสีขาวที่เห็นคือเกลือของกรดอะมิโน มีกรรมวิธีการตกผลึกที่บริสุทธิ์และนำมาปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัยเพราะเป็นเพียงแค่การนำจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นน้ำตาลจนเกิดเป็นกรดกลูตามิก เช่นเดียวกับกระบวนการการเปลี่ยนน้ำตาลในนมให้กลายเป็นกรดแลคติกในโยเกิร์ต

ซึ่งความจริงแล้วผงชูรสนี้มีความปลอดภัย และได้รับรองจากการประเมินทางด้านอาหารทั้งในและต่างประเทศจากองค์การอาหารและยา (อย.) โดยสามารถลดการใช้เครื่องปรุงรสเค็มในอาหารลงได้ เพราะมีปริมาณโซเดียมเพียงแค่ 1 ใน 3 ของเกลือแกงเท่านั้น และยังทำให้รสชาติมีความลงตัวมากขึ้นในสัดส่วนที่พอดี โดยที่ความอร่อยไม่ถูกลดลงไป ตามชื่อเรียก ‘ผงชูรส’ ที่ช่วยชูรสอาหารในฐานะรสชาติที่ 5 ให้รับรสอูมามิได้นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3BTdlDz , https://bit.ly/3SlJ8m5 , https://bit.ly/3eS0o3E , https://bit.ly/3Bsni9p , https://bit.ly/3SfMo2i , https://bit.ly/3RVJEHq , https://bit.ly/3qTtPp0 , https://bit.ly/3xx1W9V

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Uy0I87

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด