อะไรบ้างในโลก ที่คนเคยใช้แทนเงินสด

วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ตโฟน ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด แล้วอะไรบ้างในโลก ที่คนเคยใช้แทนเงินสด วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

1.ชีส

อะไรบ้างในโลก

ภาพจาก pixabay.com/

ตั้งแต่ปี 1953 เป็นต้นมา ธนาคารท้องถิ่นในอิตาลีที่ชื่อ Credito Emiliano หรือ Credem รับชีสพาร์มีจาโน่-เรจจาโน่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ธนาคารถึงกับสร้างห้องเก็บชีสแบบควบคุมอุณหภูมิโดยเฉพาะด้วย เพราะชีสยิ่งเก็บไว้นานยิ่งอร่อยและยิ่งมีค่ามากขึ้นกว่าเดิม

เหมือนกับเงินสดที่ถ้าเก็บในบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยดีๆ ยิ่งเก็บไว้นานก็จะยิ่งงอกเงยมากขึ้น แถมประชาชนแถบนี้ก็ทำฟาร์มโคนมเป็นหลักกันอยู่แล้วด้วย ถือว่าเป็นโปรโมชั่นที่ดึงดูดให้ชาวไร่หันมากู้เงินจากธนาคารนี้มากขึ้น โดยไม่ต้องเอาทรัพย์สินที่สำคัญต่อการหาเลี้ยงชีพมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

2.ขนมหวาน

28

ภาพจาก bit.ly/3cjiMhO

ในปี 2008 ประเทศอาร์เจนติน่า โดยเฉพาะที่กรุงบัวโนสไอเรสขาดแคลนเหรียญอย่างหนัก ผู้ซื้อเมื่อซื้อของแล้วก็ต้องการเงินทอนเป็นเหรียญให้ได้ ส่วนผู้ขายก็ไม่มีเหรียญจะทอน ทำให้ร้านค้ามากมายหันมาให้ขนมหรือลูกอมที่มักวางขายตรงแคชเชียร์ในมูลค่าที่เท่ากันให้กับลูกค้าแทน เพื่อเลี่ยงการทอนเป็นเงิน แต่สำหรับธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่มีขนมแทนเงินก็ถือว่าเป็นเรื่องวิกฤตมาก

ธนาคารเองถึงกับออกกฎว่าจะไม่ทอนเงินเกิน 20 เปโซต่อคนต่อวัน รถเมล์ส่วนมากก็ต้องยอมให้ผู้โดยสารนั่งฟรีแทบทั้งวันเพราะไม่มีเหรียญมาทอน เนื่องจากธนาคารให้เหรียญมาแค่ 10% ของที่ต้องใช้ปกติ ส่วนใครที่ยังพอมีเหรียญติดกระเป๋าก็ถึงกับต้องเก็บอย่างดีไม่ให้ใครได้ยินเสียงกุ๊งกิ๊งของเหรียญในกระเป๋า ไม่งั้นอาจโดนร้านค้าบังคับจ่ายเป็นเหรียญ และอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งได้

3.โคเคน

27

ภาพจาก bit.ly/3z1jSIV

ณ เมือง Guerima เมืองเล็กๆ ขนาด 1,000 คนที่ตั้งอยู่ในป่าทึบในประเทศโคลอมเบีย ที่นี่เต็มไปด้วยต้นโคคา ต้นไม้ที่ใช้ทำยาเสพติดโคเคน ใช้โคเคนแทนเงินในการซื้อขายต่างๆ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แถมเต็มไปด้วยกองกำลังที่เหลือจากการต่อสู้เมื่อ 40 กว่าปีก่อน ทำให้ไม่มีเงินเข้าถึงพื้นที่นี้นานมากแล้ว การทำธุรกรรมทุกอย่างของชาวบ้านจึงต้องใช้โคเคนแทน โดยโคเคน 1 กรัมจะซื้อน้ำอัดลมได้ 1 แก้ว

4.ยาสูบ

26

ภาพจาก https://ab.co/3gcDHEo

รัฐแมรี่แลนด์, นอร์ธแคโรไลน่า และเวอร์จิเนียอนุญาตให้ใช้ยาสูบในการซื้อขายแทนเงินตราได้ ตั้งแต่ปี 1619 เป็นต้นมา รัฐเวอร์จิเนียถึงกับออกกฎหมายว่า ยาสูบสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จากนั้นในปี 1727 รัฐเวอร์จิเนียก็ออกระบบเงินตราแบบใหม่ที่เรียกว่าธนบัตรยาสูบ นั่นคือใบรับรองคุณภาพยาสูบจากผู้ตรวจของรัฐบาล ที่ผู้คนสามารถนำไปใช้แทนธนบัตรจริงๆ ได้ แต่ในที่สุดก็เลิกใช้ยาสูบแทนเงินกันช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เพราะพกพายาก และมูลค่าไม่นิ่ง

5.คูปองร้านค้า

25

ภาพจาก bit.ly/3iiUqbT

ที่แคนาดามีห้างที่ขายเกี่ยวกับอุปกรณ์รถยนต์ที่มีสาขามากมายอย่างห้าง Canadian Tire อยู่ ห้างนี้ก็คล้ายกับห้างอื่นๆ ที่มักมีคูปองเงินสดให้ลูกค้าใช้แทนเงินสดในการซื้อครั้งต่อไป แต่คูปองของห้างนี้ออกแบบมาให้คล้ายเงินจริง แถมนอกจากใช้ที่ Canadian Tire โดยตรงได้แล้ว ยังใช้กับปั๊มน้ำมันหรือร้านค้าในเครืออีกมากมายได้อีกด้วย

แต่ถ้าแค่นั้นมันก็ไม่ต่างจากคูปองในเมืองไทย ที่แตกต่างก็คือมีร้านค้าอื่นๆ รับเงิน Canadian Tire แทนเงินจริงๆ ด้วย โดยเฉพาะตามร้านเหล้าและบาร์ ลูกค้าสามารถใช้เงิน Canadian Tire แทนเงินจริงได้เลย eBay Canada เองก็รับชำระสินค้าด้วยเงิน Canadian Tire มาตั้งแต่ช่วงปี 90 แถมยังเคยมีการปลอมเงิน Canadian Tire ด้วยซ้ำ

6.ฝาเบียร์

24

ภาพจาก freepik.com

ผู้ผลิตเบียร์ที่ประเทศแคเมอรูนใส่รางวัลไว้ใต้ฝาเบียร์แทบทุกฝา รางวัลต่ำสุดคือได้เบียร์ฟรีอีก 1 ขวดทันที ส่วนรางวัลใหญ่ๆ ก็เช่นได้มือถือรุ่นใหม่หรือรถหรูแพงๆ ทำให้แทบทุกคนที่ดื่มเบียร์สามารถได้รางวัลซักอย่างทันที โดยไม่ต้องชิงโชคหรือสะสม และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ฝากเบียร์แทนเงินสดในการซื้อขายต่างๆ นักดื่มที่เมาแล้วสามารถใช้ฝาเบียร์เป็นค่าแท็กซี่ได้เลย ตำรวจเองก็รับจ่ายค่าปรับด้วยฝาเบียร์ แทบทุกบริการรับฝาเบียร์แทนเงิน

ข้อมูลจาก https://bit.ly/2S7nGaI

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3iuqvxg

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช