อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่นึกไม่ออก แฟรนไชส์ขายขาด แฟรนไชส์รายเดือน

การทำแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แฟรนไชส์ขายขาด (Product Franchise) กับ แฟรนไชส์รายเดือน (Business Format Franchise) แฟรนไชส์ขายขาดเป็นลักษณะของแฟรนไชส์สร้างอาชีพ

เน้นขายวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซีนำไปผลิตขายภายใต้แบรนด์เดียวกัน จ่ายค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียวจบ จะได้รับอุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมเปิดร้านขายได้เลย แฟรนไชส์ซีไม่ต้องจ่ายค่าสิทธิต่อเนื่องรายเดือนอย่าง Royalty Fee และ Marketing Fee ให้กับแฟรนไชส์ซอร์

ส่วนแฟรนไชส์รายเดือน หรือแฟรนไชส์เป็นระบบ จะได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการทำธุรกิจตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็น ระบบการจัดการร้าน ระบบการขาย การทำตลาดส่งเสริมการขาย การฝึกอบรม วิเคราะห์ทำเลเปิดร้าน คู่มือการปฏิบัติงาน ชุดยูนิฟอร์ม รูปแบบการบริการ และอื่นๆ

แต่ถ้าถามว่า คนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกแฟรนไชส์แบบขายขาด หรือแฟรนไชส์รายเดือน จะเลือกแบบไหนดี ลองมาเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียกัน ก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนครับ

แฟรนไชส์ขายขาด

แฟรนไชส์ขายขาด

ข้อดี

  • ลงทุนต่ำ ใช้เงินหลักพันไปจนถึงหลักแสนก็เปิดร้านได้
  • ไม่มีระบบการบริหารจัดการ้าน และขายที่ยุ่งยาก
  • เปิดร้านขายได้เร็ว ใช้เวลาใช้เวลาฝึกอบรมน้อย
  • ใช้พื้นที่น้อย เคลื่อนย้ายสะดวกสบาย โมเดลร้านเป็นซุ้ม เคาน์เตอร์ คีออส
  • ไม่ต้องจ่ายค่า Royalty Fee, Marketing Fee รายได้รับคนเดียวเต็มๆ

ข้อเสีย

  • ต้องซื้อวัตถุดิบบางส่วนที่จำเป็นจากแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน
  • ระบบแฟรนไชส์ไม่ค่อยเป็นมาตรฐาน ส่งผลเสียกับอีกร้านหนึ่งได้
  • มีการแข่งขันกันสูง เพราะใช้เงินลงทุนเปิดร้านต่ำ
  • แม้จะมีการจัดส่งวัตถุดิบจากแฟรนไชส์ซอร์ แต่โดยรวมได้รับการสนับสนุนจากแฟรนไชส์ซอร์น้อยมาก ต้องขายตามมีตามเกิด
  • หลายๆ แบรนด์ส่วนใหญ่คนรู้จักน้อย เปิดร้านแล้วมักจะไปไม่รอด

แฟรนไชส์ขายขาด

ยกตัวอย่าง…แฟรนไชส์ขายขาด


แฟรนไชส์รายเดือน

แฟรนไชส์ขายขาด

ข้อดี

  • มีระบบการช่วยเหลือและสนับสนุนแฟรนไชส์ซีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • แบรนด์มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพิ่มยอดขายให้ตลอดเวลา
  • ได้รับการช่วยเหลือและวิเคราะห์ทำเลเปิดร้านให้ ช่วยให้หาทำเลได้ง่าย
  • แบรนด์ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จ แบรนด์มีชื่อเสียง มียอดขายและรายได้สม่ำเสมอ
  • มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าแฟรนไชส์ขายขาด

ข้อเสีย

  • ใช้เงินลงทุนสูง หลักล้านบาทขึ้นไป
  • ใช้พื้นที่มาก จ่ายค่าเช่าสูง
  • ต้องจ่ายค่า Royalty Fee, Marketing Fee ประมาณ 3-5% ของยอดขายต่อเดือน
  • แบรนด์ส่วนใหญ่เปิดในห้างฯ หากกิดปัญหาเหมือนโควิด-19 จะได้รับผลกระทบ
  • มีค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ เช่น ค่าเช่า ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าพนักงาน ซ่อมบำรุง และอื่นๆ

แฟรนไชส์ขายขาด

ยกตัวอย่าง…แฟรนไชส์รายเดือน

นั่นคือ ข้อดี-ข้อเสีย ของแฟรนไชส์ขายขาด กับ แฟรนไชส์รายเดือน ผู้สนใจลงทุนแฟรนไชส์ต้องศึกษารายละเอียดธุรกิจแฟรนไชส์ ว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ ไม่ว่าจะเรื่องความพร้อมของเงินลงทุน ทีมงาน ทำเล มีเวลาในการดำเนินกิจการมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนชื่อเสียงของแบรนด์ สินค้าและบริการ คุณภาพมาตรฐานของระบบแฟรนไชส์ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช