อยากนำสินค้าวางขายใน CJ ต้องทำอะไรบ้าง
ในบรรดาร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ในปัจจุบันชื่อของ CJ Supermarket เป็นที่รู้จักของคนไทยอย่างดี ถือเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ก่อตั้งมานานกว่า 15 ปี เริ่มต้นกิจการครั้งแรกตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบันมีสาขากว่า 600 แห่งใน 29 จังหวัด และมีแนวโน้มที่จะขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าร้าน CJ Supermarket เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนทำธุรกิจที่ อยากนำสินค้าวางขาย แน่นอนว่าลักษณะของ CJ Supermarket นั้นถือเป็น Modern Trade ในรูปแบบของ Convenience Store ผู้ที่ต้องการเป็นคู่ค้ากับ CJ จึงต้องศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารต่างๆ ให้พร้อม
จุดเด่นของ CJ Supermarket ที่น่าสนใจ! ทำไมถึงขายดี?
ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
ถ้าพูดถึงจำนวนสาขา CJ อาจยังเทียบไม่ได้กับบรรดาร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ต่าง ๆเช่น 7-Eleven ที่มีอยู่ 12,432 สาขา หรือ FamilyMart ที่มีสาขาอยู่ 901 แห่ง แต่จุดเด่นของ CJ Supermarket ที่ทำให้สู้กับคู่แข่งได้คือกลยุทธ์ด้านราคา ซึ่งพยายามทำให้สินค้าภายในร้าน ขายในราคาที่ถูกกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปบวกกับการจัดโปรโมชันลดราคาอยู่บ่อย ๆ รวมถึงภายในร้าน ยังมีการวางขายสินค้าแบรนด์เล็ก ๆ ซึ่งเป็นสินค้าที่หาซื้อไม่ได้ตามร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ
นอกจากนี้ CJ Express จะใช้กลยุทธ์ป่าล้อมเมืองคือเน้นขยายสาขาไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด, รอบนอกกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน ซึ่งทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่ จะเน้นทำเลรองหรือถนนรองเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากคู่แข่งรายใหญ่ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 17,000 ล้านบาท และมีกำไรราว 1,000 ล้านบาท
ต้องการนำสินค้าจำหน่ายใน CJ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
เบื้องต้นต้องมีการทำ “สัญญาฝากขาย” โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมเบื้องต้นเช่น สำเนาหนังสือ ภพ. 20 , สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ส่งสินค้า , สำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบอำนาจในการจัดส่งสินค้า , สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการรับชำระค่าสินค้า ที่มีชื่อบัญชีตรงตามชื่อที่ปรากฏในหนังสือรับรอง และนอกจากสินค้ากับเอกสารที่ต้องเตรียมให้พร้อม ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมให้พร้อมเช่นกัน
โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายสำหรับการวางจำหน่ายใน Modern Trade เหล่านี้จะมี 4 ส่วนใหญ่ๆคือ ค่าเปิด Account ครั้งแรก , ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU , ค่า Growth Profit (จีพี) และสุดท้ายคือค่าขนส่งและกระจายสินค้า (Distribution Center) ทั้งนี้ถ้าดูข้อมูลจากเว็บบอร์ดในพันทิปที่มีกระทู้หนึ่งได้พูดถึงค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าจำหน่ายใน CJ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายแยกย่อยคือ ค่ากระจายสินค้า 7% , ค่า Growth Profit (จีพี) 40% , ค่าบริการจัดการลิสต์สินค้า SKU 40% และค่า Distribution Center (DC) 40%
ทั้งนี้ก็ได้มีผู้ที่เข้ามาตอบคำถามในกะทู้ดังกล่าวโดยให้ความรู้ในการตั้งราคาไว้ดังนี้ สมมุติถ้าเราจะขายสินค้าให้ CJ ต้นทุน 8 บาทรวม Vat 7% เป็น 8.56 ต้องตั้งราคา ขายปลีกที่ 14.25 บาท (ราคาขาย ลบด้วย ราคาซื้อ) หารด้วยราคา ขาย) (14.25- 8.56) หารด้วย 14.25 = 40% ซึ่งการเสนอขายสินค้าเหล่านี้ผู้ประกอบการต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆรวมไว้ในราคาสินค้าเพื่อให้มีกำไรจากการวางจำหน่ายได้
ช่องทางในการติดต่อนำสินค้าวางจำหน่ายใน CJ
ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
สำหรับคนที่สนใจต้องการเป็นคู่ค้ากับ CJ สามารถติดต่อนำเสนอสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ของ CJ ได้ ซึ่งเมื่อเรากดเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ของ CJ จะมีหน้าที่เรียกว่า “เสนอสินค้ากับ ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส” ซึ่งหากเราเป็นคู่ค้าใหม่ ต้องเริ่มจากการใส่อีเมลล์จากนั้นทางบริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัดมาให้ทางอีเมลล์
โดยรายละเอียดรายละเอียดส่วนตัวที่ต้องกรอกก็เช่น ชื่อ-นามสกุล (ผู้ติดต่อ) , เบอร์โทรศัพท์ , ชื่อบริษัท , เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ส่วนรายละเอียดตัวสินค้าที่ต้องการเช่น ชื่อสินค้า (ประเภท+ชื่อ+กลิ่น+สี+รส+ปริมาตร) , บาร์โค้ดสินค้า , จุดเด่นของสินค้า , ช่องทางการจำหน่ายในปัจจุบัน , ราคาขายปลีก , ราคาทุนรวม , อายุสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องแนบไฟต์รูปภาพ ประกอบการพิจารณาด้วย
ภาพจาก facebook.com/CJsupermarket
โดยมีเงื่อนไขในช่วงท้ายของรายละเอียดว่า ในกรณีที่บริษัทได้สั่งซื้อสินค้าที่คู่ค้าเสนอมาแล้ว แต่คู่ค้าไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนดเวลา คู่ค้าจะต้องชำระค่าปรับให้บริษัทเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่ยังไม่ได้มอบ
อย่างไรก็ดีหาก อยากนำสินค้าวางขายใน CJ หากเป็นไปได้ควรสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ ผู้ที่เคยเป็นคู่ค้ากับ CJ มาก่อนเพื่อให้เรารู้ข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจน หรือดีที่สุดคือติดต่อโดยตรงกับทางบริษัทเพื่อรับทราบรายละเอียดเงื่อนไขที่ชัดเจนอีกครั้ง
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/30PYyJw, https://bit.ly/3xdMmyp , https://bit.ly/3nHFiab , https://bit.ly/3CQUPZT , https://bit.ly/3l3sd9D
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pbH7fc
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)