อยากขายสินค้าใน Shopee ต้องทำอะไรบ้าง
การขายของออนไลน์ได้รับความนิยมเพิ่มสูงมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 และดูเหมือนว่ากระแสนี้จะติดลมบนและต่อยอดเพิ่มไปเรื่อยๆ ตัวเลขมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.15 ล้านล้านบาท โตขึ้นกว่า 14% เมื่อเทียบจาก 2-3 ปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2565 จะมีการเติบโตเฉลี่ยถึง 22% ซึ่งแน่นอนว่าแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ก็มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่า Shopee เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มยอดฮิตที่มีลูกค้าจำนวนมาก รวมถึงมีหลายคนที่สนใจและอยากนำสินค้าเข้าร่วมใน Shopee แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแบบไหนดี
ขายสินค้าใน Shopee ดียังไง?
ภาพจาก https://bit.ly/3qkEHvd
ข้อมูลระบุว่า Shopee มีจำนวนการเข้าใช้งานเฉลี่ยต่อเดือน (monthly web visits) สูงถึง 51 ล้านราย และมีรายได้ ขยายตัวสูงถึง 296% ในปี 2020 ตอกย้ำให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ยอดนิยม
ซึ่งข้อดีของ Shopee ในการขายสินค้าคือ มีการจัดส่งฟรีสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 5 กิโลกรัม ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้ซื้อได้ และไม่มีการคิดค่าคอมมิชชั่น ของรายได้จากการขายสินค้า โดยจะเสียเฉพาะค่าธรรมเนียมการรับชำระเงิน และค่าธรรมเนียมการจัดส่งสินค้าเท่านั้น
นอกจากนี้ร้านค้าไม่จำเป็นต้องทำการตลาดเอง เนื่องจาก Shopee จะมีการทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นส่วนลด และคูปองหรือโค้ดส่วนลดอยู่เป็นประจำ ซึ่งส่งผลดีต่อร้านค้าต่างๆ ทำให้มีลูกค้ามากขึ้น
ขายของใน Shopee ได้เงินตอนไหน
ภาพจาก https://shopee.co.th/
โดยปกติหลังจากที่ผู้ขายทำการส่งสินค้าไปยังผู้ชื้อเรียบร้อยแล้วทาง Shopee จะโอนค่าสินค้าให้กับทางผู้ขายสินค้า โดยโอนค่าสินค้าไปยังระบบ Seller Balance ที่ผู้ขายได้สมัครไว้ ส่วนระยะเวลาในการรับค่าสินค้านั้น ขึ้นอยู่กับร้านค้าแต่ละประเภท หากผู้ขายคือร้านค้าใน Shopee Mall จะได้รับค่าสิน ใน 15 วัน หากผู้ขายเป็นร้านค้าแนะนำ จะได้รับค่าสินค้าใน 7 วัน แต่ถ้าหากผู้ขายคือร้านค้าทั่วไปจะได้รับค่าสินค้าใน 3 วัน ทั้งนี้การที่ Shopee จะโอนค่าสินค้าให้กับผู้ขาย อาจขึ้นอยู่กับประเภทของการกดรับสินค้าด้วย
อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้ทำการกดรับสินค้าภายใน 3 วัน หลังจากสินค้าส่งถึงแล้ว Shopee จะเป็นผู้ดำเนินการโอนค่าสินค้าให้เองแบบอัตโนมัติ หรือเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้รับเงินจาก Shopee แน่นอนให้เปิดใช้งานระบบ Seller Balance โดยกรอกข้อมูลให้ระเอียดครบถ้วน จะช่วยทำให้วิธีการได้รับเงินสะดวกและง่ายมากขึ้น
การของสินค้าผ่าน Shopee ยังมีเรื่องสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าควรรู้คือ การไม่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้า ไม่มีพนักงานช่วยแพ็คของ รวมถึงการจัดส่งสินค้าที่ล่าช้าเพราะไม่มีรถขนส่งสินค้าเป็นของตัวเอง ซึ่งเราสามารถใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ หรือ Fulfillment จากผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว ช่วยซัพพอร์ตให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงแค่มีพื้นที่จัดเก็บสินค้าให้เท่านั้น แต่บริการคลังสินค้าออนไลน์ ยังมีพนักงานช่วยแพ็คสินค้าให้อย่างมืออาชีพ และบริการรถส่งของที่รวดเร็ว ทันใจ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไปด้วย
อยากขายของใน Shopee ต้องทำอย่างไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3eiSe0Y
ก่อนอื่นเราต้องตรวจสอบสินค้าของเราก่อนว่าอยู่ในหมวด “รายการสินค้าที่ห้ามขาย” หรือไม่ เช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ , ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่า , วัตถุโบราณ , ยาเสพติด , วัตถุอันตรายต่างๆ ฯลฯ ซึ่งผู้ต้องการขายสินค้าต้องศึกษารายละเอียดในกฏข้อนี้ให้ชัดเจนด้วย หลังจากมั่นใจว่าสินค้ามีคุณสมบัติครบถ้วน เราต้องทำการยืนยันด้วยหมายเลขโทรศัพท์ของเราก่อนที่จะสามารถซื้อขายสินค้าใน Shopee ได้ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
- ไปที่หน้า “ฉัน” จากนั้นกด “เริ่มขาย” ที่มุมบนซ้าย >> กด เพิ่มสินค้า
- ถ่ายรูปสินค้าโดยกดปุ่ม “กล้อง” หรือเลือกรูปภาพจากมือถือโดยการกดปุ่ม “รูปภาพ” หรือเลือกรูปภาพจาก “Instagram” สามารถเพิ่มได้ถึง 9 ภาพต่อสินค้าหนึ่งรายการ
- ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า ตัวอย่างเช่น หมวดหมู่, ราคา, จำนวนสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า
- เปิดการใช้งาน “เตรียมส่งนานกว่าปกติ” หากต้องการตั้งระยะเวลาเตรียมพัสดุระหว่าง 7-20 วันหากปิดการใช้งาน “เตรียมส่งนานกว่าปกติ” ระยะเวลาเตรียมพัสดุจะถูกตั้งที่ 2 วัน
- หลังจากใส่รายละเอียดสินค้าแล้ว กด “ส่ง” สินค้าจะลงขายในแอพ Shopee
- หลังจากลงสินค้าแล้ว อย่าลืมกด “ป้อน” เพื่อเพิ่มบัญชีธนาคารที่ต้องการให้ Shopee โอนเงินค่าสินค้าให้กับเรา เมื่อมีการซื้อขายและผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้ว
ขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง
ภาพจาก https://shopee.co.th/
1.ค่าธรรมเนียมจากการขาย
สำหรับค่าธรรมเนียมการขาย Shopee จะมีการเรียกเก็บจากร้านค้า Shopee Mall Sellers เท่านั้น โดยค่าธรรมเนียมการขาย คือ การขายสินค้าผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น คิดค่าธรรมเนียม 3% หมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หักส่วนลดที่ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่นๆ) และค่าธรรมเนียมการขายที่คิด 5% ของราคาตั้งต้นสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หักส่วนลดที่ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่นๆ)
2.ค่าธรรมเนียม สำหรับการทำธุรกรรมแบบชำระเงินปลายทาง
ในกรณีที่ผู้ชื้อมีการชำระเงินปลายทาง Shopee จะคิดค่าธรรมเนียม 2% จากผู้ขาย ที่ได้รับค่าสินค้าจากการชำระเงินปลายทางของผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ที่หักจากผู้ขายคือค่าธรรมเนียมนั้นรวมค่าขนส่งสินค้า และคิดจากราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
ภาพจาก https://bit.ly/32lozlg
3.ค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร
เมื่อผู้ซื้อทำการชำระค่าสินค้าผ่านบัญชีธนาคาร ไม่ว่าจะชำระผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง หรือโอนผ่านธนาคาร Shopee จะเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ขาย โดยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคารคิดเป็น 2% รวมค่าขนส่งสินค้าและคิดจากราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
4.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet
เมื่อผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าผ่านช่องทาง AirPay Wallet โดยหักเงินจาก Wallet Balance ไม่ว่าจะสั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม Shopee จะหักค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมจากผู้ขายทุกราย โดยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet คิดเป็น 2% ของยอดทั้งหมดที่ผู้ซื้อต้องชำระ ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมที่ถูกหักจะรวมค่าขนส่งสินค้าและราคาการใช้ส่วนลดต่างๆ รวมถึง Shopee Coin
ภาพจาก https://bit.ly/3FuZClS
5.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต
Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระเข้ามาด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin
6.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ
Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขาย เมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ ไม่ว่าจะผ่อนชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 5% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระเข้ามาด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ (2% มาจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ส่วนอีก 3% มาจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ในกรณีที่มีการผ่อนชำระ) เช่นเดียวกันกับทุกกรณี โดยคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin
ภาพจาก https://bit.ly/3pkNr5c
7.ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater
Shopee คิดค่าธรรมเนียม โดยเก็บกับผู้ขายเมื่อผู้ซื้อมีการชำระค่าสินค้าผ่าน SpayLater ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นก็ตาม โดยคิดค่าธรรมเนียม 2% ของยอดขายที่ผู้ซื้อชำระค่าสินค้าผ่าน SpayLater ซึ่งคิดจากราคาหลังจากที่มีการใช้ส่วนลดหรือ Shopee Coin
ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่เรียกเก็บโดยถูกหักออกจากเงินค่าซื้อผลิตภัณฑ์ ของผู้ขาย หลังจากมีการสั่งซื้อเสร็จสิ้นสมบูรณ์ Shopee จะหักค่าธรรมเนียมและภาษีที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ที่ผู้ซื้อได้ชำระไว้ ออกจากเงินค่าซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้ขายทันที
นอกจากนี้ทาง Shopee อาจไม่เก็บค่าธรรมเนียม ในกรณีที่มีการยกเลิกคำสั่งซื้อจากผู้ขายหรือผู้ซื้อ และมีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์หรือคืนเงิน อย่างไรก็ตามต้องเป็นการยกเลิกคำสั่งซื้อภายในระยะเวลาที่ Shopee กำหนด
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3GBHFSt , https://bit.ly/3ILWe8b , https://bit.ly/3ehNfxg , https://bit.ly/3Ehd3En , https://bit.ly/3Ekz59p
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qeWDHE