อพยพจากเมืองจีนมาขายปลา สร้างตำนาน “ทิพรส” น้ำปลาหยดแรกของไทย รายได้กว่า 3 พันล้านบาท

หากเอ่ยชื่อน้ำปลาเกรดพรีเมียมและได้รับความนิยมในเมืองไทย หนึ่งในนั้นที่หลายคนน่าจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ น้ำปลาทิพรส ซึ่งปัจจุบันถือเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ในตลาดน้ำปลาเมืองไทย เรื่องราวและความน่าสนใจของ “น้ำปลาทิพรส” เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

จุดเริ่มต้นทิพรส

ทิพรส

ภาพจาก https://bit.ly/3tHo52k

ย้อนกลับไปเมื่อ 100 กว่าปีก่อน คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักน้ำปลา เวลาจะปรุงอาหารจะนิยมใช้เกลือ แต่ตอนนั้นได้มีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “ไล่เจี๊ยง แซ่ทั้ง” ได้อพยพจากเมืองจีนหิ้วเสื่อผืนหมอนใบข้ามน้ำข้ามทะเล มาตั้งรกรากถิ่นฐานอาศัยในพื้นที่จังหวัดชลบุรี มาทำงานโรงสีข้าว แต่ทำได้ไม่นานก็ลาออก เพราะเป็นงานที่หนักมาก ไม่มีเครื่องจักร ใช้แรงงานคนล้วนๆ หลังจากนั้นได้หันไปขายปลาเค็มและปลาสดบริเวณย่านสะพานท่าน้ำฮกเกี้ยน จังหวัดชลบุรี

พอเขาขายปลาไปได้สักพัก เริ่มสังเกตเห็นว่าในเมืองไทยตอนนั้นยังไม่มีใครทำน้ำปลาออกมาขาย คุณไล่เจี๊ยงเริ่มมองเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ ที่สำคัญเขารู้วิธีการทำน้ำปลามาก่อนในสมัยที่อยู่ประเทศจีน จุดเริ่มต้นของเขาก็คือ เอาปลาสดที่เหลือจากการขายมาทำการหมักกับเกลือในโอ่งดินและโอ่งไม้ ลองผิดลองถูก พัฒนารสชาติเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 2456 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของน้ำปลาหยดแรกของประเทศไทยในชื่อ “โบแดง” ก่อนจะมาเป็น “ทิพรส” ในปัจจุบัน

23

ภาพจาก https://bit.ly/3werxVp

ในช่วงเริ่มต้นนั้น ธุรกิจที่คุณไล่เจี๊ยงวาดฝันเอาไว้ไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบที่หลายคนคิด ผู้บริโภคยังไม่เปิดใจให้การยอมรับ เพราะเป็นของแปลกสำหรับคนไทยในตอนนั้น เขาจึงต้องใช้ระยะเวลาโปรโมทสินค้าเป็นเวลาหลายปี

กลยุทธ์การตลาดของคุณไล่เจี๊ยง ก็คือ การแจกจ่ายให้กับคนพื้นที่ใกล้เคียงได้ทดลองชิม และพัฒนาสูตรน้ำปลาใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้รสชาติถูกปากคนไทยมากที่สุด จนสุดท้ายเขาก็ค้นพบว่า “ปลากระตัก” เหมาะสำหรับทำน้ำปลามากที่สุดรสชาติหอมอร่อย เป็นวัตถุดิบที่หาได้ไม่ยาก และกลายเป็นของดีของชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

22

ภาพจาก https://bit.ly/3I4BFSP

เมื่อกิจการน้ำปลาของคุณไล่เจี๊ยงขายดีและเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมที่คุณไล่เจี๊ยงใช้โอ่งหมักน้ำปลา ได้เปลี่ยนมาเป็นการตั้งโรงงานผลิตน้ำปลาขึ้นในปี พ.ศ. 2462 บนพื้นที่ 15 ไร่ ปัจจุบันบริษัท ไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัด อยู่ภายใต้การบริหารงานของทายาทรุ่นที่ 2 คือ คุณจิตติ พงศ์ไพโรจน์ ซึ่งเริ่มเข้ามาบริหารกิจการต่อจากคุณไล่เจี๊ยงตั้งแต่อายุ 22 ปี

ภายใต้การบริหารของคุณจิตติ เขาก็ได้นำเทคโนโลยีและเครื่องจักรต่างๆ เข้ามาช่วยในการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำปลา มีการตั้งโรงงานผลิตน้ำปลาแห่งที่ 2 บนเนื้อที่ 20 กว่าไร่ ในจังหวัดชลบุรีและโรงงานแห่งที่ 3 บนเนื้อที่ 100 กว่าไร่ ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำปลาที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ภายใต้การดูแลของ บริษัท ไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัด “ตราทิพรส” ได้แก่ น้ำปลาแท้, น้ำส้มสายชู, ผงปรุงรส และซอสหอยนางรมชนิดผงตราทิพรส น้ำปลาตราโบว์แดง, น้ำปลาตราเด็กอ้วน และน้ำปลาตราเบอร์หนึ่ง

“ทิพรส” มีรายได้เท่าไหร่?

21

ภาพจาก https://bit.ly/3vWVHw0

จากการตรวจสอบผลการดำเนินธุรกิจของบริษัท ไพโรจน์ (ทั่งซังฮะ) จำกัด บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีดังนี้ บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 1 ก.ย. 2504, ทุนจดทะเบียน 120 ล้านบาท

  • ปี 61 รายได้ 2,892,906,554.69 บาท กำไร 222,545,493.80 บาท
  • ปี 62 รายได้ 2,977,433,485.76 บาท กำไร 295,305,748.47 บาท
  • ปี 63 รายได้ 3,031,261,378.45 บาท กำไร 495,759,574.35 บาท

นั่นคือเรื่องราวความเป็นมาของ “ทิพรส” น้ำปลาแท้รายแรกของเมืองไทย จากจุดเริ่มต้นมาจากคนจีน…ต่อยอดและพัฒนาคุณภาพที่กลายเป็นตำนานอันทรงคุณค่าในวันนี้

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3hWW4OW , https://bit.ly/34BKYMm

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3q5O2b1

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช