หลังสงกรานต์งานเข้า! น้ำมันแพง ค่าแรงโหด ต้นทุนสูง คู่แข่งเพียบ!

เตรียมตัวเตรียมใจ “ข้าวของแพง” หลังสงกรานต์งานเข้า ประชาชนต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ราคาน้ำมัน หลังเหตุการณ์โจมตีอิสราเอลของอิหร่านด้วยโดรนและขีปนาวุธจำนวนมาก เมื่อคืนวันที่ 13 เม.ย. 2567 เพื่อตอบโต้อิสราเอลที่เคยโจมตีสถานกงสุลของอิหร่านในซีเรีย ส่งผลให้ทั่วโลกกังวลถึงสถานการณ์ด้านพลังงานจะสูงขึ้น

ในประเทศไทยหลังสงกรานต์ให้จับตาดูราคาน้ำมันดีเซล มีสิทธิ์จ่อทะลุ 30 บาทอย่างแน่นอน เหตุกองทุนน้ำมันแบกหนี้เฉียดแสนล้านบาทไปแล้ว หากไม่มีเงินมาอุดหนุนรัฐบาลต้องปล่อยให้ราคาปรับขึ้นอย่างแน่นอน

ที่ผ่านมากองทุนช่วยอุดหนุนราคาดีเซลไปก่อน 4.57 บาทต่อลิตร อีกทั้งยังมีมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล แต่ได้สิ้นสุด 19 เม.ย. 2567 แถมช่วยอีก 1 บาทต่อลิตร จากเดิมเก็บเต็ม 5.99 บาทต่อลิตร

ถ้าหากไม่มีการอุดหนุนจากกองทุนฯ จะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลที่แท้จริงอยู่ที่ 35-36 บาทต่อลิตร ส่วนที่ปรับขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2567 คือ ปั้มเชลล์ราคาอยู่ที่ 30.49 บาทต่อลิตร สูงกว่าปั้มอื่นๆ

หลังสงกรานต์งานเข้า

มาดูกันว่าเมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้น กระทบประชาชนด้านไหนบ้าง?

  1. ต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงขึ้น ทำให้มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น
  2. ประชาชนมีเงินเหลือเก็บน้อยลง ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้น
  3. ประชาชนงดการเดินทางท่องเที่ยว ลดการใช้จ่าย เศรษฐกิจซบเซา
  4. ข้าวของในท้องตลาดแพงขึ้น สินค้าวัตถุดิบปรับราคาเพิ่มขึ้น ต้องจ่ายค่าอาหารในราคาสูงขึ้น

หลังสงกรานต์ผู้ประกอบการธุรกิจบางส่วนอาจได้รับผลกระทบจากปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท นั่นคือ ธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาว (พนักงาน 50 คนขึ้นไป) ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กทม.(เขตปทุมวัน-เขตวัฒนา), กระบี่ (เขตอบต.อ่าวนาง), ชลบุรี (เขตเมืองพัทยา), เชียงใหม่ (เขตเทศบาลเชียงใหม่), ประจวบคีรีขันธ์ (เขตเทศบาลหัวหิน), พังงา (เขตเทศบาลตำบลคึกคัก), ภูเก็ต, ระยอง (เขตตำบลบ้านแพ), สงขลา (เขตเทศบาลนครหาดใหญ่) และ สุราษฎร์ธานี (เขตเทศบาลเกาะสมุย)

หลังสงกรานต์งานเข้า

แม้จะเป็นเรื่องดีพนักงานที่ได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการโรงแรมหลายรายที่ก่อนหน้าเป็นระดับ 3 ดาว ลงทุนพัฒนาจนเป็น 4 ดาว ต้องแบกรับต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ธุรกิจโรงแรมไม่มีใครอยากได้ 4 ดาว ทางกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมอยากห้ามนำมาตรฐานออนไลน์มาใช้ เพราะจะมีผู้เดือดร้อนมากขึ้น เนื่องจากการจัดระดับไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจต่างๆ อาจจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงมากขึ้น

ถ้ามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดดึงดูดลูกค้าอาจมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น อีกทั้งบางธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนการปรับขึ้นค่าแรง ต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น เมื่อแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอาจไปต่อไปไม่ได้ ต้องปลดพนักงาน เราจะเห็นคนตกงานตามมาอีก

หลังสงกรานต์งานเข้า

ดังนั้น ประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจต้องปรับตัว บริหารจัดการเงินในกระเป๋าให้ดี และบริหารจัดการต้นทุนทางธุรกิจให้ต่ำลงให้ได้ เพราะจากการที่เราได้เห็นราคาทองขึ้นรายวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนเศรษฐกิจว่ากำลังแย่ ข้าวของต่างๆ ในท้องตลาดจะแพงขึ้น ดอกเบี้ยแพงขึ้น เงินจะอ่อนค่า ประชาชนและภาคธุรกิจต้องประคับประคองตัวเองให้ดี 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช