หมดโควิด ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ เจ้าไหนดี?

“ซูชิ” แม้ไม่ใช่อาหารประจำชาติแต่ก็ได้รับความนิยมมาก เป็นสินค้ายอดฮิตที่หลายคนอยากเลือกลงทุน จุดเด่นของซูชิ คือรับประทานง่าย ราคาไม่แพง มีให้เลือกหลายเมนู แน่นอนว่าการทำซูชิต้องคนที่มีประสบการณ์ และผ่านการฝึกฝนมาก่อน

ดังนั้นการลงทุนเปิดร้าน www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าการเลือกลงทุนในระบบแฟรนไชส์ช่วยให้เราเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น หากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย เราเชื่อว่าการเปิดร้านซูชิจะเป็นอีกธุรกิจสร้างรายได้ที่ดีเพราะสามารถขายได้ทั้งหน้าร้านและขายแบบเดลิเวอรี่ มีแฟรนไชส์ไหนที่น่าสนใจบ้างไปติดตามดูกัน

1. ซูชินินจา

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก แฟรนไชส์ ซูชินินจา

ร้านซูชินินจา เน้นความอร่อยที่เข้าถึงได้ง่าย ราคาเหมาะสม ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ให้บริการแบบ Fast Casual ลูกค้าสามารถเลือกซูชิด้วยตัวเอง หรือหากสั่งเมนูข้าวหรือเมนูอื่นๆ เพิ่มเติมจะมีพนักงานมาเสิร์ฟให้ที่โต๊ะ ราคาซูชิเริ่มต้นเพียงชิ้นละ 10 บาท และยังมีอีกหลายเมนูที่น่าสนใจเช่น ข้าวหมูทอดทงคัตสึ ข้าวหน้าปลาไหลญี่ปุ่น เป็นต้น

ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 390,000 บาท สิ่งที่ผู้ลงทุนจะได้รับคือการวิเคราะห์ทำเลสถานที่ , การออกแบบร้านให้ฟรี , การสอนภาคทฤษฏีและปฏิบัติการเปิดร้าน , ส่งเสริมด้านการตลาด , กาวางระบบบริหารจัดการภายในร้าน , การพัฒนาเมนูใหม่ๆ ให้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ลงทุนมีรายได้จากการลงทุนได้อย่างสูงสุด

 ซูชินินจา

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/38BDabC
โทร.090-9944718


2. ซูชิหมีพ่นไฟ

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก แฟรนไชส์ ซูชิหมีพ่นไฟ

แฟรนไชส์ซูชิหมีพ่นไฟ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์ฟิวชั่นที่น่าลงทุน ทำง่าย ขายดี คืนทุนไว ดูแลผู้ร่วมลงทุนเหมือนครอบครัว โดยแฟรนไชส์มีทั้งแบบคีออสขายซื้อกลับไปทาน และเป็นลักษณะร้านนั่งทาน การลงทุนมีหลายแพคเกจให้เลือก

งบการลงทุน 45,000 – 350,000 บาท โดยสิ่งที่จะได้รับคือการอบรมพนักงานก่อนเปิดร้าน ,สอนเทคนิคการขาย , สอนสูตรเมนูสำหรับเปิดร้าน , การสส่งเสริมด้านการตลาด ปัจจุบันเป็นแฟรนไชส์ที่มีการเติบโตรวดเร็วมีสาขากว่า 23 แห่ง ถือเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่เหมาะจะสร้างอาชีพให้กับคนไทยได้เป็นอย่างดี

 ซูชิหมีพ่นไฟ

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3DETczM
โทร: 096-9146991 , 065-2269661


3. ซูชิไข่หวาน บ้านซูชิ

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก facebook.com/KaiwanBansushi/

น่าจะเป็นอีกหนึ่งแฟรนไชส์ซูชิที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี จุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้มาจากการตั้งร้านในศูนย์อาหารของเมืองทองธานีก่อนที่จะได้รับความนิยมและพัฒนามาสู่การทำธุรกิจขายในระบบแฟรนไชส์ จุดเด่นคือเมนูหลากหลาย ซูชิชิ้นใหญ่เต็มคำ เปิดรับผู้สนใจลงทุนในแบบแฟรนไชส์โดยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางเจ้าของแบรนด์ได้โดยตรง

4. ซูชิล้นปาก

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก https://bit.ly/38zjq8F

แฟรนไชส์ซูชิล้นปาก ที่จุดเด่นก็ตามชื่อ เน้นคุ้มค่าในราคาไม่แพง เริ่มต้นชิ้นละ 5 บาทอร่อยเต็มคำ มีสูตรซูชิมากมายหลายหน้า โดยทางแบรนด์ก็มีการขายวัตถุดิบซูชิ มีคอร์สสอนทำซูชิแบบตัวต่อตัว และบริการสอนผ่านระบบออนไลน์เพื่อความสะดวกของแฟรนไชส์ซูชิด้วย มีการโปรโมทร้านให้ในสื่อต่าง ๆ และบริการหลังการขาย ใช้งบในการลงทุน 5,500-9,990 บาท

5. Mokunsushi

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก facebook.com/MokunSushii/

เป็นแฟรนไชส์ที่พร้อมสอนการทำซูชิ และมีการจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับทำซูชิ รวมถึงมีอุปกรณ์สำหรับการเปิดร้านให้อย่างครบวงจรเรียกว่าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์เพื่อคนอยากมีร้านซูชิให้เริ่มต้นได้ง่ายขึ้น รูปแบบการลงทุนมี 2 แบบคือ ชุดรวยเร็ว ค่าอบรม 2,000 บาท ค่าแฟรนไชส์ 1,500 บาท และชุดรวยเร็ว 2 ค่าอบรม 2,000 บาทค่าแฟรนไชส์ 9,000 บาท หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับเจ้าของแบรนด์ได้โดยตรง

6. ดร.ซูชิ

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก https://bit.ly/2WNpho3

เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่มีชื่อเสียงมานานสำหรับ Dr.Sushi มี่มีรูปแบบการขายซูชิที่ไม่เหมือนใคร ด้วยรถคีออสสามล้อเคลื่อนที่ พร้อมป้ายทะเบียน และสามารถขายซูชิได้ทุกที่ที่ต้องการ Dr.Sushi ยังได้รับรางวัลซูชิ 5 ดาว จากซามูไรชวนชิม และการีนตีการคืนทุนภายใน 3 เดือน งบในการลงทุน 200,000 บาท สิ่งที่ได้รับ รถคีออส อุปกรณ์ทำซูชิ วัตถุดิบทำซูชิ พร้อมอบรมการบริหาร การตลาด และสอนทำซูชิ, ช่วยดูทำเล และทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย

7. Nigiwai Sushi

ซื้อแฟรนไชส์ซูชิ

ภาพจาก facebook.com/NigiwaiSPB/

อีกหนึ่งธุรกิจซูชิในรูปแบบร้านน่ารักๆ ที่จัดสรรบรรยากาศชวนให้น่ารับประทาน มีการคัดสรรวัตถุดิบในการทำเมนูเป็นอย่างดีและมีระบบการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ พร้อมสนับสนุนผู้ลงทุนให้สามารถเปิดร้านได้ทันที โดยงบประมาณในการลงทุนขึ้นอยู่กับขนาดร้านและการตกแต่งผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดในการลงทุนเพิ่มเติมกับทางเจ้าของ
แบรนด์ได้โดยตรง

8. Sushi Like

23

ภาพจาก facebook.com/SushiLikeThailand/

ร้านซูชิแบบพอดีคำ ที่เน้นการปั้นทำสด รสชาติอร่อย คัดสรรวัตถุดิบมีคุณภาพ ลูกค้าสามารถหยิบได้ เลือกได้ ตามต้องการหรือสามารถสั่งเมนูซูชิแบบพิเศษตามต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีเมนูอาหารแบบจัดเซทใส่กล่องสำหรับลูกค้าที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุน 179,000 บาท สิ่งที่จะได้รับคือการวิเคราะห์ทำเลก่อนเปิดร้าน , การสอนทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ , การวางระบบบริหารจัดการในร้าน , การส่งเสริมด้านการตลาดให้อย่างต่อเนื่อง ให้ผู้ลงทุนมีกำไรได้มากขึ้น

9. Sushi”Kane”

22

ภาพจาก facebook.com/kanesushibangsaen/

อีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ซูชิที่ใช้งบลงทุนเบาๆ แต่สามารถสร้างธุรกิจที่ดีได้ตามต้องการกับ Sushi”Kane ที่มี 2 แพคเกจลงทุนได้แก่ ชุดรวยเร็ว ราคา 3,999 บาท และชุดรวยครบชุด 9,999 บาท โดยจะได้รับอุปกรณ์และวัตถุดิบตามแพคเกจที่เลือกโดยอุปกรณ์ที่ได้รับเช่นป้ายคาเนะ , กล่องพลาสติก , กล่องใส่ที่คีบ , ซูชิพร้อมขาย 200 ชิ้น เป็นต้น

10. ซูชิมั้ย

21

ภาพจาก facebook.com/sushimai1.2/

เมนูน่าสนใจของแฟรนไชส์ซูชิมั้ย เช่น ข้าวหน้าปลาดิบรวม ข้าวหน้าปลาไหลญี่ปุ่น เกี๊ยวซ่าทอด ฯลฯ เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่คนรักซูชิรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งมีรูปแบบการขยายธุรกิจในแบบแฟรนไชส์ โดยเน้นที่รูปแบบของการเปิดร้านให้สามารถนั่งรับประทานได้ พร้อมบรรยากาศในการรับประทานที่ช่วยทำให้ซูชิอร่อยมากขึ้น ผู้สนใจต้องการลงทุนสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดโดยตรงกับเจ้าของแบรนด์ได้

การจะเปิดร้านซูชิให้ขายดีนอกจาการลงทุนกับแฟรนไชส์สิ่งสำคัญคือ รูปแบบการขาย ความน่าสนใจของการจัดและตกแต่งร้าน รวมถึงการพัฒนาช่องทางตลาดในรูปแบบต่างๆ ล้วนแต่มีผลให้การขายมีโอกาสได้กำไรมากขึ้น ก็อยู่ที่ตัวของผู้ลงทุนเองว่าจะบริหารจัดการเรื่องเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพได้มากแค่ไหน

21

รวมแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น, เกาหลี คลิก https://bit.ly/3AvwWXa

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mYh4sk

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด