หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา ถึงเวลาแฟรนไชส์จีน

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา ถึงเวลาแฟรนไชส์จีน ระบบแฟรนไชส์ของโลกมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ว่ากันว่าระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงจากบริษัทขายจักร คือ ซิงเกอร์ โดยบริษัทแห่งนี้เป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก่ร้านค้าเครือข่ายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1850 (พ.ศ.2393)

ส่วนต้นแบบระบบแฟรนไชส์ทั่วโลกมาจาก “เรย์ คร็อกซ์” สร้างระบบแฟรนไชส์ “แมคโดนัลด์” เมื่อปี ค.ศ.1955 เปิดสาขาแรกใน เดส เพลนเนส และขยายสาขาถึง 500 สาขาภายใน 8 ปี จนปัจจุบันมีจำนวน 42,406 สาขาทั่วโลก

แต่รู้หรือไม่ว่า แมคโดนัลด์ไม่ได้เป็นแบรนด์แฟรนไชส์แรกจากสหรัฐอเมริกา ที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาเปิดตลาดและขยายกิจการในประเทศไทย จากข้อมูลพบว่าแฟรนไชส์แบรนด์แรกที่เข้ามาเปิดตลาดในเมืองไทย คือ

แฟรนไชส์อเมริกายุคแรก! ในไทย

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา

  • มิสเตอร์ โดนัท : เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2521 โดยคุณสุทธิชัย และคุณสุทธิเกียรติ สองพี่น้องตระกูลจิราธิวัฒน์ ผู้บุกเบิกตลาดโดนัทเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย เปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์
  • เอแอนด์ดับบลิว” (A&W) : เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อปี 2526 สาขาแรกเซ็นทรัลลาดพร้าว ปิดกิจการ 2565 (ขาดทุน)
  • KFC : เข้ามาเปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี 2528 หรือ 35 ปีที่แล้ว ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ปัจจุบัน KFC อยู่ภายใต้การบริหารงานของ CRG บริษัทในเครือเซ็นทรัล ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แฟรนไชส์ซี KFC ในไทย
  • แมคโดนัลด์ : เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อ 2528 เช่นเดียวกัน ถือเป็นประเทศที่ 35 ของโลก เปิดสาขาแรกที่ศูนย์การค้าโซโก้ หรืออัมรินทร์ พลาซ่า ปัจจุบันแมคโดนัลด์มีจำนวนสาขาทั้งหมด 230 สาขาทั่วประเทศ
  • 7-Eleven : เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2532 ที่ซอยพัฒพงษ์ เป็นการนำเข้าโดยเครือซีพี ว่ากันว่าในตอนแรกทางบริษัทแม่ในอเมริกาจะไม่ขายแฟรนไชส์ให้คุณธนินท์ด้วยซ้ำ เพราะมองว่ากำลังซื้อคนไทยยังต่ำกว่าอเมริกาอยู่มาก ต่อมาปี 2534 ซีพีขายแฟรนไชส์ให้ประชาชนทั่วไป
    • ปัจจุบันสาขา 7-Eleven สิ้นไตรมาส 2 ปี 2567 มีจำนวน 14,854 สาขา แบ่งเป็นสาขาบริษัท 51% อีก 49% เป็นสาขาของ Store Business Partner กับ Sub-Area รับสิทธิ์ช่วงอาณาเขตสัดส่วนรายได้ 7-Eleven แบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภค 24% ที่เหลือ 76% เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ละสาขาของ 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท ยอดซื้อต่อบิล 85 บาท มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 1,007 คน
  • Popeyes : เข้าไทยปี 2538 ปิดกิจการ 2540 (ขาดทุนจากวิกฤตต้มยำกุ้ง)
  • แดรี่ ควีน : เข้าไทยปี 2539 ปัจจุบันมีมากกว่า 515 สาขา ในเครือไมเนอร์
  • บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์ (Baskin Robbins) : แฟรนไชส์ไอศกรีมเข้าไทย 2539 ปิดกิจการ 2566 (ขาดทุน)
  • เบอร์เกอร์คิง : อีกแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งในปี 1954 (2497) เข้ามาเปิดตลาดในไทยเมื่อปี 2543 โดยกลุ่มไมเนอร์ฯ ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 125 แห่งทั่วประเทศ
  • คาร์ลซ จูเนียร์ (Carl’s Jr.) : เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2555 สาขาแรกที่เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยาบีช ปิดกิจการ 2565 (ขาดทุน)
  • Texas Chicken : แฟรนไชส์ไก่ทอดชื่อดังในอเมริกา เข้ามาเปิดตลาดในไทยปี 2558 โดยกลุ่มปตท. สาขาแรกที่เซ็นทรัล เวสต์เกต ต่อมามีการขยายสาขามากถึง 97 สาขา ก่อนปิดกิจการถาวรในไทยเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2567 จากปัญหาขาดทุน

จบกัน! แฟรนไชส์ยุคเก่า เข้าสู่แฟรนไชส์ยุคใหม่

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา ที่เข้ามาเปิดตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปัจจุบันเหลืออยู่ไม่กี่แบรนด์ เช่น 7-Eleven (ปัจจุบันเป็นของญี่ปุ่น) KFC, แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์ คิง, ทาโก้ เบลล์, คริสปี้ครีม, ซับเวย์, มิสเตอร์ โดนัท, แดรี่ ควีน ฯลฯ

แบรนด์แฟรนไชส์อเมริกาเหล่านี้ กำลังจะกลายเป็นแฟรนไชส์ยุคเก่าหรือแฟรนไชส์รุ่นเก่า เพราะมีแบรนด์แฟรนไชส์ยุคใหม่กำลังเข้ามาแทน หลังจากที่แบรนด์แฟรนไชส์ประเทศจีนทยอยเข้ามาเปิดตลาดและขยายแฟรนไชส์ในประเทศไทย

เริ่มตั้งแต่…แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา

  • Mixue (มี่เสวี่ย) : แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ เปิดตัวในไทยช่วง ก.ย. 2565 ปัจจุบันมีมากกว่า 200 สาขา
  • Wedrink : แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ เปิดตัวในไทย ม.ค. 2567 ปัจจุบันมีสาขากว่า 150 สาขา
  • Bing Chun (ปิงฉุน) : แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ เพิ่งเปิดตัวเมื่อ ส.ค. 2567 สาขาแรกแฟชั่นไอส์แลนด์ มี 4 สาขา
  • CHA i ENJOY : แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ เปิดตัวเมื่อ เม.ย. 2567 สาขาแรกสยามพารากอน ชั้น G
  • JIAN CHA Tea 见茶山 เจี้ยนชา : แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ เปิดตัวเมื่อ ธ.ค. 2566 มีจำนวน 11 สาขา
  • Naixue : ร้านชานมและชาผลไม้ เปิดตัวเมื่อ ธ.ค. 2566 สาขาแรกศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์ ชั้น 1 มีจำนวน 2 สาขา
  • Chagee :ร้านชานมและชาผลไม้ เปิดตัว ธ.ค. 2565 สาขาแรกเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 6 มี 2 สาขา

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา

นอกจากจะมีแฟรนไชส์ไอศกรีมและเครื่องดื่มจากจีน ยังมีร้านอาหารจีนมาขยายสาขาในไทยอีกด้วย เช่น

  • ไหตี่เลา (Haidilao) : เชนร้านหม้อไฟจีน กำลังเติบโตในภูมิภาคอาเซียน เปิดตัวเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปลายปี 2562 บนชั้น 7 ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ปัจจุบันมี 9 สาขา ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 370 บาท ลูกค้าสามารถเพลิดเพลินกับบริการฟรี ที่เป็นเอกลักษณ์ของทางร้านระหว่างรอคิวได้ ตั้งแต่ ของว่าง ไอศกรีม ไปจนถึงบริการทำเล็บ
  • ไก่ทอดเจิ้งซิน : ร้านไก่ทอด สเต็ก บาร์บีคิว ไอศกรีม ราคาเริ่มต้น 15 บาท มี 2 สาขา เป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดที่สร้างกระแสกังวลหนักให้กับผู้ประกอบการไทย ที่หลายๆ คนหวั่นว่าจะกระทบธุรกิจหรือร้านค้าท้องถิ่น

ทำไม? แฟรนไชส์จีนบุกไทย ไม่เหมือนแฟรนไชส์อเมริกา

หมดยุค! แฟรนไชส์อเมริกา

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไม แฟรนไชส์อเมริกา ขยายสาขาในไทย ไม่ค่อยมีดราม่าหรือสร้างกระแสกังวลให้กับผู้ประกอบการในไทย เหมือนกับกรณีแฟรนไชส์จากจีนเปิดตลาดในไทย เพราะแฟรนไชส์จีนมีกลยุทธ์ที่ต่างจากแฟรนไชส์อเมริกา ดังนี้

แฟรนไชส์อเมริกา

#กลยุทธ์ราคา

  1. ขายสินค้า ราคาต่ำกว่าท้องตลาด เริ่มต้น 15-50 บาท
  2. ขายแฟรนไชส์ งบลงทุนต่ำกว่าแบรนด์คู่แข่งในตลาด เริ่มต้น 1-1.5 ล้านบาท ส่วนแฟรนไชส์อเมริกาที่ขายแฟรนไชส์ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 3 ล้านบาทขึ้นไป

แฟรนไชส์อเมริกา

#กลยุทธ์ธุรกิจ

แฟรนไชส์จากจีน โดยเฉพาะร้านไอศกรีมและชาผลไม้ ใช้กลยุทธ์ขยายสาขาด้วย “ระบบแฟรนไชส์” ทำให้ธุรกิจขยายตัวได้เร็วกว่าธุรกิจอื่นๆ เช่น MIXUE เปิดตัวกลางปี 2565 ขยายสาขาไปแล้วมากกว่า 200 สาขา ถือว่าเร็วมาก

#กลยุทธ์การตลาด

  1. การขายสินค้าต่ำกว่าท้องตลาด สามารถดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า ช่วยขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้น ทั้งเด็ก วัยรุ่น ก็สามารถซื้อได้ ด้วยราคา 15-50 บาท
  2. ส่วนงบลงทุนแฟรนไชส์จากจีนเริ่มต้น 1-1.5 ล้านบาท สามารถล่อตาล่อใจนักลงทุนชาวไทยได้เป็นอย่างดี เมื่อสินค้าขายได้ เงินลงทุนเปิดร้านไม่สูงมาก ทำให้นักลงทุนหลายๆ คนให้ความสนใจ
  3. แฟรนไชส์จีนให้ตัวแทนบริษัทแม่ในจีนเข้ามาบริหาร ส่วนแฟรนไชส์อเมริกาจะให้สิทธิ์นักลงทุนชาวไทยบริหาร

หากดูนิสัยการทำงานของคนจีน ส่วนใหญ่เป็นคนจริงจังกับงานมากกว่าคนไทย ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้เร็ว แฟรนไชส์จีนยุคใหม่ของแฟรนไชส์ในไทย สอดรับกับรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่าปี 2567 ธุรกิจร้านอาหารได้รับความสนใจจากต่างชาติมากขึ้น มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเปิดร้านอาหารในไทยรวมมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท

ประเทศที่เข้ามาเปิดร้านอาหารมากที่สุด ได้แก่ จีน เม็ดเงินลงทุน 416 ล้านบาท, ญี่ปุ่น 219 ล้านบาท, อินเดีย 190 ล้านบาท, ฝรั่งเศส 190 ล้านบาท และ เกาหลีใต้ 101 ล้านบาท

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช