ส่อเอาเปรียบ! Flash Home ร้องถูก Flash Express ปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม

จากกรณีกระแสดราม่าเกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อแฟรนไชส์ Flash Home และเจ้าของแฟรนไชส์ Flash Express ในประเด็นผู้ซื้อแฟรนไชส์ FlashHome (แบรนด์รอง) มองว่า Flash Express (แบรนด์หลัก) เอาเปรียบตัดราคา (18/25) เปิดสาขาใกล้กับ FlashHome ทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากัน

นโยบายของ Flash Express ไม่มีความเป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อการเนินการ มีการกีดกันลูกค้า หรือมีการให้เรตราคาในการแข่งขัน 2 มาตรฐาน ทำให้เกิดข้อเสียเปรียบอย่างชัดเจน เรื่องราวปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

หลายคนอาจรู้แล้วว่า FlashHome คือ แบรนด์รอง (แฟรนไชนส์) สาขาย่อยในการรับพัสดุ โดยเป็นจุดรับพัสดุในลักษณะ partner บริการโดย เอกชน แต่ละสาขา มีข้อจำกัดบางประการในการให้บริการแก่ลูกค้าบางกลุ่มของ Flash Express

ส่วน Flash Express คือ แบรนด์หลัก ผู้ทำหน้าที่ในการรับส่งพัสดุ เข้าระบบคัดแยกพัสดุและกระจายส่งพัสดุ ไปยังปลายทางต่างๆ รถขนส่งที่เข้ารับพัสดุที่บ้านจะเป็นของแบรนด์หลัก การติดตามพัสดุ ทำผ่านระบบในแอพเท่านั้น หรือ คอลเซ็นเตอร์ โทร 1436 ไม่สามารถให้สาขาย่อย Flash Home ประสานงานช่วยแทนได้

เสียงสะท้อนโอดครวญ! Flash Home

Flash Home

จากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง FlashHome กับ Flash Express ทีมงานงานไทยแฟรนไชส์ได้เข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเพจเฟชบุ๊ค Flash Home Thailand มีสมาชิกที่เป็นสาขาของ Flash Home ได้เข้ามาสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และมีผู้ใช้เฟชบุ๊คท่านหนึ่ง ได้นัดรวมพลังสาขา Flash Home ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการบริหารงานของ Flash Express ร่วมฟังคำตอบข้อเรียกร้องจาก FX ณ สำนักงานใหญ่ ตึกยูนิลีเวอร์ ถ.พระราม 9 วันพุธที่ 26 มกราคม เวลา 13:00 น. เพื่อให้บริษัทแก้ปัญหาอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ใช่การประท้วง

สำหรับผู้ใช้เฟชบุ๊คท่านอื่นๆ ที่เป็นแฟรนไชส์ซี Flash Home ได้โพสต์ข้อความและปัญหาที่ตนเองได้รับผลกระทบ หลังจาก Flash Express ได้ประกาศชี้แจงเรื่อง FlashHome คืนวันที่ 22 มกราคม เวลา 20:43 น. ในเพจเฟชบุ๊ค FlashHome Thailand ดังต่อไปนี้

Flash Home

ภาพจาก https://bit.ly/3nVykyf

  • กรณี FX มาเปิดติดกับ FH อย่างนี้ ถือว่ามาแย่งลูกค้าไหม ทาง FH มีมาตรการจัดการอย่างไร ทั้งที่ FH เปิดมาก่อน ขอคำตอบด้วยนะครับ
  • สิ่งที่ fh ต้องการคือราคาและโปรโมชั่นที่เหมือนกันกับ fx จ้ะ ผู้บริหารช่วยเข้าใจให้ถูกต้องนะคะ สิ่งที่แถลงมายังไม่ตรงประเด็นเลยจ้า
  • ไม่น่ายากนะค่ะ ก็แค่ทำทุกอย่างให้เหมือนกัน ภายใต้คำว่า flash ไม่ต้องแยกว่าจะ เอ็กฯ หรือโฮม สโลแกนรับส่งจุดไหนก็สุขสบายประหยัดใกล้บ้านไปเลย อ่อ…อีกอย่างช่วยสำรองร้านเว้นระยะห่างให้กับร้านด้วยนะค่ะ ไม่ใช่บ้านเว้นบ้าน ส่วนการตลาดในการหาลูกค้าโปรดไว้ใจเราค่ะ อย่าคิดว่าบ่นนะค่ะ เรียกว่าแนะนำ
  • Fx ที่โปรลดราคาเอง จนร้านแฟรนไชน์อื่นๆ อยู่ไม่ได้ค่ะ ลูกค้าแห่กันเรียกรถบ้าง ไปส่งที่คลังบ้าง เพราะราคาถูกกว่า
    Fx บางครั้งก็มาแย่งลูกค้านะคะ เปิดสาขาเยอะขึ้น แล้วระดับรากหญ้าจะอยู่ยังไง ดูระยะห่างบ้างค่ะ
    ทั้ง fx และ fh เปิดกันยั้วเยี้ย ดูบ้างนะคะ ว่าแถวนั้นมีกี่ร้านแล้ว เปิดกันห้องเว้นห้องเลย เพราะค่าแฟรนไชน์ถูก คนแห่เปิดกันทั้งประเทศ มีแต่ร้าน ลูกค้าไม่มี เห็นมีกฎแต่ละร้านห่างกัน 2-3 กิโล แต่ที่เห็น ห้องเว้นห้องค่ะ
  • ค่ายอื่นแฟรนไชส์ ก้อได้ลดราคาส่งตาม ค่ายหลัก แฟลชนี้ ไม่เคยลดตามค่ายหลักเลย งง ไม่มีปัญญาแข่งค่ายอื่น เลยข้ออ้างเป็นมิตร ถ้าลดราคาก็ต้องลดให้เหมือนกัน นี้มันแย่งลูกค้ากันเอง
  • เมื่อออกมาชี้แจ้งแล้วทำไมไม่ปฏิบัติด้วยออกนโยบาย เอาเปรียบแฟลชโฮมให้ซื้อเฟรนไชส์แล้วมาตัดราคาทั้งที่ใช้แบรนด์เดียวกันหากินบนโลโก้เดียวกัน ซึ่งไม่มีบริษัทไหนในโลกนี้เขาทำกัน อย่าบอกแต่เพียงว่าเพื่อต่อสู้กับคู่แข่ง นี้มันนโยบายทำลายล้างเผ่าพันธุ์แฟลชโฮมเลย ไม่ให้มีรายได้ไม่ให้หาลูกค้า ถ้าคิดว่าจ่าย 14-20%ไม่ไหวเสียดายเงินที่ต้องจ่ายผลตอบแทนให้ fh ก็คุยมาสิเหลือ 10% แล้วขึ้นราคาเป็น 35 บาทได้ผลตอบแทน 3.50 จาก 3.75 ทำไมไม่คิดคิดได้ไงบริษัทแม่รับ18บาทให้ fh รับ25 ลด 10%
  • จ่ะ..พันธมิตรจ่ะ แย่งลูกค้า ให้ราคา 15-18 บาท FH ราคา 23 บาท อันนี้เรียกพันธมิตร

Flash Express โร่ประกาศชี้แจงเรื่อง Flash Home

Flash Home

ภาพจาก https://bit.ly/3GbWGdr

เมื่อวันที่ 22 มกราคม เวลา 20:43 น. เพจเฟชบุ๊ค Flash Express ได้เผยแพร่ประกาศชี้แจงจาก Flash Express เรื่อง FlashHome มีใจความคราวๆ ดังนี้ สืบเนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีบริษัทคู่แข่งบางรายมีเจตนาไม่หวังดี สนับสนุนและยุยงให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีบริษัท Flash Express และพันธมิตรสาขา Flash Home โดยประสงค์ให้เกิดความเข้าใจผิด

ทางบริษัท Flash Express จึงขอชี้แจงในกรณีต่างๆ ดังนี้

1.ด้วยจุดมุ่งหมายของ Flash Express มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นผู้ให้บริการให้แก่ลูกค้าเป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ (Strategic Advantage) เหนือคู่แข่งรายอื่นทั้งหมด ทาง Flash Express จึงจำเป็นต้องหาทางขยายช่องทางการให้บริการให้มาก และมีการให้บริการให้แก่ลูกค้าในราคาที่สมเหตุสมผล

โดยที่ผ่านมา Flash Express มีการพิจารณาภาพรวม และมีการออกโปรโมชั่นในบางพื้นที่ เพื่อกระตุ้นยอดขายในภาพรวม เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายในระยะยาว ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยในส่วนนี้ Flash Express จะเร่งดำเนินการชี้แจงและดำเนินการตามที่เหมาะสมต่อไป

2.เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 นั้น ทาง Flash Express ได้ออกมาตรการป้องกันมิให้มีการแย่งลูกค้ากันเอง และมีการถือบังคับใช้อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด โดยหาก Flash Home ท่านใดพบหลักฐานการแย่งลูกค้า ท่านสามารถแจ้งมายัง flashhomeif@flashexpress.com โดย Flash Express จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดในทันทีต่อไป

Flash Home ลงทุนต่ำ ล่อใจนักลงทุน

3

ภาพจาก https://bit.ly/3IxEKvh

แฟลชโฮม ธุรกิจบริการรับสินค้า (Drop Off) ภายใต้ Flash Express ผู้ให้บริการขนส่งสัญชาติไทย และ อี-คอมเมิร์ซ แบบครบวงจร เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2019 ก่อนหน้านี้แฟลชโฮมได้วางคอนเซ็ปต์เปลี่ยนบ้าน หรือพื้นที่ว่างให้เป็นจุดบริการรับสินค้า โดยในปี 2019 Flash Express มีพันธมิตร แฟลชโฮมมากกว่า 1,000 ราย

ปี 2020 จำนวนกว่า 3,000 ราย FlashHome เปลี่ยนคอนเซ็ปต์โมเดลธุรกิจใหม่ “คิดจะสร้างธุรกิจ เริ่มต้นที่เรา Start your business, Start with Flash Home” เพื่อหาพันธมิตรคนไทยอยากเป็นเจ้าของธุรกิจลงทุนในธุรกิจ E-commerce ที่มั่นคง

Flash Home เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ทั้งด้านรายได้ และความมั่นคง จุดแข็งสำคัญที่น่าสนใจ คือ เริ่มทำธุรกิจบริการรับสินค้าโดยใช้ต้นทุนราคาประหยัดเริ่มต้นเพียง 8,000 บาท (2562) ในปัจจุบันเริ่มต้น 0 บาท และ 13,000 บาท พ่วงด้วยระบบ และมาตรฐานการบริการแบบเดียวกับ Flash Express จึงทำให้แฟลชโฮมมีการขยายสาขาเติบโตอย่างรวดเร็วถึง 400 % โดยมียอดจัดส่งพัสดุอยู่ที่ 300 ล้านชิ้น หรือการเติบโตทางธุรกิจขนส่งที่สูงถึง 500% ในระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปี

ในปี 2021 Flash Home ตั้งเป้าขยายสาขาจากปัจจุบันที่มีอยู่กว่า 4,000 สาขา เพิ่มเป็น 10,000 สาขา หรือ เติบโตที่ 250 % พร้อมยังงัดเอากลยุทธ์ที่สำคัญอีกหลายประการมาเสริมทัพ เช่น การพัฒนาระบบรูปแบบใหม่ของปี 2021 เพื่อให้แฟลชโฮมสามารถบริหารจัดการพัสดุในแต่ละวัน รวมถึงการบริการให้เป็นไปอย่างไม่สะดุด

ปัจจุบัน Flash Home ได้เปิดรับสมัครพันธมิตร เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงเจ้าของร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่มีฐานลูกค้าประจำ ตลอดจนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สามารถเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Flash Home

สิทธิ์ในการร้องเรียน ที่ Flash Home ควรทราบ

Flash Home

ภาพจาก https://bit.ly/3G03dHZ

ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ได้เข้าไปในเว็บไซต์ Flash Home | https://bit.ly/3G03dHZ พบข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ FlashHome สำหรับในการร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง OTCC สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. โดยเนื้อหาใจความในเว็บไซต์ระบุคร่าวๆ ดังนี้

ราคา 2 มาตรฐาน ไม่สามารถรับลูกค้าได้หาก ลูกค้ามีสัญญา KA แม้ต้องการส่งแบบปกติกับสาขา FH การให้ส่วนลด การมีนโยบายสะสมแต้มทางการตลาดผ่านแอพ ล้วนมีการแบ่งแยกกันระหว่างสาขาเฟรนไชนส์ กับสาขาของ FX โดยตรง

สาขาที่ได้ประกอบกิจการ Flash home โดยตรงที่ไม่ใช่ขนส่งรวม หากพบว่า นโยบายของบริษัท Flash Express มีความไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมต่อการเนินการ มีการกีดกันลูกค้า หรือมีการให้เรตราคาในการแข่งขัน 2 มาตรฐาน ทำให้เกิดข้อเสียเปรียบอย่างชัดเจน สามารถร้องเรียนขอความคุ้มครองให้ยุติการกระทำ หรือ นโยบายนั้นๆ ได้

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ พ.ศ.2562 และมีราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่าง FlashHome และ Flash Express มีกรณีหนึ่งที่ FlashHome สามารถร้องเรียนได้ นั่นคือ การเปิดร้านและขยายสาขาที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดการแย่งชิงลูกค้า

โดยความในประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระบุใจความดังต่อไปนี้

“ข้อ ๔ การดำเนินการเกี่ยวกับการขยายสาขาโดยแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้บริหารและดำเนินการด้วยตนเองหรือให้สิทธิแก่แฟรนไชส์ซีรายใดหรือบุคคลอื่นในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่แฟรนไชส์ซีตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้แฟรนไชส์ซอร์แจ้งให้แฟรนไชส์ซีรายที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดได้ทราบ และให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีรายนั้นก่อน เว้นแต่แฟรนไชส์ซีรายเดิมมีผลประกอบการที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดอย่างชัดเจนและแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว

ทั้งนี้ แฟรนไชส์ซอร์ต้องให้ระยะเวลาในการพิจารณาแก่แฟรนไชส์ซีไม่น้อยกว่า 30 วัน ในการแจ้งกลับในการพิจารณาพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดตามวรรคหนึ่งให้พิจารณาจากปริมาณความต้องการสินค้าหรือบริการ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยสภาพการแข่งขันในตลาดประกอบกัน

กรณีการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในลักษณะเป็นแฟรนไชส์เขตพัฒนาพื้นที่ (Area Development) ที่แฟรนไชส์ซอร์ให้สิทธิแก่แฟรนไชส์ซีในการดำเนินธุรกิจภายในพื้นที่ที่ตกลงกันและมีข้อตกลงเกี่ยวกับการขยายสาขากำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในสัญญาแฟรนไชส์หรือมีข้อตกลงเกี่ยวกับการขยายสาขาประกอบกับสัญญาแฟรนไชส์ที่ทำให้ไม่อาจให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีรายที่อยู่ในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่สุดก่อนได้ ให้แฟรนไชส์ซอร์พิจารณาให้สิทธิในการขยายสาขาแก่แฟรนไชส์ซีรายอื่นที่เหมาะสมได้โดยต้องมีเหตุผลที่สามารถรับฟังได้ในทางธุรกิจ ทางการตลาด หรือทางเศรษฐศาสตร์”

นอกจากนี้ ยังมี 6 ข้อห้ามสำหรับแฟรนไชส์ซอร์ระบุในไกด์ไลน์แฟรนไชส์ โดยไกด์ไลน์ในธุรกิจแฟรนไชส์ฉบับนี้ ได้กำหนดพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามและอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ไว้ดังนี้

  1. การกำหนดเงื่อนไขที่จํากัดสิทธิแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น ให้แฟรนไชส์ซีต้องซื้อสินค้าที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าแฟรนไชส์ หรือต้องซื้อวัตถุดิบในปริมาณที่สูงกว่าความต้องการใช้จริง
  2. การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมหลังทำสัญญา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น ให้แฟรนไชส์ซีซื้อสินค้านอกเหนือจากที่กำหนดไว้
  3. การห้ามแฟรนไชส์ซีซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการรายอื่น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  4. การห้ามแฟรนไชส์ซีขายลดราคาสินค้าที่เน่าเสียง่าย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  5. การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซี โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และนำไปสู่การเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
  6. การกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ นอกเหนือจากการรักษาคุณภาพและมาตรฐานตามสัญญา

ในเว็บไซต์ Flash Home | https://bit.ly/3G03dHZ ยังนำเสนอช่องทางการร้องเรียนสำหรับ Flash Home ดังนี้

1

ภาพจาก https://bit.ly/3GVitHg

  1. การส่งคำร้องกับทำได้เลยโดยตรงทุกสาขา ต้องดำเนินการยืนคำร้องด้วยแบบฟอร์ม มาตรฐานของ OTCC online ได้เลยที่ https://bit.ly/3GVitHg
  2. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสาขาทุกสาขาสามารถขอความคุ้มครองได้ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา มาตรา57 https://bit.ly/32sHxq2
  3. แนวทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ https://bit.ly/345E2q2
  4. แนวทางการกระทำอันเป็นผลเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น พ.ศ. 2561 https://bit.ly/3qXzpY7

สำหรับบทลงโทษผู้ประกอบธุรกิจใดที่ฝ่าฝืนมาตรา 57 ปฏิบัติพฤติกรรมการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ต้องชำระค่าปรับทางปกครองในอัตราไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด

#สรุป ถ้า Flash Express วางคอนเซ็ปต์หาพันธมิตรสาขา FlashHome ในรูปแบบแฟรนไชส์นั้น จะต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “แฟรนไชส์” ทุกสาขาจะต้องมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ และอื่นๆ ที่เป็นลักษณะและมาตรฐานเดียวกัน ขณะเดียวกันผู้ที่คิดจะซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องศึกษาธุรกิจแฟรนไชส์ที่ต้องการซื้ออย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องของการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของบริษัทแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ข้อมูลจาก https://bit.ly/35fzcah , https://bit.ly/3KIVTEc , https://bit.ly/3H292Wv , https://bit.ly/3rKTTCx

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3r27Ahx


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช