ส่อง! “O2O” เทรนการตลาดดิจิตอลยุคใหม่ เชื่อมต่อออนไลน์สู่ออฟไลน์
ถ้าย้อนกลับไป เมื่อหลายปีก่อน มีใครๆหลายคนต่างว่าไว้ว่า ธุรกิจห้างสรรพสินค้าและร้านค้ากำลังจะกลายเป็นอดีต ส่วนธุรกิจ E-Commerce กำลังจะมาแทนที่ในอนาคต
แต่หากว่านักธุรกิจกลับไม่ได้มองเป็นเช่นนั้น พวกเขามองว่าการตลาดอย่าง E-Commerce นั้นก็เริ่มที่จะเสี่ยงต่อการเป็นอดีตเช่นเดียวกัน ส่วนอนาคตที่กำลังจะมาถึงรวดเร็วนั้นคือ โมเดลธุรกิจใหม่ หรือที่รู้จักกันใน O2O (Online to Offline) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อห้างร้านในโลกออฟไลน์เข้ากับเทคโนโลยีโลกออนไลน์อย่างลงตัว
โดย O2O จะเป็นการผสมผสานระหว่างห้างในโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและชำระเงินออนไลน์ รวมทั้งสามารถเก็บข้อมูลผู้บริโภคได้อย่างมหาศาล ส่วนอีกด้านหนึ่งก็สามารถใช้จุดแข็งของห้างร้านที่มีสินค้าจริงให้ผู้คนได้สัมผัสและทดลอง
ดังนั้น ธุรกิจทางฝั่งออนไลน์และฝั่งออฟไลน์ต่างก็ต้องปรับตัว โดยทางฝั่งออนไลน์อาจจะขายผ่านทางอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว แต่ก็คงจะเติบโตได้ในระยะเวลาที่จำกัด ส่วนฝั่งออฟไลน์ถ้าไม่ปรับตัวตามเทคโนโลยี ก็อาจจะไม่รอดในระยะยาวเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่ากลยุทธ์เหล่านี้อาจจะดูซับซ้อนไปหน่อย แต่ก็ถือว่าค่อนข้างได้ผลจริงๆในแวดวงของธุรกิจ
ดังนั้นแบรนด์ต่างๆควรที่จะมีวิธีการรับมืออย่างไร
ภาพจาก pixabay.com
การตลาดแบบครบวงจรนั้นมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดแบบ Omnichannel (การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง การเชื่อมโยงช่องทางต่างๆ รวมให้เป็นหนึ่งเดียว
โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารเหล่านั้นทั้งออนไลน์ (Online) และการขายหน้าร้าน (Offline) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างชาญฉลาดและไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นระบบ CRM ยุคเศรษฐกิจและสังคม 4.0) และกลยุทธ์ O2O ซึ่งได้รับการออกแบบมา เพื่อให้ความรู้และดึงดูดผู้บริโภคกว่า 85% ที่บอกว่า
พวกเขาจะซื้อสินค้าในทุกสัปดาห์ตามที่ eMarketer (บริษัท วิจัยตลาดในเครือที่เป็นเจ้าของโดย 93% ให้ข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัลสื่อและการพาณิชย์) ได้ระบุไว้ แต่นั่นก็ไม่รวมถึงร้านขายของชำด้วย
ภาพจาก bit.ly/31DHcue
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เหล่าบรรดา Baby Boomers (ผู้ที่เกิดในปี ค.ศ.1940 – 1960) และผู้ซื้อที่มีอายุน้อย จะมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงร้านค้าหรือสถานที่ให้บริการมากขึ้นเมื่อพวกเขาออกไปข้างนอก
ซึ่งบุคคลที่เป็น Millennials (ผู้ที่เกิดในปี ค.ศ. 1986 – 1995) ก็ได้เข้าร้านค้าโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 4 ร้าน ต่อสัปดาห์ จากตามรายงานของ eMarketer ซึ่งมีผลการดำเนินการวิจัยโดย Roth Capital Partners พบว่า เกือบ 2 ใน 3 ของ Millennials ในสหรัฐอเมริกาได้ใช้การผสมผสานระหว่างกิจกรรมออนไลน์และในร้านค้า เพื่อใช้ในการวิจัยและการเลือกซื้อสินค้า
กลยุทธ์ O2O สำหรับการดึงดูดใจ Millennials
ภาพจาก pixabay.com
โดย Millennials จะคิดเป็นร้อยละ 75 ของจำนวนพนักงานในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2025 โดยหากคุณต้องการขายสินค้าของคุณให้กับคนในรุ่นนี้หรือคนอื่นๆ ในขณะที่พวกเขาสั่งซื้อสินค้าจากออนไลน์เป็นออฟไลน์ คุณก็จะต้องมีวิธีการดึงดูดใจพวกเขาดังต่อไปนี้
1. คุณต้องรู้ว่า พวกเขากำลังมองหาอะไร และอะไรคือแรงบันดาลใจในการซื้อของสำหรับพวกเขา :
เพื่อที่จะได้ช่วยให้คุณได้วางแผนในการดำเนินการทางธุรกิจ และช่วยลดตัวเลือกในการซื้อของพวกเขาไปได้น้อยลง
2. ต้องเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่ :
ไม่แปลกใจเลยที่ Millennials และ Gen Z ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับสื่อออนไลน์อย่างโซเชียลมีเดีย ซึ่งในปี 2018 ก็ได้พบว่า บุคคลที่เป็น Millennials กว่า 83% ได้ใช้ Facebook ถึง 67% ใช้ Youtube และ Instagram ถึง 45% ใช้ Twitter และ Snapchat กว่า 30% ในระบบแฟรนไชส์มากขึ้นเรื่อยๆ และใช้พูดคุยในสังคมออนไลน์ใน Facebook Messenger มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว
3. ตระหนักถึงสิ่งที่คุณต้องการที่จะพูด ไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการที่จะได้ยิน และปรับตามที่เขาต้องการ :
โดยนักการตลาดสังคมอ้างว่า จะมุ่งเน้นเนื้อหาทางสังคมในโพสต์ที่เขาได้เขียนคำแนะนำและบอกเล่าเรื่องราวเอาไว้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็กำลังมองหาสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อค้นหาส่วนลด ราคาสินค้า หรือยอดขายกว่า 73% และดูสินค้าและบริการใหม่ๆที่นำมาเสนอพวกเขากว่า 60% แต่อย่างไรก็ตาม โดยพื้นฐานแล้วก็ยังมีผู้บริโภคที่สนใจถึงโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่แนะนำพวกเขาอีกกว่า 59% หากพิจารณาการส่งเสริมการขายกิจกรรมร้านค้าพิเศษและการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในบัญชีแฟรนไชส์และสื่อท้องถิ่นของคุณ ซึ่งใน Youtube นั้น จะเหมาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการแชร์เทคนิคการสอนหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ โฆษณาสินค้า และบริการของคุณ
4. พวกเขาต้องมีกำลังมากพอที่จะซื้อมัน :
โดย Google ได้บอกกับเราว่า กว่า 61% ของผู้ซื้อที่เลือกซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่มีสถานที่ตั้งมากกว่า แทนที่จะเป็นแบรนด์แบบออนไลน์เพียงเท่านั้น และเมื่อพวกเขามีรายการที่พวกเขาต้องการหรืออยากจะได้ในทันทีทันใดเกือบร้อยละ 80 ที่พวกเขาเหล่านั้นจะมุ่งหน้าไปสถานที่ที่วางจำหน่ายสินค้านั้นเลย ซึ่งในการเลือกซื้อสินค้าอาจจะเป็นไปได้บนหน้าเว็บไซต์ Landing Page ในพื้นที่ของคุณหรือสื่อสังคมออนไลน์เมื่ออยู่ในร้านากกว่าครึ่งในพิจารณาในการรับข้อเสนอเหล่านั้น หรือคุณอาจจะใช้คูปองส่วนลดต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้าของคุณก็ได้
5. การใช้บริการแบบ BOPUS (Buy Online Pickup In Store) :
“BOPUS” มีความหมายตรงตัวเลยคือ การซื้อแบบ online แต่รับสินค้าอยู่ที่ร้าน ดังนั้นลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ครบถ้วนอย่างที่ต้องการ คือยังเลือกซื้อของแบบ online อยู่ แต่ได้รับประสบการณ์ทางการซื้อที่ร้านค้ากลับมาแทน เช่น การให้พนักงานได้สาธิตวิธีการใช้สินค้า การได้ตรวจสอบสินค้า การทดลองสินค้า รวมไปถึงการสัมผัสตัวสินค้าจริงๆ ก็ยังสามารถได้รับตอนที่ไปรับสินค้าที่ร้านอีกด้วย โดย BOPUS ไม่ได้เพียงแต่ตอบโจทย์ของผู้ซื้อฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับผู้ขายเช่นกัน ทั้งในเรื่องของการประหยัดต้นทุนทาง logistics เช่น ค่าขนส่ง และการบริหารสินค้าคงคลัง เป็นต้น หรือผู้ขายยังสามารถเพิ่มโอกาสทางการขายให้กับตนเองได้เมื่อลูกค้าได้อีกด้วย
6. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติในเรื่องของโอกาสและการเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย :
ตรงส่วนนี้ดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสักเล็กน้อย โดยเทคโนโลยีต่างๆก็กำลังปรับปรุงเพื่อนำมาใช้กับวิธีการเหล่านี้อยู่ หรืออาจจะใช้การเป็นพันธมิตรกับสื่อเอเจนซี่ต่างๆที่มีประสบการณ์โดยตรง เพื่อให้คุณสามารถทดสอบประสิทธิภาพต่างๆได้
ในบางครั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับนักการตลาดที่แฟรนไชส์ควรที่จะต้องจำไว้คือ การเป็นพันธมิตรที่ดีในเครือของบริษัทต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจของคุณได้เจริญก้าวหน้าต่อไปมากยิ่งขึ้น
แต่คุณก็ต้องเลือกคนที่คุณเชื่อใจได้เท่านั้น ดังนั้นแล้ว ถ้าคุณใช้ในเรื่องของกลยุทธ์ O2O คุณก็สามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและกลยุทธ์ทางการค้า เพื่อคุณสามารถผลักดันยอดขายของคุณได้
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
ที่มา