ส่อง 5 แฟรนไชส์ดาวร่วง ปี 2566
เชื่อว่าหลายคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจน่าจะมองว่าในปี 2566 สถานการณ์อันเลวร้ายต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจฟื้นตัวกลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติเหมือนช่วงก่อนการระบาดโควิด-19 แต่สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยแฟรนไชส์ หรืออยากขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ใน ปี 2566 แต่ไม่รู้ว่าธุรกิจกลุ่มไหนจะเป็นดาวรุ่ง และธุรกิจกลุ่มไหนจะร่วง
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอธุรกิจ แฟรนไชส์ดาวร่วง ปี 2566 หรือเรียกว่าธุรกิจที่จะได้รับความนิยมน้อยลงไปในช่วงปี 2566 แต่ถ้าบางธุรกิจสามารถปรับตัวได้โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ก็น่าจะมีโอกาสอยู่บ้าง
1.แฟรนไชส์งานพิมพ์
ภาพจาก www.freepik.com
เป็นกลุ่มแฟรนไชส์ที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากในปี 2566 โดยมีปัจจัยมาจากเทคโนโลยีดิจิทัลมาแทนที่ จึงทำให้แฟรนไชส์กลุ่มงานพิมพ์ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร ธุรกิจรับส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน ธุรกิจโรงพิมพ์ การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ และอื่นๆ แต่ถ้าแบรนด์ไหนปรับตัวได้ก็จะอยู่รอด
2.แฟรนไชส์หนังสือ/วิดีโอ
เมื่อเกือบทุกสิ่งทุกอย่างย้ายไปอยู่บนออนไลน์ แฟรนไชส์กลุ่มหนังสือและวิดีโอก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ไม่แตกต่างไปจากแฟรนไชส์งานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจร้านขายหนังสือ ร้านจำหน่ายและเช่าวิดีโอ เป็นต้น
3.แฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจ
ภาพจาก www.freepik.com
แฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจจะเป็นธุรกิจประเภทลักษณะของการเป็นตัวแทนจำหน่ายต่างๆ การติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว อุปกรณ์ในครัวเรือน และอื่นๆ
4.แฟรนไชส์อสังหาริมทรัพย์
แฟรนไชส์อสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเป็นนายหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมในต่างประเทศ สำหรับในเมืองไทยแม้จะมีบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้และทำแฟรนไชส์ด้วย แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเหมือนเดิม การเป็นนายหน้าหรือตัวกลางในการ ซื้อ/ขาย เช่า/ให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นผลตอบแทน
5. Micro Franchise แฟรนไชส์สร้างอาชีพ
ภาพจาก https://bit.ly/3X3Aeg1
“ไมโครแฟรนไชส์” เป็นลักษณะการทำธุรกิจของบริษัทขนาดกลาง ขนาดใหญ่ โดยจะมีทีมงานคอยฝึกอบรมให้กลุ่มคนหรือผู้เข้ามาทำธุรกิจได้มีความรู้ในการทำอาชีพ สอนการเก็บเงินอย่างไร บริหารการเงินอย่างไร สั่งซื้อสินค้าอย่างไร แล้วจะมีทีมงานคอยตระเวนช่วยเหลือ และคอยดูเรื่องเงินหมุนเวียนให้ จะเห็นว่าธุรกิจเหล่านี้ เป็นธุรกิจที่เป็นที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว เช่น รถพ่วงขายกาแฟเนสท์เล่ที่เราคุ้นเคยสมัยก่อน หรือร้านรถเข็นกาแฟโบราณนมตรามะลิ เป็นต้น
พอมาในยุคปัจจุบัน “ไมโครแฟรนไชส์” ก็เปรียบได้กับ Product Franchise เป็นการลงทุนในลักษณะของแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ใช้เงินลงทุนต่ำมากๆ เปิดร้านได้เร็ว ซึ่งเจ้าของแฟรนไชส์จะขายอุปกรณ์ วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์บางส่วนให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เช่น ร้านชา 25 บาท, ลูกชิ้นปิ้ง, หมูปิ้ง, ลูกชิ้นทอด, ก๋วยตี๋ยว เป็นต้น
นั่นคือ ส่อง 5 แฟรนไชส์ดาวร่วง ปี 2566 ที่จะได้รับความนิยมน้อยลงในปี 2566 โดยมีปัจจัยมาจากเทคโนโลยีดิจิตัลเข้ามาแทนที่ รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
Franchise Tips
- แฟรนไชส์งานพิมพ์
- แฟรนไชส์หนังสือ/วิดีโอ
- แฟรนไชส์โอกาสทางธุรกิจ
- แฟรนไชส์อสังหาริมทรัพย์
- Micro Franchise แฟรนไชส์สร้างอาชีพ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hMcOf2
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)