ส่องตัวเลข COVID ระลอก 3! ธุรกิจในเมืองไทย ได้รับผลกระทบแค่ไหน?

การแพร่ระบาดของ COVID ระลอกที่ 1 ทำให้ธุรกิจหลายแห่งเริ่มแย่ การแพร่ระบาดในระลอกที่ 2 ทำให้ธุรกิจเริ่มโคม่า มาถึงการแพร่ระบาดในระลอกที่ 3 เรียกว่าตายสนิท

ซึ่งนับแต่ปลายเดือนธันวาคมปี 2563ที่ผ่านมา ตัวเลขการติดเชื้อยังน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะระลอกเดือนเมษายนมาจนถึงตอนนี้ ยอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 116,949 เสียชีวิตรวมกว่า 678 ราย

ซึ่งมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตามระดับพื้นที่ควบคุมที่รัฐบาลใช้ก็ดูเหมือนจะประคองสถานการณ์ไม่ให้หนักมากขึ้นแต่ภาพรวมก็ยังสร้างความเสียหายต่อภาคธุรกิจโดยคาดว่ากระทบต่อธุรกิจ SMEs ในภาคการค้า บริการและท่องเที่ยวกว่า 1.3 ล้านราย และการจ้างงานกว่า 6.1 ล้านคน www.ThaiSMEsCenter.com ได้ลองรวบรวมตัวเลขน่าสนใจแยกเป็นประเภทธุรกิจ ว่าธุรกิจไหนได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

ภาพรวมความเสียหายต่อธุรกิจของการแพร่ระบาด COVID ระลอกที่ 3

ส่องตัวเลข

ภาพจาก bit.ly/3hBQlPD

ข้อมูลจาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ได้คาดการณ์ว่า ผลกระทบจากการระบาด COVID ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ จะทำให้รายได้ของธุรกิจ SMEs ภาคการค้าบริการและท่องเที่ยวทั่วประเทศรวม ลดลงกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท โดยจะมีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบถึง 1.3 ล้านราย ที่มีการจ้างงานรวมกันกว่าอยู่ 6.1 ล้านคน

เมื่อแยกตามพื้นที่มาตรการควบคุมการระบาด พบว่า

  • กลุ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุด รายได้จะลดลงประมาณ 2.20 หมื่นล้านบาท มี SMEs ที่ได้รับผลกระทบราว 5.7 แสนราย มีการจ้างงานกว่า 3.4 ล้านคน
  • กลุ่มพื้นที่ควบคุมและเฝ้าระวังสูง จะลดลง 2.7 และ 2.2 พันล้านบาท และมีธุรกิจที่ได้รับผลกระทบกว่า 2 แสนราย และ 5.7 แสนราย

ซึ่งจากโครงสร้างธุรกิจ พบว่าในพื้นที่ควบคุมสูงสุด กลุ่ม SMEs นิติบุคคลที่อยู่ในภาคการค้าบริการและท่องเที่ยว มีบทบาทสำคัญในการจ้างงานถึง 1.8 ล้านคน หรือคิดเป็น 55% ของการจ้างงาน SMEs ในพื้นที่ ส่วนกลุ่มพื้นที่ควบคุมและเฝ้าระวัง กลุ่มธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลมีสัดส่วน 20-27% ของการจ้างงาน

ผลกระทบของธุรกิจเสื้อผ้า และร้านค้าเบ็ดเตล็ด

4

ภาพจาก pixabay.com

ธุรกิจร้านขายปลีกเสื้อผ้า มีรายได้ลดลงกว่า 5 พันล้านบาทรองลงมาคือร้านค้าเบ็ดเตล็ด รายได้ลดลง 4.7 พันล้านบาท เพราะร้านค้าปลีกเสื้อผ้า ร้านค้าเบ็ดเตล็ด มีผู้ประกอบจำนวนการมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ เมื่อเจาะลึกลงไปในธุรกิจ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล พบว่าร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป มีจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดถึง 4.6 หมื่นราย โดยมีการจ้างงานกว่า 3.3 แสนคน รองลงเป็นร้านขายปลีกเสื้อผ้ามีธุรกิจอยู่ 1.1 หมื่นราย อัตราจ้างงานอยู่ที่ประมาณ 6.4 หมื่นคน

ผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรม /รีสอร์ท/ การท่องเที่ยว

3

ภาพจาก pixabay.com

ผลจากการแพร่ระบาดของ COVID ในระลอกที่ 3 ทำให้คาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยทั้งปี 2564 จะมีจำนวนประมาณ 2.5 แสนคน – 1.2 ล้านคน เป็นการปรับลดประมาณการจากเมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่มองว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยประมาณ 2 ล้านคน

ซึ่งแน่นอนว่ากระทบหนักต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม ที่คาดว่าธุรกิจโรงแรมจะมีรายได้ลดลงกว่า 3.8 พันล้านบาทโดยระดับความรุนแรงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มจังหวัดที่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเป็นกลุ่มจังหวัดขนาดใหญ่ที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก

  • จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยคาดว่า SMEs จะมีรายได้ลดลง 6.2 พันล้านบาท มีผลกระทบต่อลูกจ้ารวมกว่า 2.46 แสนคน เพราะเป็นเมืองท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนภาคท่องเที่ยวอยู่ถึง 48% ของมูลค่าการค้าและท่องเที่ยวรวมกัน
  • กรุงเทพมหานคร รายได้จะลดลง 5 พันล้านบาท แม้ว่าจะเป็นจังหวัดขนาดใหญ่กว่าชลบุรี แต่มีสัดส่วนภาคท่องเที่ยวน้อยกว่าโดยอยู่ที่ 37.6%
  • จังหวัดสมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับผลกระทบ 1.38, 1.13 และ 1.08 พันล้าน ตามลำดับ

ผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหาร

2

ภาพจาก pixabay.com

การแพร่ระบาดของ COVID ระลอก 3 คือหายนะของผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนมาก คาดการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารทั่วประเทศมีรายได้ลดลงรวมกันกว่า 2.7 พันล้านบาทและไม่ใช่ปัญหาของร้านอาหารขนาดใหญ่เท่านั้น แม้แต่บรรดาอาหารริมทางหรือสตรีทฟู้ดก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นกัน ตัวเลขน่าสนใจประเมินว่า ร้านอาหารขนาดเล็กริมทางเท้ามีกว่า 100,000 รายทั่วประเทศ

โดยมูลค่าของร้านอาหาร สร้างเงินสะพัดอยู่ที่ 1,400 ล้านบาทต่อวัน แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID ระลอก 3 ก็ทำให้ยอดขายลดลงกว่า 70% ซึ่งหากคิดเป็นเม็ดเงินจะหายไปประมาณ 700-800 ล้านบาทต่อวัน หรือใน 1 เดือน จะมีเม็ดเงินหายไปจากระบบกว่า 21,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงรายได้ที่หายไปขอผู้ประกอบการอย่างชัดเจน

และผลกระทบดังกล่าวไมได้มีเพียงแค่ภาคธุรกิจที่เรายกตัวอย่างมา แม้แต่คนหาเช้ากินค่ำ คนทุกอาชีพ ทุกวงการต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ แม้มาตรการของภาครัฐที่ กระตุ้นการจับจ่ายผ่านโครงการ “เราชนะ” และ “โครงการคนละครึ่ง” และ “เที่ยวด้วยกัน” จะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ค้ารายย่อยหรือธุรกิจขนาดเล็กได้บ้าง แต่ก็ยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึงกลุ่ม SMEs ที่เป็นนิติบุคคลและอยู่ในระบบภาษี ซึ่งมีจำนวนอยู่ 1.1 แสนราย และมีการจ้างงานกว่า 2.5 ล้านคน

1

ภาพจาก pixabay.com

ทั้งนี้การแพร่ระบาด COVID ระลอก 3 ทำให้เกิดค่าเสียโอกาสไม่ต่ำกว่า 1.6 แสนล้านบาทจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ล่าช้า อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีอาจจะได้รับอานิสงส์จากวัคซีน COVID 19 ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมการแพร่ระบาดทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งก็หวังเป็นอย่างยิ่งกว่าภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะไม่ดำดิ่งไปมากกว่านี้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2Rq2ble , https://bit.ly/3v9iYrz , https://bit.ly/3ylIoUw , https://bit.ly/3hAkDlQ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2QF9G7y

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด