ส่องกลยุทธ์แฟรนไชส์ Café Amazon ทำไมถึงขายดีในกัมพูชา

รู้หรือไม่ว่า แบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟของไทยอย่าง “Café Amazon” นอกจากจะได้รับความนิยมในเมืองไทยแล้ว ยังได้รับความนิยมในประเทศกัมพูชาอีกด้วย ว่ากันว่ามียอดขายมากกว่าในเมืองไทยด้วยซ้ำไป

และเป็นแบรนด์กาแฟอันดับ 1 ในกัมพูชา อยากรู้หรือไม่ว่าทำไมแฟรนไชส์กาแฟ Café Amazon ถึงขายดีและประสบความสำเร็จในกัมพูชา วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

ส่องกลยุทธ์แฟรนไชส์

ในกัมพูชา Café Amazon เป็นอันดับหนึ่ง มีสาขาอยู่ประมาณ 160 สาขา ขณะที่ลาวก็ยังคงเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน โดยมี54 สาขา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจฐานะแบรนด์แฟรนไชส์ร้านกาแฟของไทย ที่ไปสร้างชื่อเขาไม่ได้มองว่านี่เป็นของบริษัทปตท. แต่เขามองว่า Café Amazon เป็นกาแฟแบรนด์ไทยที่กัมพูชาเรียกว่า “กาแฟนกแก้วไทยแลนด์”

ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 Café Amazon มีจำนวนสาขารวมกันกว่า 3,7000 แห่งใน 11 ประเทศ แบ่งเป็นในไทยกว่า 3,400 สาขา และต่างประเทศ 10 ประเทศ ได้แก่ ลาว, กัมพูชา,พม่า, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, โอมาน,สิงคโปร์, มาเลเซีย,จีน และ เวียดนาม รวมกว่า 300 สาขา แต่คาเฟ่ อเมซอน ยังคงเดินหน้าสร้างการเติบโตต่อไป

และตอกย้ำการเป็น Brand Leadership ในแนวคิด Beyond Coffee ซึ่ง Next Move คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2565 กับการก้าวสู่ปีที่ 20 ด้วยเป้าหมายจะขยายสาขาให้ครบ 4,000 แห่ง ภายใต้วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ที่เน้น “คุณภาพสินค้าและบริการ” สำหรับสร้างประสบการณ์เหนือระดับให้ผู้บริโภค ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักที่ดำเนินการตลอดมา

Café Amazon เจาะตลาดกัมพูชาช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น

6

ภาพรวมของเศรษฐกิจของกัมพูชาก่อนการะบาดโควิด-19 ค่อนข้างมีศักยภาพ ตัวเลข GDP เติบโตเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน เมื่อประชาชนมีกำลังจับจ่ายใช้สอย สินค้าบริการไลฟ์สไตล์เริ่มได้รับความนิยม จึงเป็นโอกาสที่แบรนด์ Café Amazon เข้ามาตลาดกัมพูชา โดยชูจุดเด่นที่สไตล์สวยงาม ความร่มรื่น เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของทุกเพศทุกวัย

ในกัมพูชาทำเลเปิดร้านกาแฟ Café Amazon มีทั้งในปั้มน้ำมันและนอกปั้มเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2556 เริ่มจากร้านในสถานีบริการน้ำมัน ต่อมาในปี 2558 ได้เปิดร้าน Stand Alone ในย่านบึงเกงกอง เป็นย่านธุรกิจหากในเมืองไทยก็เป็นย่านสุขุมวิท ทองหล่อ สีลม ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากชาวกัมพูชาเป็นอย่างดี

พอมาถึงปี 2559 ร้านกาแฟ Café Amazon ภายใต้บริหารของ ปตท. มีจำนวนทั้งหมด 14 สาขา และมีแผนเปิดเพิ่มอีก 76 สาขาในปี 2564 ซึ่งในช่วงเปิดร้านแรกๆ ขายกาแฟได้ถึง 1,000 แก้วต่อวัน เรียกได้ว่ากาแฟแบรนด์ Café Amazon ที่ขายดีที่สุดในโลกอยู่ที่ประเทศกัมพูชา แม้แต่ในเมืองไทยยังไม่สามารถเทียบได้

เดินกลยุทธ์ขายแฟรนไชส์ ปักหมุดทำเลย่านคนพลุกพล่าน

5

ในปี 2560 ปตท.เริ่มขายแฟรนไชส์ Café Amazon ให้นักลงทุนกัมพูชา โดยเดินเกมกลยุทธ์ขยายแฟรนไชส์เน้นเปิดร้านกาแฟในทำเลย่านที่มีผู้คนสัญจรไปมา

เช่น ออฟฟิศ โรงเรียน มหาวิทยาลัย มีกลุ่มลูกค้ารองรับอย่างชัดเจน ทาง PTTCL ในกัมพูชา ในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์จะช่วยดูความเหมาะสมของทำเลเปิดร้านให้แก่นักลงทุน เพื่อสร้างยอดขายและกำไร รวมถึงการตกแต่งร้านให้มีรูปลักษณ์สวยงามตามคอนเซปต์ของ Café Amazon

พฤติกรรมผู้บริโภคชาวกัมพูชามีไลฟ์สไตล์เหมือนคนไทย

4

อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้แฟรนไชส์กาแฟ Café Amazon ของไทยได้รับความนิยมและมียอดขายดีในกัมพูชา ก็คือ ไลฟ์สไตล์ของคนกัมพูชาคล้ายคลึงกับคนไทย กัมพูชาเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีกลุ่มคนรุ่นใหม่มีรายได้ปานกลาง ทำให้ธุรกิจร้านกาแฟเป็นที่นิยมอย่างมาก ช่วงวันหยุดจะเห็นกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ไปใช้เวลาในร้านกาแฟ พูดคุยธุรกิจ สังสรรค์กัน

โดยปัจจุบันร้านกาแฟแบรนด์ต่างประเทศที่ติดตลาดในกัมพูชาแล้ว ได้แก่ Café Amazon อันดับ 1, Starbucks ได้รับความนิยมด้วยภาพลักษณ์ร้านกาแฟแบรนด์เมืองนอก และ Café Brown ร้านกาแฟแบรนด์กัมพูชา

ปัจจัยที่ทำให้ Café Amazon ได้รับความนิยมอันดับ 1 ในกัมพูชา คือ ปตท. ได้วางตำแหน่งทางการตลาดเป็น “Affordable Premium” ราคาขายกาแฟไม่ได้แพงเกินไป สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย ประกอบกับการตกแต่งร้านมีเอกลักษณ์ด้วยแนวคิดดีไซน์แบบ Glass House ภายในมีความเขียวขจี ใช้โทนสีโมโนโทน บรรยากาศร่มรื่นสบายๆ ทำให้ดึงดูดกลุ่มลูกค้านักศึกษาเข้ามาใช้บริการภายในร้านกาแฟได้เป็นอย่างดี

การระบาดโควิด-19 ปรับรูปแบบการขายควบคู่เดลิเวอรี่

3

การระบาดโควิด-19 ระลอก 3 ในประเทศกัมพูชา รัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์กรุงพนมเปญ กระทบธุรกิจหนัก บางสาขา Café Amazon ปิดร้านชั่วคราว ห้ามทานที่ร้าน ทำให้ยอดขายของ Café Amazon ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายเข้ากับสถานการณ์ จับมือกับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ 3 รายและทำโปรโมชั่นควบคู่กันไปด้วย

อาทิ แบรนด์ท้องถิ่นเจ้าตลาดอย่าง Yum24 ไม่ได้มีแค่สั่งอาหาร แต่มีบริการส่งสินค้า ของใช้ในชีวิตประจำวันด้วย, Food Panda มีจุดขายอยู่ที่ค่าส่งต่ำ และ e-GET แพลตฟอร์มของคนจีน ได้รับความนิยมของชาวจีนที่อยู่ในกัมพูชา

อย่างไรก็ตาม แม้การระบาดโควิด-19 ในประเทศกัมพูชาจะยังไม่คลี่คลาย แต่เป้าหมายของปตท. ยังต้องการขยายสาขาร้าน Café Amazon เพิ่มเป็น 200 สาขาในปี 2564 จากปัจจุบันมีจำนวน 160 สาขา โดยเน้นทำเลที่มีศักยภาพเช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ที่มีกลุ่มลูกค้ารองรับชัดเจน

2

กาแฟที่ร้าน Café Amazon ในประเทศกัมพูชา บางครั้งอาจจะได้เห็นเมนูที่แตกต่างจากเมนูในประเทศไทย เนื่องจากเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ อีกทั้งในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในบางสาขาสามารถทำยอดขายเฉลี่ยสูงสุดต่อวันถึง 1.3-1.4 พันแก้ว สูงกว่ายอดขายในประเทศไทย

Café Amazon ยังเป็นแบรนด์กาแฟที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้แบรนด์กาแฟไทยอื่นๆ ออกไปเปิดตลาดในกัมพูชาอีกด้วย ปัจจุบันมีร้านกาแฟแบรนด์ไทยไปดำเนินธุรกิจในกัมพูชามากมาย อาทิ Amazon, Coffee Today, Inthanin, ชาพะยอม, Arabitia, ชาตรามือ เป็นต้น แต่ละแบรนด์มีกลยุทธ์ในการทำตลาดขายแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ และ ขายวัตถุดิบ เป็นต้น

นักลงทุนกัมพูชานิยมซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ดังจากต่างประเทศ

1

ภาพจาก www.facebook.com/CafeAmazonCambodia/

ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ระบุ ร้านกาแฟในกัมพูชากำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะแบรนด์กาแฟจากต่างประเทศ ซึ่งนักลงทุนกัมพูชาหลายรายเลือกที่จะซื้อแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ รวมถึงการสร้างแบรนด์ร้านกาแฟตัวเองขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้ร้านกาแฟในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีร้านกาแฟทั่วกัมพูชาประมาณ 500 แห่ง ในจำนวนนี้อยู่ในกรุงพนมเปญมากกว่า 300 แห่ง

จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์กาแฟ Café Amazon มีจำนวนสาขาและครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในประเทศกัมพูชา ก็คือ ราคาขายไม่แพง และปริมาณมากกว่าคู่แข่ง เน้นกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาหรือกลุ่มคนทำงาน เปิดร้านในทำเลที่มีศักยภาพ ย่านคนพลุกพล่าน สัญจรผ่าน ใช้กลยุทธ์การบริการแบบ Take away มากกว่าการนั่งดื่มในร้าน แตกต่างจากกาแฟแบรนด์ดังอื่น เช่น สตาร์บัคส์ และบราวน์ คอฟฟี่

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nBDFd7

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช