สูตรลับ! 15 วิธีเลือกซื้อแฟรนไชส์ ใน 30 วัน

การเริ่มต้นธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แม้จะช่วยให้ผู้ลงทุนประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เพราะได้รับการถ่ายทอดกระบวนการทำงานต่างๆ ทุกขั้นตอนจากเจ้าของแฟรนไชส์ อีกทั้งไม่ต้องเสียเงินและเวลาในการสร้างแบรนด์และพัฒนาสินค้า แต่รู้หรือไม่ว่าการเลือกซื้อแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง ถูกใจ และเหมาะสมกับตัวเรานั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะแนะนำวิธีการเลือกซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเอง ให้ได้ภายใน 30 วัน สำหรับผู้ที่กำลังอยากซื้อแฟรนไชส์เพื่อเริ่มต้นธุรกิจในยุคนี้ครับ

1.ทำความเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์

การมีธุรกิจ

หากใครสนใจซื้อแฟรนไชส์มาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแฟรนไชส์ให้เข้าใจ อาจจะไม่ถึงกับต้องมีความรู้อย่างถ่องแท้ หรือลึกซึ้งมากนัก แต่ก็ควรมีความรู้บ้างในธุรกิจที่ตัวเองสนใจหรือคิดจะซื้อมาทำธุรกิจ ที่สำคัญต้องรู้ว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้วต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ต้องรู้หลักบริหารธุรกิจอย่างไร ต้องขายอย่างไร ต้องรูทันเจ้าของแฟรนไชส์ เพราะแม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำงานได้ง่ายขึ้น

แต่ก็อย่าลืมว่าธุรกิจที่ซื้อมาเป็นของเรา เราต้องตั้งใจทำอย่างเต็มที่ โดยแหล่งข้อมูลอาจจะอ่านตามหนังสือ เข้าคอร์สอบรม สัมมนา หรือเข้าศึกษาที่เว็บ www.ThaiFranchiseCenter.com เว็บรวมแฟรนไชส์อันดับ 1

2.ชอบธุรกิจประเภทไหน

x1

หลังจากที่ตัดสินใจแล้วว่า ตัวเองอยากซื้อแฟรนไชส์ และมีความรู้เรื่องแฟรนไชส์พอสมควร ต่อไปก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า ชอบธุรกิจประเภทไหน เพราะถ้าซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ จะมีส่วนช่วยให้บริหารธุรกิจได้ง่ายและประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

พึงคิดเสมอว่าธุรกิจที่เราซื้อมาเป็นธุรกิจของเราเอง ถ้าจะซื้อแฟรนไชส์ต้องเป็นธุรกิจที่ตัวเองชอบ เช่น ใครที่ชอบทำอาหาร ทำขนม แน่นอนว่าแฟรนไชส์ที่มีความเหมาะสม ก็คือ แฟรนไชส์กลุ่มอาหาร และเบเกอรี่ เป็นต้น

3.ทำไมต้องซื้อแฟรนไชส์

x3

เป็นคำถามที่ใครอยากซื้อแฟรนไชส์ต้องตอบให้ได้ เพราะการซื้อแฟรนไชส์มีความแตกต่างกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง ถ้าใครชอบความท้าทาย อยากสร้างธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง มีเงินทุนมากมาย พร้อมลองผิดลองถูก ก็ไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์

เพราะระบบแฟรนไชส์เป็นการซื้อความสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก และคนที่ซื้อแฟรนไชส์มาก็ต้องพร้อมปฏิบัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ ของบริษัทแฟรนไชส์ด้วย อาจจะไม่มีความเป็นอิสระมากนัก

4.ศึกษาแบรนด์แฟรนไชส์

x2

เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองชอบธุรกิจประเภทไหน เช่น อาหาร เบเกอรี่ หรือเครื่องดื่ม คุณก็จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแบรนด์แฟรนไชส์ที่ตัวเองสนใจ อาจจะลองศึกษา 2-3 แบรนด์ เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแฟรนไชส์ที่สนใจ

แล้วทำการเลือกเอาแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง โดยการศึกษาอาจจะต้องดูเรื่องของความนิยมของผู้บริโภค จำนวนสาขา ค่าแฟรนไชส์ งบการลงทุน รวมถึงทำเลที่ตั้งของแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ด้วย

5.เลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาส

x4

หลังจากศึกษาแบรนด์แฟรนไชส์ที่สนใจแล้ว ดูรายละเอียดทุกอย่างแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เหมาะสมกับตัวเอง สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเลือกแบรนด์แฟรนไชส์ในดวงใจ ก็คือ ศึกษาดูว่าแบรนด์แฟรนไชส์ไหนที่มีโอกาสเติบโต

หรือมีโอกาสขายสินค้าหรือบริการได้ในพื้นที่ของตัวเอง หรือพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้ เช่น แฟรนไชส์การศึกษาเหมาะกับพื้นที่อาคาร ห้างสรรพสินค้าที่คนพลุกพล่าน คนมาเดินเที่ยว พบปะสังสรรค์ หรือแฟรนไชส์อาหารซีฟู้ดเหมาะกับพื้นที่ติดทะเล

6.เลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะกับเงินทุน

x6

หลังจากรู้ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ไหนเหมาะสมกับพื้นที่หรือจังหวัดของตัวเองแล้ว ก็ต้องมาดูว่าแฟรนไชส์ไหนบ้างเหมาะสำหรับเงินลงทุนในกระเป๋าตัวเอง เพราะถ้าซื้อแฟรนไชส์ที่มีค่าแฟรนไชส์แพงๆ ค่าตกแต่งร้านสูงๆ แต่เงินในกระเป๋าไม่พอ ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะอย่าลืมว่า

จ่ายค่าแฟรนไชส์และค่าตกแต่งร้านไปแล้ว แต่ละเดือนต้องมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับซื้อวัตถุดิบ ค่าแรงงาน รวมถึงค่าเช่าพื้นที่ แต่ถ้าใครมีเงินทุนมากพอ ก็ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์แบรนด์นั้นได้เลย (ค้นหาแฟรนไชส์จากงบการลงทุน https://goo.gl/DCPk9c)

7.หาทำเลที่ตั้ง

x10

แม้ว่าแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์ จะเหมาะกับจังหวัดหรืออำเภอใดอำเภอหนึ่ง แต่ทำเลที่ที่ตั้งร้านจริงๆ ต้องมีความเหมาะสมด้วย สมมุติว่าตัวเองมีทำเลหน้าบ้านของตัวเอง สนใจซื้อแฟรนไชส์เครื่องดื่มมาขาย

แต่หน้าบ้านอยู่ห่างจากผู้คน ไม่มีรถวิ่งผ่านเลย แถมถ้ามีก็ฝุ่นคลุ้งกระจาย ลูกค้าก็ไม่อยากซื้อ หรือนานๆ จะขายได้แก้วหนึ่ง เชื่อว่ามีโอกาสเจ๊งสูงมาก ดังนั้น ผู้ซื้อแฟรนไขส์ต้องคิดเสมอว่า “ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”

8.สำรวจร้าน

x11

เมื่อรู้แล้วว่าจะซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ไหน มีทำเลที่ตั้งร้านแล้ว ต่อไปคุณต้องไปสำรวจร้านสาขาแฟรนไชส์ที่คนอื่นซื้อมาทำธุรกิจ อาจจะไปลองซื้อกิน

หรือลองใช้บริการก่อนก็ได้ หรืออาจจะสอบถามเจ้าของธุรกิจสาขานั้นๆ ดูว่า ซื้อมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ลูกค้าเยอะไหม ขายได้วันละเท่าไหร่ รวมถึงเจ้าของแฟรนไชส์ช่วยเหลืออะไรบ้าง เป็นต้น

9.สำรวจบริษัท

x12

หลังจากสำรวจร้านสาขาแฟรนไชส์แล้ว อาจจะต้องติดต่อเข้าไปสำรวจหรือเยี่ยมชมบริษัทแฟรนไชส์ด้วย เพราะจะได้รู้ว่าบริษัทแฟรนไชส์มีอยู่จริงหรือไม่ มีสถานที่ตั้งอยู่ไหน

ติดต่อได้ง่ายหรือสะดวกหรือไม่อย่างไร มีพนักงานมากน้อยแค่ไหน รวมถึงดูนโยบายของบริษัทแฟรนไชส์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเวลาที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว จะไม่โดนลอยแพ หรือทิ้งขว้าง

10.ตรวจสถานะของบริษัท

x14

ดูจากการจดทะเบียนบริษัท จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดูว่าบริษัทแฟรนไชส์ที่คุณสนใจ มีใครบ้างเป็นผู้ถือหุ้น และทุกปี ทุกบริษัทต้องมีการส่งงบดุล และงบกำไร-ขาดทุน (ยกเว้นกิจการประเภทที่ไม่ต้องจ่ายภาษี เช่น สถานศึกษา เป็นต้น)

นี่เป็นหลักฐานที่ดี ที่คุณจะรู้สภาพว่า บริษัทแฟรนไชส์นั้น มีฐานะทางการเงินอย่างไร มีผลการดำเนินงานอย่างไร เพราะถ้าหากมีผลประกอบการติดลบหรือขาดทุน คุณก็สามารถหลีกเลี่ยงได้

11.มีที่ปรึกษาทางกฎหมาย

y4

สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจจริงๆ ถ้าเป็นแฟรนไชส์แบรนด์ใหญ่ๆ ค่าแฟรนไชส์สูงๆ ค่าลงทุนต่างๆ แพงๆ รวมถึงต้องเสียค่า Royalty Fee จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายมาช่วยเหลือ

เพราะอย่างน้อยผู้รู้กฎหมายเหล่านี้ จะช่วยเหลือในด้านการเอารัดเอาเปรียบในเรื่องสัญญาแฟรนไชส์ของบริษัทแฟรนไชส์ แต่ถ้าเป็นแฟรนไชส์ลงทุนต่ำๆ ลงทุนครั้งเดียวเปิดร้านได้เลย ก็ไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางกฎหมายก็ได้

51

บริการ #รับปรึกษาแฟรนไชส์ (Franchise Advisor) https://bit.ly/2VX3R7w

12.ศึกษาเงื่อนไขการทำแฟรนไชส์

x7

ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในการซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ เพราะเราไม่รู้ว่าเจ้าของแฟรนไชส์จะทำสัญญาหรือทำเงื่อนไขให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์เสียเปรียบหรือไม่ ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องดูว่า

เงื่อนไขของการทำแฟรนไชส์แบรนด์นั้นๆ เป็นอย่างไรบ้าง ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามเจ้าของแฟรนไชส์บอกอย่างไร ต้องซื้อวัตถุดิบหรืออะไรจากเจ้าของแฟรนไชส์บ้าง และหลังซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว เจ้าของแฟรนไชส์จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุนเราอย่างไรบ้าง

13.เจรจาต่อรอง

x8

เมื่อรู้ว่าเงื่อนไขและข้อปฏิบัติหลังซื้อแฟรนไชส์แล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาที่จะเจรจาต่อรองในการซื้อแฟรนไชส์กับบริษัทแฟรนไชส์ เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์, ค่าสิทธิ ค่าการตลาด ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ, ต้นทุนการตกแต่งร้าน, ข้อตกลงสัญญาแฟรนไชส์, ทุนดำเนินงานหรือหมุนเวียน ทำเลและพื้นที่ประกอบกิจการ รวมถึงการให้สิทธิขยายสาขาเพิ่มในพื้นที่หรือจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว

14.เตรียมทีมงาน

x15

ก่อนการเปิดร้านหรือในช่วงการตกแต่งร้าน ที่บางครั้งเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมาจัดการให้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ควรใช้เวลานั้น หรือก่อนหน้า เตรียมทีมงานหรือพนักงานที่จะมาช่วยกิจการร้าน

ถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่ขายได้คนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องมีทีมงานก็ได้ แต่ถ้าเป็นแฟรนไชส์ร้านใหญ่ๆ ที่มีโต๊ะนั่ง พวกร้านอาหาร ก็ต้องทีมงานพนักงานคอยช่วยเหลือครับ

15.เตรียมตัวเปิดร้าน

x9

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการเลือกซื้อแฟรนไชส์ภายใน 30 วัน ก็คือ การเตรียมตัวเปิดร้าน หลังจากที่เตรียมทีมงานและพนักงานในร้านเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งช่วงเปิดร้านใหม่ๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์รวมถึงพนักงานในร้านอาจจะต้องเข้ารับการอบรมการทำงานกับบริษัทแฟรนไชส์ก่อน รวมถึงบริษัทแฟรนไชส์อาจจะส่งทีมงาน มาช่วยเทรนด์ขั้นตอนการทำงานในร้านก่อนจะทำการเปิดขายจริงด้วย ถ้าเป็นร้านใหญ่อาจจะต้องเตรียมพร้อมกับความวุ่นวายในวันเปิดร้านด้วยครับ

ทั้งหมดเป็น 15 วิธีเลือกซื้อแฟรนไชส์ ภายใน 30 วัน ถ้าคุณทำตามวิธีและขั้นตอนที่แนะนำไปแล้วอย่างครบถ้วน เชื่อได้ว่าการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไม่ผิดพลาดอย่างแน่นอน ที่สำคัญคุณจะต้องหาคำตอบ และวิเคราะห์ได้ด้วยว่า กิจการแฟรนไชส์ที่สนใจลงทุนนั้น จะสร้างอนาคตให้คุณได้หรือไม่

แต่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น เมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว กิจการจะประสบความสำเร็จได้รั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการทำธุรกิจของตัวคุณด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ทำความเข้าใจธุรกิจแฟรนไชส์
  2. ชอบธุรกิจประเภทไหน
  3. ทำไมต้องซื้อแฟรนไชส์
  4. ศึกษาแบรนด์แฟรนไชส์
  5. เลือกแฟรนไชส์ที่มีโอกาส
  6. เลือกแฟรนไชส์ที่เหมาะกับเงินทุน
  7. หาทำเลที่ตั้ง
  8. สำรวจร้าน
  9. สำรวจบริษัท
  10. ตรวจสถานะของบริษัท
  11. มีที่ปรึกษาทางกฎหมาย
  12. ศึกษาเงื่อนไขการทำแฟรนไชส์
  13. เจรจาต่อรอง
  14. เตรียมทีมงาน
  15. เตรียมตัวเปิดร้าน

อ้างอิงข้อมูลจาก https://bit.ly/34k5Rcr

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช