สูตรคำนวณ “Market Share” เจาะตลาดในเกมส์ที่เราถนัด

ตัวชี้วัดการเติบโตของธุรกิจนั้นมีอยู่หลายอย่างทั้งยอดขายที่เพิ่มขึ้น , ขนาดองค์กรที่ใหญ่ขึ้น รวมถึง ส่วนแบ่งการตลาด ที่มากขึ้นด้วย คำว่า ส่วนแบ่งการตลาด ( Market Share ) หมายถึง ส่วนหรือเปอร์เซ็นต์ของตลาด ที่บริษัทหรือองค์กรได้รับ ซึ่งก็คือ ยอดขายรวมที่เกี่ยวข้องกับยอดขายในอุตสาหกรรมโดยรวมของอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินธุรกิจ หรือประกอบกิจการอยู่

ยกตัวอย่าง โออิชิ กรีนที ซึ่งเป็นผู้นำตลาดชาพร้อมดื่มของไทย ครองแชมป์ทุกด้านต่อเนื่อง ทั้งส่วนแบ่งการตลาด ยอดขายสูงสุด มีฐานผู้ดื่มมากถึง 10 ล้านคนในไทย รวมถึงเป็นแบรนด์ที่ครองใจผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 1 มีส่วนแบ่งการตลาด 45% โดยที่ตลาดชาพร้อมดื่มในปีที่ผ่านมามีมูลค่าตลาด 15,823 ล้านบาท นั่นหมายความว่าในธุรกิจเดียวกันนี้แบรนด์อื่นมีส่วนแบ่งการตลาดในระดับที่ลดหลั่นกันไปแต่ผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดคือโออิชิ

ในมุมของนักการตลาดวิเคราะห์ว่าบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 40% จะมีกำไรสูงเป็นสองเท่าของบริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 10% เเละในทุกๆ 10% ของส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น จะช่วยให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ (ROI : Return on Investment) เพิ่มขึ้นถึง 5% อีกด้วย

Market Share

** ROI (Return on Investment) คือ ตัวเลขวัดผลตอบแทนหรือกำไรจากการลงทุน เพื่อวัดประสิทธิภาพในการลงทุนครั้งนั้น ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ มีกำไรหรือขาดทุนมากน้อยเพียงใด **

ด้วยเหตุนี้ ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) จึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ธุรกิจต่างๆ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและมุ่งมั่นที่จะเพิ่มให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งการตลาดก็ไม่ใช่การวัดขนาดการเติบโตเพียงอย่างเดียวในทางธุรกิจเพราะ ความสำคัญของส่วนแบ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงของตลาด ตลอดจนเป้าหมายและวัตถุประสงค์เฉพาะของบริษัทนั้นๆ ด้วย

ธุรกิจบางประเภทอาจจัดลำดับความสำคัญของส่วนแบ่งการตลาดเพื่อบรรลุความเป็นผู้นำด้านต้นทุนและอำนาจในการกำหนดราคา ในขณะที่ธุรกิจอื่นๆ อาจมุ่งเน้นไปที่ตลาดเฉพาะกลุ่มหรือตำแหน่งระดับพรีเมียม ซึ่งส่วนแบ่งการตลาดกลายเป็นข้อพิจารณารองทันที

อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่สนใจและอยากรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วธุรกิจของเรามี ส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) อยู่ในสัดส่วนเท่าไหร่ มีสูตรในการคำนวณแบบไม่ยุ่งยากดังนี้

ส่วนแบ่งการตลาด = (ยอดขายหรือรายได้ของบริษัทในตลาด / ยอดขายหรือรายได้รวมในตลาด) × 100%

จ่ายเท่าไหร่ ถ้านำสินค้าเข้าไปขายใน 7-Eleven

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนคือยอดขายของผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมดที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันกับเรา หรือพูดง่ายๆคือผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งของเราทั้งหมดรวมแล้วมียอดขายเท่าไหร่(รวมถึงยอดขายของเราด้วย) จากนั้นจึงนำมาหารด้วยยอดขายของบริษัทเรา ก็จะได้เป็นตัวเลขร้อยละ ซึ่งก็คือ “ส่วนแบ่งการตลาด” ที่เราต้องการนั่นเอง

สิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือ การคำนวณส่วนแบ่งการตลาดอาจขึ้นอยู่กับเกณฑ์ชี้วัดต่างๆ เช่น ยอดขายต่อหน่วย รายได้ หรือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ซึ่งขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์เฉพาะที่จำเป็น นอกจากนี้ ส่วนแบ่งการตลาดสามารถคำนวณได้ในระดับต่างๆ เช่น ภูมิภาค ระดับประเทศ หรือระดับโลก ขึ้นอยู่กับขอบเขตของตลาดที่กำลังวิเคราะห์

และหากธุรกิจของเรามีส่วนแบ่งการตลาดที่น้อยก็ยังมีวิธีเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในอีกหลายรูปแบบ ส่วนจะใช้วิธีไหนอย่างไรก็อยู่ที่ไอเดียการพัฒนาสินค้า , กลยุทธ์การขาย , การบริหารจัดการ ทุกอย่างมีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจได้ทั้งสิ้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด