สุกี้ ตี๋น้อย vs เอ็มเค สุกี้

หากพูดถึงร้านสุกี้ “สุกี้ ตี๋น้อย” และ “เอ็มเค สุกี้” เชื่อว่าคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก โดยเฉพาะ “สุกี้ ตี๋น้อย” ที่โดดเด่นในเรื่องของช่วงเวลาการเปิดให้บริการ 12.00 – 05.00 น. แม้จะเปิดได้ไม่กี่ปีแต่มีสาขาถึง 45 สาขา ขณะที่ “เอ็มเค สุกี้” ถือเป็นร้านสุกี้ของครอบครัวเปิดให้บริการเมื่อปี 2529 จากเตาแก๊สมาเป็นไฟฟ้า ถ้าถามว่าความน่าสนใจของทั้งสองแบรนด์อยู่ตรงไหน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

“สุกี้ ตี๋น้อย”

สุกี้ ตี๋น้อย

ธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ “สุกี้ ตี๋น้อย” ได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย มีสาขาราวๆ 45 แห่ง ภายใต้การบริหารของ “คุณนัทธมน พิศาลกิจวานิช” ผู้ก่อตั้งบริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด จุดเริ่มต้นของ “สุกี้ ตี๋น้อย” มาจากครอบครัวของเธอดำเนินธุรกิจร้านอาหารเรือนปั้นหยามาก่อน ทำให้เธออยากทำธุรกิจร้านอาหารของตัวเอง

สำหรับสุกี้ ตี๋น้อยได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว อาจเป็นเพราะราคาสบายกระเป๋า 219 บาท เปิดให้บริการ 12.00-05.00 น. ลูกค้าสามารถเลือกทานได้ทุกเมนู ตั้งแต่เนื้อวัวไปจนถึงซีฟู้ด นั่งได้สูงสุด 1.45 ชั่วโมง จึงทำให้สุกี้ตี๋น้อยคุ้มค่ากว่าที่อื่นๆ

สุกี้ ตี๋น้อย

จุดเด่นของร้านสุกี้ตี๋น้อยอีกอย่าง คือ แต่ละสาขาจะมีที่จอดรถกว้าง ยิ่งสาขาไกลๆ สาขาในอาคารสำนักงานก็จอดที่อาคารได้ ปัจจุบันร้านสุกี้ตี๋น้อยมี 45 สาขา ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่ ถนนพหลโยธิน เลียบทางด่วน ถนนเกษตร-นวมินทร์ กาญจนาภิเษก แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าววังหิน ศรีนครินทร์ สมุทรปราการ พระราม 4 ฯลฯ

นอกจากนี้ ร้านสุกี้ตี๋น้อยยังมีการออกโปรโมชั่นอยู่ตลอดเวลา จึงกลายเป็นร้านบุฟเฟต์ที่สามารถจับกลุ่มลูกค้าปกติและลูกค้าที่ทำงานตอนกลางคืน รวมถึงลูกค้ากลุ่มที่ไม่ต้องกังวลต่อการรีบเพื่อกลัวว่าร้านจะปิดก่อนอีกด้วย ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ในปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยได้มีกลุ่มทุนใหญ่อย่าง JMART เข้ามาถือหุ้นสัดส่วน 30% คิดเป็นเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท นั่นทำให้กิจการสุกี้ตี๋น้อยมีมูลค่ารวม 4,000 ล้านบาท

สุกี้ ตี๋น้อย

ภาพจาก www.facebook.com/sukiteenoithailand/

รายได้ สุกี้ ตี๋น้อย

  • ปี 62 รายได้ 499 ล้านบาท กำไร 15 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 1,223 ล้านบาท กำไร 140 ล้านบาท
  • ปี 64 รายได้1,572 ล้านบาท กำไร 148 ล้านบาท

เอ็มเค สุกี้

ภัตตาคารเอ็มเค (MK Restaurants, เอ็มเคสุกี้) เป็นธุรกิจร้านอาหารซึ่งมีประเภทสุกียากี้เป็นรายการหลัก บริหารงานโดย บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529

จุดเริ่มต้นของภัตตาคารเอ็มเค เป็นร้านอาหารไทยคูหาเดียว ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้าสยามสแควร์ดำเนินกิจการโดย ทองคำ เมฆโต ซึ่งซื้อกิจการมาจาก มาคอง คิงยี (Markon Kingyee – MK) ชาวฮ่องกง เมื่อปี พ.ศ. 2505 มีอาหารขึ้นชื่ออย่าง ข้าวมันไก่ ผัดไทย ผัดขี้เมา เนื้อตุ๋น ปลาช่อนแป๊ะซะ เนื้อย่างด้วยเตาถ่านแบบเกาหลี

และต่อมาขยายเป็นสองคูหา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2527 สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ อดีตประธานกรรมการบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ชักชวนให้ทองคำเปิดร้านอาหารไทย ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ด้วยชื่อร้านใหม่ว่า กรีน เอ็มเค

สุกี้ ตี๋น้อย

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2529 ร้านกรีนเอ็มเคก็เปลี่ยนมาเป็น ร้านสุกี้เอ็มเคสาขาแรก ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้ บุตรชาย-บุตรสาวและบุตรเขยของทองคำ ก็เข้าช่วยนำการตลาดสมัยใหม่มาดำเนินกิจการ พร้อมทั้งขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2539 เอ็มเคฯ

เริ่มทยอยเปลี่ยนหม้อต้มสุกียากี้ จากระบบแก๊สหุงต้มมาเป็นการใช้ไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้นของลูกค้าและพนักงาน พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการตกแต่งร้านและผลิตภัณฑ์ภายในร้านขึ้นใหม่ นอกจากจะมีอาหารสด สำหรับลวกในหม้อต้มสุกียากี้แล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นให้บริการอีก เช่น เป็ดย่าง หมูแดง หมูกรอบ ติ่มซำ เป็นต้น

จึงเปลี่ยนชื่อการค้าเป็นภัตตาคารเอ็มเค โดยขายอาหารเป็นชุดเริ่มต้น 399 บาท ภายใต้สโลแกน “ความสุขเอ่อล้นทุกวันที่ MK” ปัจจุบันนอกจากเอ็มเคฯ จะมีสาขาในประเทศไทยแล้ว ยังขยายสาขาในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม และ ลาว

ความโดดเด่นของเอ็มเค สุกี้อยู่ที่การบริการ บริษัทจะมีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อสร้างมาตรฐานการให้บริการเหมือนกันทุกสาขา MK จึงตั้งสถาบันฝึกอบรมเอ็มเค ที่ดำเนินการโดยบริษัท เอ็มเค เซอร์วิส เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด เพื่อฝึกอบรมงานด้านบริการและทักษะที่จำเป็นในการทำงานแก่พนักงาน MK โดยเขียนหลักสูตร จัดตารางเรียน คอร์สอบรม หาครูมาสอน เมื่อทำสิ่งเหล่านี้ได้ จึงสามารถสร้างบริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ในทุกสาขา

สุกี้ ตี๋น้อย

ภาพจาก www.facebook.com/mkrestaurants

รายได้บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ร้านอาหาร 9 แบรนด์)

  • ปี 2562 รายได้ 16,126 ล้านบาท กำไร 2,565 ล้านบาท
  • ปี 2563 รายได้ 11,584 ล้านบาท กำไร 908 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 9,822 ล้านบาท กำไร 280 ล้านบาท

นั่นคือ เรื่องราวของสองแบรนด์สุกี้ชื่อดังของเมืองไทย “สุกี้ ตี๋น้อย” เป็นร้านแบบบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท ส่วน “เอ็มเค สุกี้” เป็นร้านแบบขายอาหารเป็นชุดเริ่มต้น 399 บาท ซึ่งทั้งสองแบรนด์ยังไม่ได้ขายแฟรนไชส์

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช