สารพัดวิธีเก็บเงิน “เอาตัวเองให้รอด”ในยุคชีวิตลำบาก
การเงินช่วงนี้เป็นอย่างไรกันบ้าง? ลำบากกันมากไหม? ถ้าใครที่ตอบว่าไม่ลำบาก ขอแสดงความยินดีด้วยเพราะคุณคือ “คนส่วนน้อย” ขนาดเศรษฐีไทยที่รวยติดอันดับโลกจากการสำรวจล่าสุดในปี 2567 ก็ยังมีรายได้ลดลง นับประสาอะไรกับพวกเราที่เป็นมนุษย์เงินเดือน หาเช้ากินค่ำ หรือบางคนหนักกว่าคือหามื้อกินมื้อด้วยซ้ำ
มีสูตรคำนวณว่าเงินสำรองฉุกเฉินของเราควรมีประมาณ 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายเช่นถ้ามีรายจ่ายต่อเดือน 12,000 ก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินประมาณ 36,000-72,000 บาท แต่พูดเลยว่าตัวเลขนี้มันเกิดขึ้นในชีวิตจริงตอนนี้ได้ยากมาก แค่เอาให้มีกินรอดๆไปในแต่ละเดือนได้นี่ก็เก่งมากแล้ว
คำว่า “ชีวิตมีค่า” ยุคนี้ดูจะไม่เกินจริง ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ ใช้จ่ายประจำวัน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ซึ่งค่าครองชีพเหล่านี้ล้วนแต่สูงขึ้น สวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือบางคนน้อยลงอีกด้วย
ซึ่งคนจนอย่างเราก็พยายามทุกวิถีทางที่จะพาตัวเองไปให้รอดผลสำรวจระบุว่าส่วนใหญ่ 40% ใช้วิธีลดรายจ่าย ขณะที่ 29% พยายามหารายได้เพิ่ม และมี 13% ที่พยายามออมเงินมากขึ้น แต่คำถามที่น่าสนใจคือ ยุคนี้ยังพอจะมี “ สารพัดวิธีเก็บเงิน ” แบบไหนที่พอจะนำมาใช้จริงได้บ้าง
1.ลดรายจ่ายด้วยการทำกับข้าวกินเอง
ภาพจาก freepik.com
การหันมาทำกับข้าวกินเองในครอบครัวน่าจะช่วยประหยัดได้ระดับหนึ่งเพราะของสดและวัตถุดิบที่้ซื้อมาทำกับข้าวแต่ละครั้ง สามารถทำกินได้หลายมื้อ กินได้หลายคน คุ้มค่ากว่าการซื้ออาหารนอกบ้านมากิน รวมถึงการซื้ออาหารเดลิเวอรี่แม้ว่าจะสะดวกสบาย แต่ราคาก็สูงมีผลต่อการเก็บออมได้เหมือนกัน
2.แบ่งเงินใช้แต่ละวันให้เหมาะสม
ภาพจาก freepik.com
ปัจจัยด้านค่าครองชีพที่ทุกอย่างมีราคาแพงขึ้นอย่างชัดเจน ถ้าหากใช้จ่ายตามใจยังไงก็ไม่พอใช้แน่ วิธีออมที่ดีคือการแบ่งเงินใช้ในแต่ละวันให้เหมาะสมเช่นจากรายได้ที่เรามีหาร 30 วันแล้ว หากต้องการมีเงินเหลือเก็บอาจต้องใช้เงินได้ไม่เกินวันละ 200 บาทเป็นต้น แม้จะเป็นวิธีที่ยากแต่หากทำได้ก็มีโอกาสเก็บออมได้เยอะขึ้น
3.งดเครื่องดื่มราคาแพง
เห็นกันชัดๆก็อย่างกาแฟแก้วละ 50-60 บาท บางคนไม่ได้กินแก้วเดียวเฉลี่ยเสียเงินไปกับเครื่องดื่มบางที 100-200 บาท ลองหันมาประหยัดเรื่องนี้ ในช่วงแรกอาจจะไม่สะดวกนัก แต่ถ้าทำต่อเนื่องอาจจะมีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้นได้
4.แบ่งเงินออมทันทีเมื่อได้เงินเดือน
ภาพจาก freepik.com
เป็นวิธีหักดิบที่จะทำให้เรามีเงินออมทันที บางคนเงินเดือน 15,000 บาท แม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่สูงแถมยังมีรายจ่ายจิปาถะ แต่ถ้าคิดจะออมเงินในยุคนี้ ต้องตัดใจแบ่งเงินส่วนหนึ่งเก็บออมทันทีอาจจะเดือนละ 500 เป็นอย่างน้อย แม้จะไม่ทำให้เรามีเงินใช้หรือมีเงินมากในทันที แต่ถ้าเราทำได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นเงินสะสมที่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
5.ตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นเพื่อเป็นเงินออม
ภาพจาก freepik.com
เรียกว่าเป็นการรัดเข็ดขัดให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้เงินรั่วไหลโดยไม่จำเป็น ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น การช็อปปิ้ง การซื้อของลดราคา การปาร์ตี้ ฯลฯ อะไรที่งดได้ควรงด เลิกได้ก็ควรเลิก เพราะยุคนี้หากไม่รัดเข็มขัดและเห็นแต่ความสบายของตัวเอง ไม่สามารถมีเงินเก็บออมได้แน่
6.หาวิธีเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
การหารายได้เพิ่มต้องเริ่มจากสำรวจตัวเองก่อนว่าเราถนัดอะไร มีความสามารถอะไร สิ่งสำคัญคือเราต้องกล้าที่จะก้าวออกจากกรอบที่เคยอยู่ ต้องขยัน ตั้งใจทำจริง เช่น รับงานฟรีแลนซ์ , ปลูกผักสวนครัวขาย หรือการทำงานแฮนด์เมดขายออนไลน์ เป็นต้น
7.ลดการใช้บัตรเครดิตเพราะจะยิ่งสร้างหนี้เพิ่ม
ภาพจาก freepik.com
คนส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิตรวมมูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.8% ของหนี้ครัวเรือนถ้าเราไม่วางแผนการใช้เงินให้ดี เงินที่เราใช้ไปล่วงหน้าก็คือการเป็นหนี้ในอนาคต จำเป็นต้องเอารายได้ของเรามาใช้หนี้ที่ก่อขึ้น ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่มีเงินออมได้เช่นกัน
สำรวจอัตราเงินเดือนของคนไทยทุกวันนี้เฉลี่ยที่ 18,000 – 20,000 บาท ซึ่งบางกลุ่มอาชีพเงินเดือนก็อาจสูงกว่านี้ในขณะที่บางกลุ่มอาชีพได้เงินเดือนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเห็นว่าถ้ามีรายได้จากทางเดียว และหันไปดูรายจ่ายตัวเลขนี้ไม่เพียงพอแน่ คนส่วนใหญ่จึงมุ่งหารายได้ที่ 2 รายได้ที่ 3
แต่ปัญหาคือไม่ใช่ทุกคนที่จะทำแบบนั้นได้ วิธีที่ดีที่สุดยุคนี้คือ “บริหารจัดการตัวเอง” ให้เหมาะสม ทุกทฤษฏีหรือแนวคิดใดๆก็ตามควรเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเอง เพราะไม่ใช่แค่รับมือวิกฤติในวันนี้แต่เป็นการวางแผนล่วงหน้ารับมือกับอนาคตที่อาจจะวิกฤติยิ่งกว่าก็ได้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)