สมรภูมิค้าปลีกเดือด! CJ Express vs 7-Eleven

นอกจาก 2 แบรนด์ร้านสะดวกซื้อชื่อดังอย่าง “7-Eleven และ Family Mart” ที่มุ่งเน้นการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ยังมีอีกหลายแบรนด์ร้านสะดวกซื้อที่กำลังก้าวขึ้นมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดร้านสะดวกซื้อเมืองไทย

โดยเฉพาะ CJ Express ซึ่งปัจจุบันหลายๆ คนมองว่ากำลังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญ และเป็นเงาตามตัวร้าน 7-Eleven ชนิดที่ว่าร้าน 7-Eleven ไปเปิดให้บริการอยู่ที่ไหน ร้าน CJ Express ก็จะเปิดให้บริการอยู่ที่นั่นด้วย ร้านสะดวกซื้อ CJ Express และ 7-Eleven มีความน่าสนใจและเดินกลยุทธ์ธุรกิจอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

CJ Express

สมรภูมิค้าปลีกเดือด

ภาพจาก facebook.com/CJMORETH

CJ Supermarket ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ เริ่มแรกจะปักหลักสร้างฐานอยู่แถบภาคกลางและตะวันตก จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคในราคาประหยัดภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พีเอสดี รักษ์ไทย จำกัด ผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ในจังหวัดราชบุรี อยู่ภายใต้การบริหารของ “วิทย์ ศศลักษณานนท์” โดยได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม ปี 2548

ต่อมาได้มาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 หลังจาก “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ประธานกรรมการบริหารเครื่องดื่ม “คาราบาวแดง” และพันธมิตร เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่กว่า 80%

CJ Express มีจุดกำเนิดและมีความแข็งแกร่งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร มีความชำนาญในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ จึงไม่คิดที่จะต่อกรกับร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่โดยตรง กลยุทธ์ของ CJ Express ที่กำลังใช้อยู่ก็คือ “ป่าล้อมเมือง”

20

ภาพจาก facebook.com/CJMORETH

ด้วยกลยุทธ์ราคาสินค้า แน่นอนกลุ่มลูกค้าหลักของ CJ Express จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำเป็นหลัก ทำให้มีการจัดโปรโมชั่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะโปรโมชั่นราคาที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนในทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยโปรโมชั่นเด็ดที่โดนใจ ก็คือ ลูกค้าที่ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ที่จะได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือสะสมยอดซื้อสินค้าเพื่อรับแลกของรางวัล

ภายในร้าน CJ Express จะมีโซนให้บริการอยู่หลายโซน เช่น โซนจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค, โซนร้าน NINE Beauty จำหน่ายสินค้าความงาม และโซน Bao Café ที่เป็นร้านกาแฟ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้าและบริการให้กับลูกค้า

19

ภาพจาก facebook.com/CJMORETH

สำหรับรูปแบบการขยายสาขาของ CJ Express คือ เริ่มต้นจากต่างจังหวัด ด้านนอกรอบๆ ตัวเมือง จากนั้นจึงค่อยๆ ขยับเข้าสู่ใกล้ๆ ใจกลางเมือง โดยอนาคตเตรียมขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ เพื่อขายสู่ตลาด AEC ได้ง่ายขึ้น

คู่แข่งขันโดยตรงของ CJ Express คือ Mini Big C และ Lotus’s go fresh ที่เพิ่งรีแบรนด์มาจาก Tesco Lotus Express หลายคนอาจคาดว่า คู่แข่งหลักในตลาดร้านสะดวกซื้อที่ CJ Express ย่อมต้องเป็น 7-Eleven ซึ่งมีจำนวนสาขาราวๆ 12,432 สาขาทั่วประเทศ แต่เป็นที่สังเกตว่าร้าน CJ Express จะเปิดในทำเลใกล้ๆ กับร้าน 7-Eleven

18

ภาพจาก facebook.com/CJMORETH

ปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการแล้วกว่า 700 สาขา ในพื้นที่ 31 จังหวัด คือ กทม. นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ชัยนาท นครนายก ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระยอง ลพบุรี สระบุรี สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อุทัยธานี อ่างทอง นครสวรรค์ นครราชสีมา จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ และตราด โดยมีโครงการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดในประเทศไทย

รายได้บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด

  • ปี 61 รายได้ 11,581 ล้านบาท กำไร 262 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 13,796 ล้านบาท กำไร 357 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 18,417 ล้านบาท กำไร 933 ล้านบาท

งบลงทุนเปิดร้าน CJ Express

ปัจจุบัน CJ Express ยังลงทุนขยายสาขาภายใต้การดำเนินของบริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด ยังมีไม่มีแผนการขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ แต่ในอนาคตใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ CJ Express เตรียมเงินลงทุนไว้รอได้เลย

สอบถามข้อมูล CJ Express โทร. 02-235-3146


7-Eleven

17

ภาพจาก https://bit.ly/3J985Mi

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ภายใต้การดำเนินงานบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2531 โดยได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวจาก 7-Eleven, Inc. ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ประกอบธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” ในประเทศไทย ภายใต้สัญญา Area License Agreement ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 โดยเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์

โดยเปิดให้บริการในคอนเซ็ปต์ “ใกล้ แต่ไม่เคยปิด” เหตุผลที่เลือกสาขาแรกที่นี้ เพราะเป็นทำเลตอบโจทย์ เปิดให้บริการลูกค้า โดยกลางวัน มีกลุ่มลูกค้าเป็นคนออฟฟิศ, โรงพยาบาล, โรงเรียน ฯลฯ ขณะที่กลางคืนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นเคยกับร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven เป็นอย่างดี

16

ภาพจาก https://bit.ly/3j23GjH

การปรับตัวของ 7-Eleven ณ เวลานั้น ได้เปลี่ยนสโลแกนร้านมาเป็น “เพื่อนที่รู้ใจใกล้ๆ คุณ” เพื่อสร้าง Personal touch ให้ใกล้ชิดคนมากขึ้นนอกเหนือจากความสะดวกและเปิดไม่เคยปิด แต่เมื่อเวลาผ่านไป คู่แข่งต่างๆ เริ่มหันมาเปิดไซส์เล็กในย่านชุมชนและเปิดให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง ทาง 7-Eleven ได้ปรับตัวจากร้านสะดวกซื้อเป็น “อิ่มสะดวก” เน้นขายอาหารพร้อมทานภายใต้สโลแกนใหม่ “หิวเมื่อไรก็แวะมา” ให้บริการหลากหลายทั้งครัวทำอาหาร และชงกาแฟ

ปัจจุบัน 7-Eleven มีจำนวนสาขาราวๆ 12,432 สาขาทั่วประเทศ โดยในปี 2564 ตั้งเป้าขยายสาขาร้านสะดวกซื้อใหม่เพิ่มให้ได้ประมาณ 700 สาขา โดยใช้งบประมาณขยายการลงทุนประมาณ 11,500-12,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ จำนวนร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ทั่วโลก มีมากกว่า 71,100 สาขา โดยประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนสาขามากที่สุดในโลกราวๆ 21,096 สาขา ส่วนประเทศไทยมีจำนวนร้าน 7-Eleven มากเป็นอันดับ 2 ของโลก

รายได้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

  • ปี 61 รายได้ 335,532 ล้านบาท กำไร 19,944 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 361,034 ล้านบาท กำไร 20,180 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 328,529 ล้านบาท กำไร 14,297 ล้านบาท

งบลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven

15

ภาพจาก https://bit.ly/3NKCB2H

ปัจจุบันการลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ร้านสาขาบริษัทดำเนินการเอง, ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (Sub Area) และ ร้านสาขาประเภทร่วมลงทุน หรือ Store Business Partner ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม และเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไป

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ https://bit.ly/3LCxKih ล่าสุดระบุไว้ว่าการร่วมธุรกิจร้าน 7-Eleven หรือ การเป็น Store Business Partner มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการเปิดร้าน 480,000 บาท
  • เงินประกันความเสียหาย 1,000,000 บาท
  • ระยะเวลาการทำสัญญา 6 ปี
  • โครงการสินเชื่ออัตราพิเศษ Store business partner โดยธนาคาร รูปแบบ 1 (วงเงินกู้ ไม่เกิน 600,000 บาท ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 5 ปี)

#รวมค่าใช้จ่าย 1,480,000 บาท

รูปแบบที่ 2

  • ค่าใช้จ่ายเพื่อการเปิดร้าน 1,730,000 บาท
  • เงินประกันความเสียหาย 900,000 บาท
  • ระยะเวลาการทำสัญญา 10 ปี
  • โครงการสินเชื่ออัตราพิเศษ Store business partner โดยธนาคาร รูปแบบ 2 (วงเงินกู้ ไม่เกิน 900,000 บาท ระยะเวลา สูงสุดไม่เกิน 8 ปี)

#รวมค่าใช้จ่าย 2,630,000 บาท

สอบถามข้อมูลธุรกิจ 7-Eleven ติดต่อ 02-826-7800


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3iS678q , https://bit.ly/3uPc0sq , https://bit.ly/377ZRGQ , https://bit.ly/3uLKvAb

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3NHdhum

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช