สถิติจำนวน SMEs ในประเทศไทย
วิกฤติเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาก็ได้สร้างความเสียหายให้กับนักธุรกิจมากมายทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ซึ่งก็มีหลายหน่วนยงานที่ระดมความคิดเห็นและแนวทางแก้ไขมากมาย และเช่น ส่งเสริมการส่งออก เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว ต่างๆ
มาตรการที่ได้กล่าวมานั้นยังได้รวมถึงข้อสรุปอีกประการหนึ่งของหลายๆฝ่ายนั่นคือ การสนับสนุน และส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่ง มีมากกว่า 90% ของจำนวนทั้งหมดในประเทศ ซึ่งประกอบด้วย กิจการการผลิต การค้า และธุรกิจบริการ
มากกว่านั้น SMEs ยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ดังเช่น
- ช่วยสร้างงาน
- สร้างมูลค่าเพิ่ม
- สร้างเงินตราต่างประเทศ
- ลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ
- เป็นจุดเริ่มต้นในการประกอบการธุรกิจ
- เชื่อมโยงกับกิจกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่นๆ
- เป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือ
- สร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจ
SMEs (Small and Medium Enterprises) คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีความหมายรวมถึง อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) กิจการค้าส่งและค้าปลีก (Whole sale and Retail) และกิจการบริการ (Service)
ซึ่งเกณฑ์ในการจัดอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง หรือ เล็กนั้นมีหลายวิธี แต่โดยทั่วไปจะใช้ จำนวนคนงาน
(ขนาดการจ้างงาน) จำนวนเงินลงทุน มูลค่าทรัพย์สิน จำนวนยอดขาย หรือรายได้เป็นเกณฑ์ กิจการใดจะเข้าข่ายเป็น SMEs
หรือไม่กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดเกณฑ์ดังนี้
สถานประกอบการ จำนวนคนงาน จำนวนเงินทุน
- ขนาดเล็ก ไม่เกิน 50 คน ไม่เกิน 20 ล้าน
- ขนาดกลาง ระหว่าง 50-200 คน ระหว่าง 20 ถึง 200 ล้าน
อย่างไรก็ตามธุรกิจ SMEs บ้านเราก็ยังมีปัญหาหลายประการ เช่น ด้านการตลาด ขาดแหล่งเงินทุน ด้านแรงงาน เทคโนโลยีการผลิต ขีดจำกัดด้านการบริหารและจัดการ ปัญหาด้านการส่งเสริมของรัฐและเอกชน ปัญหาด้านการให้บริการของรัฐ และการรับรู้ข่าวสาร
ดังนั้นการให้ความสำคัญกับธุรกิจ SMEs จึงมีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพราะเป็นปัญหาพื้นฐานของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่แท้จริงและเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนด้วย หรือ เมื่อธุรกิจ SMEsอยู่รอดและเติบโตได้ ภาคอุตฯการผลิตที่แทั้จริง (Real Sector) ก็จะอยู่รอดได้เช่นกันปัญหาของ SMEs ในประเทศไทย
ปัจจุบันกิจการประเภท SMEs ของไทย คิดเป็น 95 % ของธุรกิจทั้งหมด และมีการจ้างงานกว่า 50 % ของธุรกิจทั้งหมด SMEs จึงมีส่วนสำคัญต่อการสร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาธุรกิจขนาดใหญ่ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ SMEs ของไทย ก็ยังมีปัญหาหลายประการ ซึ่งพอจะสรุปได้ 8 ประการใหญ่
- การขาดซึ่งจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Lack of Entreprenuership) การเป็นผู้ประกอบการจะต้องมีคุณสมบัติหลายประเภท เช่น ความเป็นผู้นำ การกล้าได้กล้าเสีย ต้องเป็นนายของตัวเออง การรักความท้าทาย รักความเป็นอิสระ มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง
- การจัดการและการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ ความสามารถในด้านการจัดการองค์กร การเงิน การบัญชี การตลาด บุคลากร ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของ SMEs
- การขาดบุคคลาการ หรือ ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ SMEs มักจะเริ่มต้นจากความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้านของผู้ประกอบการนั้นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและดำเนินต่อไป จนกว่าจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
- การขาดแรงงานทีมีฝีมือแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Worker) คือจุดเริ่มต้นของคุณภาพสินค้า ซึ่งพนักงานทีมีฝีมือจะต้องได้รับการฝึกฝน ดังนั้นฝู้ประกอบการรายใหม่จึงต้องสร้างและสงวนแรงงานเหล่านี้ให้ได้
- ต้นทุนการผลิตสูงการจัดการที่ไม่ดี การผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะทำให้ต้นทุนของสินค้าสูง ซึ่งนำไปสู่การเสียเปรียบในเชิงการค้ากับคู่แข่ง
- การแข่งขันสูงสภาพการเศรษฐกิจและแข่งขันในปัจจุบัน เป็นสาเหตุให้เกิดการแข่งขันกันสูงมากเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจของตนเอง ดังนั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง จึงมีความยากลำบากในการดำเนิน ธุรกิจ
- ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่ำการบริหารจัดการการผลิตไม่เหมาะสม ทำให้เกิดสูญเสียในการผลิต ผลผลิตต่ำ ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่สินค้าไม่มีคุณภาพและไม่สามารถแข่งขันได้
- ปัญหาของระบบราชการก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ทั่วไปว่า ปัญหาด้านเอกภาพและการประสานงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ก็ต้องมีความสำคัญด้วย ดังนั้นเมื่อเราได้ทราบปัญหาหลักของธุรกิจ SMEs แล้ว ก็จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาต่อไปเถ้าแก่ใหม่สำหรับ SMEs
เถ้าแก่ใหม่หรือผู้ประกอบการอิสระ หรือ เจ้าของกิจการรายใหม่ กำลังเป็นที่สนใจของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยอมรับกันว่า
เถ้าแก่ใหม่นั้นจะเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเถ้าแก่ใหม่จะเป็นผู้ที่มองเป็นโอกาสและช่องทางต่างๆแล้วสร้างธุรกิจ ของตนอย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นผู้ที่เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือจะมองในแง่ของ ” ช่วงภาวะแห่งอันตราย คือ โอกาส”
คุณสมบัติขั้นต่ำ 7 ประการสำหรับ เถ้าแก่ใหม่
- ต้องเป็นนักแสวงหาโอกาส
ต้องมองเห็น ” โอกาส” แม้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดอยมองเห็นโอกาสแล้วหยิบฉวยขึ้นได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่มองเห็นโอกาสแล้วไม่มีความสามารถหรือไม่กล้า นั่นถือว่า ” เสียของ “ - ต้องเป็นนักเสี่ยง
ต้องกล้าเสี่ยงที่จะลุยเข้าไปเลย เพราะการที่จะเป็นเถ้าแก่นั่นคือ คุณจะมีโอกาสทั้งขาดทุน และกำไร นั้นคือสิ่งที่คุณจะได้รับ ความเป็นนักเสี่ยงนั้นไม่ใช่ทำแบบบ้าบินหรือไม่มีหลักการและเหตุผลเอาซะเลย - ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับเถ้าแก่ใหม่ เพราะการที่จะเข้าไปแข่งขันกับเถ้าแก่เดิมหรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดนั้นจำเป็น จะต้องมีความคิดใหม่ๆ และสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ - ต้องไม่ท้อถอยง่าย
เถ้าแก่ใหม่จะต้องมี “ความอึด” โดยเฉพาะเริ่มแรกของการทำธุรกิจใหม่ๆ ความมุมานะไม่ย่อท้อความลำบาก และมุ่งมั่นที่จะให้ธุรกิจที่ตนสร้างนั้นประสบความสำเร็จ และหวังที่จะเก็บดอกออกผลในอนาคต - ต้องใฝ่รู้เสมอ
เถ้าแก่ใหม่จะต้องมีความตื่นตัว ใฝ่หาความรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี และยังเป็นการปรับปรุงงานต่างๆด้วย - ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
โดยจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ว่าจะไปไหนและมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร คล้ายกับยิงธนูจะต้องเหนี่ยวยิงลูกธนูนั้นให้ถูกทิศทางและเป้าหมายนั่นเอง - ต้องมีเครือข่ายที่ดี
เถ้าแก่ใหม่มีเครือข่ายที่ดีจะหมายถึง มีคนชี้แนะ สนับสนุนมาก มีแหล่งข้อมูลมาก และรวมไปถึงเพื่อน หรือญาติพี่น้องที่จะช่วยเหลือ
โดยคุณสมบัติดังกล่าว ไม่ใช่คุณสมบัติที่จะต้องมีมาแต่กำเนิด เราทุกคนสามารถมีได้ และพัฒนาขึ้นมาได้แต่ต้องใช้เวลา นี่ไม่ใช่พรสววรค์ แต่เป็นพรแสวงที่ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะแสวงหาสิ่งนั้นด้วยตัวคุณเอง ถ้าไม่เชื่อ คุณลองไปถามเถ้าแก่เก่าที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีต
แรงกดดันที่ทำให้ SMEs ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ปัญหาของอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมามีหลายประการ เช่นด้านการผลิต การจัดการบริหาร
แหล่งเงินทุน การตลาด แรงงาน คุณภาพสินค้า และเทคโนโลยีเป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านั้นทำให้อุตสาหกรรมขาดความสามารถในการทำกำไร
” แรงกดดัน 4 C “ เป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้ ธุรกิจ SMEs เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่
- Customer (ลูกค้า) โดยลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย มีการเรียกร้องที่ไม่รู้จบ เนื่องจากเป็นตลาดของผู้ซื้อ มีสินค้าในตลาดมากมาย หรือเมื่อลูกค้าได้ยินสินค้าใหม่หรือมีสิ่งใหม่ที่ไม่ซ้ำซาก ซึ่งอาจรวามถึงราคาที่ดึงดูดใจด้วย ดังนั้น SMEs ต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ทันการณ์ โดยมีการวิเคราะห์ลูกค้าอยู่เสมอ
- Competition (การแข่งขัน) สภาพการแข่งขันในตลาดเสรีนอกจากจะเพิ่มทั้งจำนวนและขนาดแล้ว คู่แข่งจะมีทั้งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินค้าเหล่านั้นจะรวมไปถึง สินค้านำเข้า สินค้าหนีภาษี และ สินค้าที่ทุ่มตลาดด้วยการลดราคาเป็นต้น SMEs จึงต้องพยายามคิดเสมอว่า คู่แข่งของเราผลิตสินค้าที่ดีกว่า ถูกกว่า และให้บริการเร็วกว่า เพื่อที่เราจะได้มีการตื่นตัวและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มากกว่านั้นเราจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมและสร้างสรรค์ฐานลูกค้าใหม่ด้วย
- Cost (ต้นทุน) การลดต้นทุนการผลิต (Cost Reduction) เป็นเรื่องที่ SMEs ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะหากต้นทุนการผลิตสูง ราคาขายของสินค้าหรือบริการก็จะสูงไปด้วยทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันและยังทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเช่นเดียวกัน
- Crisis มีคำกล่าวว่า ” ยามศึกเรารบ ยามสงบเราฝึก” ซึ่งก็คือการที่เรามีการเตรียมความพร้อมไว้สำหรับเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน ซึ่งจะเป็นการป้องกันล่วงหน้า เราจะมีทางหนีทีไร่อย่างไร มากกว่านั้น ยังเป็นการปรับตัวและยืดหยุ่นตามวิกฤติเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีและเร็วทันท่วงที ดังนั้น การที่มีจิตนึกในการจัดการ วิกฤติการณ์(Crisis Management) จะสอนเราให้เป็น”นักป้องกันและแก้ปัญหา” ไม่ใช่ “นักผจญเพลิง”
ดังนั้น SMEs จะต้องเปิดหูเปิดตาเพื่อให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทยเป็น SMEs ประมาณ 99.5% ซึ่งมีประมาณ 2,000,000 ราย กลุ่มขับเคลื่อน GDP คือธุรกิจรายใหญ่มีประมาณ 2,000 ราย
แต่ SMEs มีความเกี่ยวข้องกับคนมากกว่าซึ่งรองรับการจ้างงานประมาณ 70% การผลิตของ SMEs ส่วนใหญ่ขายในประเทศ 70% ส่งออก 30% ตลาดของ SMEs ส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ
อ้างอิงจาก www.thaifranchisecenter.com