วิธีเพิ่มยอดขาย 3 เท่า จากลูกค้าเดิม

งานวิจัยการตลาดระบุว่าธุรกิจจะมีค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่สูงถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับการรักษาฐานลูกค้าเดิมนอกจากนี้รายได้จากลูกค้าเดิมที่กลับมาซื้อซ้ำ ใช้บริการซ้ำ จะมีมูลค่าสูงกว่ารายได้จากลูกค้าใหม่ถึง 67% 

และทุกๆการเพิ่มขึ้นของการรักษาลูกค้าเก่า ในอัตรา 5% จะสามารถเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้ถึง 25-95% จากข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของ “ลูกค้าเก่า”

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนทำธุรกิจก็อยากที่จะมีฐานลูกค้าเก่าเยอะๆ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจตอนนี้โอกาสสร้างลูกค้าใหม่นั้นเป็นเรื่องยาก และคงจะดีกว่าหากเรามีวิธีเพิ่มยอดขายจากฐานลูกค้าเดิมที่เรามีอยู่ ซึ่งจะมีวิธีไหนอย่างไรลองไปติดตามดูกัน

มีโอกาสแค่ไหนที่จะเปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้เป็น “ลูกค้าเก่า”

วิธีเพิ่มยอดขาย

ก่อนจะเป็นลูกค้าเก่าได้ ก็ต้องเริ่มจากการเป็นลูกค้าใหม่ก่อน แต่วิธีไหนอย่างไรที่จะทำให้ลูกค้าใหม่เหล่านี้กลายเป็นลูกค้าเก่า จากข้อมูลระบุว่าหลังจากที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการครั้งแรก มีโอกาส 27% ที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้ง ซึ่งแม้จะดูว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากนัก

แต่หากลูกค้ามีการกลับมาอุดหนุนเป็นครั้งที่ 2 และ 3 โอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าหรือใช้บริการอีกครั้งจะสูงขึ้นเป็น 54% การที่ธุรกิจจะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้นั้น เริ่มต้นตั้งแต่การที่ลูกค้าเป็นลูกค้าใหม่ที่มาซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นครั้งแรก แล้วได้รับประสบการณ์ที่ดี น่าพึงพอใจกลับไป

แต่สิ่งที่ควรระวังให้ดีคือลูกค้ากว่า 72% ที่ได้รับบริการที่ไม่ดี จนมีประสบการณ์เชิงลบในการซื้อครั้งแรก ปฏิเสธที่จะให้โอกาสแบรนด์เป็นครั้งที่ 2 หรือไม่กลับมาซื้อซ้ำก็หมายความว่าจะเป็นเพียงลูกค้าผ่านมาและผ่านไปไม่ใช่ฐานลูกค้าของเราในอนาคต

7 วิธีเพิ่มยอดขายจากลูกค้าเก่า

1.ดูแลลูกค้าเก่าเหมือนกับเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

16

เป็นวิธีพื้นฐานและหลักจิตวิทยาเบื้องต้นทางการตลาดเพราะเมื่อเรากับลูกค้ามีความคุ้นเคยกันดี จนมีความรู้สึกสนิทไว้ใจเชื่อใจ จะกลายเป็นความภักดีต่อแบรนด์ต่อให้มีร้านใหม่ สินค้าใหม่มาเปิดขาย คนกลุ่มนี้ก็จะเลือกซื้อสินค้าจากร้านเราเป็นอย่างแรก ยิ่งถ้าร้านค้าดูแลลูกค้าดีมากเท่าไหร่ ความประทับใจก็มีมาก และมีโอกาสที่ลูกค้าจะบอกต่อญาติพี่น้องให้มาซื้อก็มีมากขึ้นเช่นกัน

2.ลูกค้าเก่าต้องได้โอกาสทดลองสินค้าใหม่ก่อนเสมอ

15

สิทธิพิเศษของลูกค้าเก่าที่ควรมีคือโอกาสในการรับรู้ข้อมูลสินค้าตัวใหม่ หรือบริการตัวใหม่ บางทีเราอาจมีสินค้าหรือบริการที่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการแต่ให้โอกาสลูกค้าเก่าได้ลองก่อน จะทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนเป็นคนพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายของการให้ลูกค้าเก่าได้ลองสินค้าใหม่ๆก่อนเพื่อให้เราได้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเพื่อจะได้นำข้อมูลไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น หรือหากเป็นสินค้าที่ดีอยู่แล้ว อาจจะได้ลูกค้าเก่าประเดิมซื้อสินค้าใหม่เหล่านี้เพื่อเรียกความมั่นใจในการขายของเราได้

3.กระตุ้นลูกค้าเก่าในการซื้อสินค้าเพิ่มเติม

14

ลูกค้าเก่ามีความสนิทกับร้านค้าหรือธุรกิจอย่างดีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การตลาดทั่วไปอย่างการส่งโปรชัวร์ การออกแคมเปญ การทำโปรโมชั่น อาจเป็นการตลาดเพื่อหาลูกค้าใหม่ แต่สำหรับลูกค้าเก่าอาจไม่ต้องยุ่งยากขนาดนั้น แค่การถามว่าลูกค้ามีอะไรที่ต้องการเพิ่มเติมหรือเปล่าก็อาจจะช่วยทำให้เพิ่มยอดขายได้มากขึ้น เหมือนอย่างกลยุทธ์ที่ 7-Eleven ใช้เป็นประจำ คือ การถามคุณว่ารับ…เพิ่มหรือไม่ ซึ่งประโยคง่าย ๆ แค่นี้สามารถสร้างยอดขายให้เราได้มากขึ้น

4.เพิ่มสิทธิพิเศษให้ลูกค้าเก่าซื้อมากขึ้นแต่จ่ายน้อยลง

13

ลูกค้าประจำคือสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องการมากที่สุด เพราะคนกลุ่มนี้จะซื้อสินค้าเราอยู่ตลอดเวลา กลับมาใช้บริการอยู่เสมอโดยที่เราไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม และธุรกิจจะประหยัดต้นทุนต่าง ๆ ในการหาลูกค้าไปได้มาก จากลูกค้าเหล่านั้น ซึ่งนอกจากข้อดีตรงนี้แล้วเรายังสามารถขายสินค้าได้มากกว่าเดิม ถ้าเรารู้จักใช้กลยุทธ์ทางการตลาดง่าย ๆ

อย่างเช่นการสะสมแต้ม หรือการเสนอจำนวนสินค้าที่มากขึ้นไปกว่าที่ลูกค้าเคยซื้ออยู่ แต่ปรับลดราคาให้ถูกกว่าเดิมเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเก่าซื้อมากขึ้น รายรับเราก็มากขึ้น ถึงแม้ส่วนต่างกำไรจะน้อยลง แต่มันก็ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญวิธีนี้ยังช่วยให้ลูกค้าเก่าอยากกลับมาใช้บริการเพิ่มขึ้นมากไปอีก เพราะรู้สึกว่าตัวเองพิเศษกว่าใคร และได้รับการดูแลที่แตกต่างไปจากคนอื่น

5.เสนอขายสินค้าที่ควรใช่ร่วมกันแก่ลูกค้าเก่า

12

ถ้าเป็นลูกค้าใหม่โอกาสที่เราจะขายของได้ทีละชิ้นนั้นมีมากเพราะลูกค้ากลุ่มนี้ยังไม่สนิทใจและเชื่อใจในสินค้าและบริการของเรา แตกต่างจากกลุ่มลูกค้าเก่าที่เรามีโอกาสขายได้มากกว่าเดิม

โดยเฉพาะสินค้าบางอย่างที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน เช่นแบตสำรองกับพาวเวอร์แบงก์ , เสื้อผ้ากับรองเท้าที่เข้าชุดกัน เป็นต้น ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการนำเสนอให้กับลูกค้าซึ่งแน่นอนว่าโอกาสที่ลูกค้าใหม่จะปฏิเสธการซื้อพ่วงสินค้าเหล่านี้มีมากกว่า แต่ถ้าเป็นลูกค้าเก่าเขาจะรู้สึกแตกต่างออกไปและมั่นใจว่าสิ่งที่เรานำเสนอคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าโอกาสในการขายเพิ่มของเราก็มีมากขึ้น

6.ใช้ลูกค้าเก่า ชี้เป้าลูกค้าใหม่

11

ลูกค้าเก่าแนะนำลูกค้าใหม่หรือ Member Get Member เป็นหนึ่งวิธีที่ถูกนำมาใช้บ่อย เพราะไม่ต้องลงทุนมากและไม่ต้องสื่อสารให้ยุ่งยาก เพราะลูกค้าเก่าของเราจะเป็นกระบอกเสียงที่ดีในการแนะนำลูกค้า ลูกค้าเก่าสามารถให้ข้อมูลในฐานะผู้มีประสบการณ์กับผลิตภัณฑ์ของเราได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มาจากคนรอบข้าง การจะให้คนรอบข้างชวนซื้อสินค้าก็ดูจะเป็นเรื่องที่น่ารับฟังมากกว่าการรับข้อมูลจากคนที่เป็นเจ้าของแบรนด์โดยตรง

7.ใช้การโฆษณาสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเก่ารู้สึกมั่นใจ สบายใจ

10

ต้องยอมรับว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเก่าห่างหายไปจากธุรกิจเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย เจ้าของธุรกิจควรทำการตลาด การโฆษณาในลักษณะที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกมั่นใจ เป็นโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ อาจเป็นการนำเสนอข้อดีของสินค้าที่เรามี ที่แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าจะช่วยให้รู้สึกดีหรือประทับใจได้มากแค่ไหน และการโฆษณาในลักษณะนี้จะดึงให้ลูกค้าเก่ารู้สึกมั่นใจและกลับมาหาเราได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ลูกค้าเก่ามีส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้แก่ธุรกิจได้จากหลากหลายช่องทาง อีกทั้งยังใช้ต้นทุนที่น้อยกว่าการหาลูกค้าใหม่ ตลอดจนสามารถช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ผ่านการอ้างอิงบอกต่อได้ด้วย แต่ทั้งนี้ พื้นฐานสำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินว่าลูกค้าเก่าจะกลับมาหาธุรกิจของเราหรือไม่นั้น ก็คือ ประสบการณ์และความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและลูกค้าที่ต้องเป็นไปในด้านบวก และธุรกิจเองจำเป็นต้องมีการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจไปในระยะยาวด้วย

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3BNkvFZ , https://bit.ly/3ENfZt3 , https://bit.ly/3bJTXuU , https://bit.ly/3k7kuqG , https://bit.ly/3BH8Mcd , https://bit.ly/3F24nCP

อ้างอิงจาก https://bit.ly/30gnw5d

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด