วิธีเพิ่มยอดขาย “ต่อหัว” เข้าร้าน 1 ครั้งทำไงให้จ่ายมากขึ้น

เคล็ดลับ วิธีเพิ่มยอดขาย เปิดร้านแล้วขายดีว่ากันว่าก็ไม่มีอะไรมาก มีแค่ 2 เรื่องเท่านั้น ได้แก่

  1. เรื่องของเปอร์เซ็นต์ที่สามารถปิดการขาย เช่นถ้ามีลูกค้าเข้าร้านมาสัก 100 คน เราสามารถปิดการขายได้กี่คน ?
  2. เรื่องยอดขายต่อหัว โดยลูกค้า 1คนเราทำให้เขาซื้อสินค้าเราได้กี่ชิ้น ถ้าเก็บยอดขายต่อหัวได้ยอดขายก็มาก

ถ้าจะให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ต้องไปดูกรณีของร้านสะดวกซื้อก็คงต้องยกตัวอย่างของ 7-Eleven มาประกอบ

  • ตัวเลขในปี 2566 ที่ผ่านมาสถิติของผู้เข้าใช้บริการอยู่ที่ 965 คน / วัน
  • ยอดขายเฉลี่ยต่อร้าน / วัน ประมาณ 80,837 บาท
  • ยอดซื้อต่อบิล /คน อยู่ที่ประมาณ 83 บาท

วิธีเพิ่มยอดขาย

คำถามคือเราจะมีกลยุทธ์อะไรที่จะทำให้ลูกค้าอยากเข้าร้าน และเมื่อเข้ามาแล้วจะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยากควักเงินจ่ายมากขึ้น ไม่ใช่แค่กับร้านค้าแต่พูดถึงร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มต่างๆ ด้วย แต่สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจคือแหล่งที่มาของยอดขาย

ยอดขาย = ค่าเฉลี่ยต่อหัว x จำนวนลูกค้า

ซึ่งค่าเฉลี่ยต่อหัว หมายถึง ค่าเฉลี่ยของการจ่ายเงินหนึ่งครั้งเมื่อเข้ามาใช้บริการในร้าน ถ้าเป็นร้านค้าก็ต้องดูว่าเขาซื้อสินค้าอะไรเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นร้านอาหารก็ต้องดูยอดบิลเฉลี่ยต่อคนต่อโต๊ะ เป็นต้น

ความน่าสนใจที่หลายคนอยากรู้คือระหว่างการเพิ่มจำนวนลูกค้า กับ เพิ่มจำนวนยอดการซื้อ อันไหนจะง่ายกว่ากัน ถ้าให้ตอบแบบง่ายๆ ก็ “เพิ่มจำนวนยอดซื้อ” น่าจะง่ายกว่า เหตุผลก็เพราะลูกค้าเข้ามาในร้านแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่พนักงานว่าจะทำอย่างไรให้เค้าอยากจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อเพิ่ม “ยอดขายต่อหัว” ให้มากตามไปด้วย ก็มีหลายวิธีในการเพิ่มยอดขายต่อหัว เราสรุปวิธีที่น่าสนใจ ได้แก่

1.การขายสินค้าแบบมีเงื่อนไข

วิธีเพิ่มยอดขาย

การเพิ่มยอดขายต่อหัวที่ดีที่สุดคือทำให้คนซื้อรู้สึกว่าสินค้าไม่แพง คำว่า “ลดราคา” จึงต้องนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การขายแบบมีเงื่อนไข ที่ไม่ใช่การลดราคาเพียงอย่างเดียว หลักการของวิธีนี้คือการนำเสนอส่วนลดที่น่าสนใจได้ดีแถมยังดึงดูดให้ลูกค้าใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อจะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าเดิมอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นซื้อครบ 500 บาท ได้รับส่วนลด 20% ซึ่งการใช้โปรโมชั่นแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าซื้อของให้ครบ 500 มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับส่วนลด 20%

2.เพิ่ม “บริการพิเศษ”

วิธีเพิ่มยอดขาย

บางทีการที่ลูกค้าอยากจะจ่ายเงินเพิ่มต้องรุ้สึกว่าสิ่งนั้นพิเศษและน่าสนใจจริง ร้านค้าควรใช้เทคนิคเพิ่มบริการพิเศษ หรือการได้รับสิ่งที่มากกว่าราคาสินค้าที่จ่ายไปจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ ยกตัวอย่างเช่น บริการจัดส่งฟรีถึงบ้าน หรือบริการติดตามดูแลสินค้าให้ฟรีหลังการซื้อขาย ก็จะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าจ่ายเพิ่มอีกนิดแต่ได้ความสะดวกมากขึ้น

3.การขายสินค้าแบบ Up-selling

วิธีเพิ่มยอดขาย

ร้านสะดวกซื้อจะนิยมการเพิ่มยอดขายต่อหัวด้วย Up-selling หน้าที่ของผู้ขายคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า การเพิ่มเงินซื้อสินค้าเพียงไม่กี่บาท ทำให้ได้สินค้าพรีเมี่ยมกว่า ได้โดยไม่รู้สึกเสียดายที่จะจ่ายเงินเพิ่มซึ่งมันก็สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การให้พนักงานคอยให้คำแนะนำและโน้มน้าวใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าอีก 1 ชิ้นในราคาที่ถูกกว่า , การจัดโปรโมชั่น ซื้อ 2 แถม 1 หรือการจัดเซ็ทสินค้าแบบครบครันในราคาที่ถูกกว่า เป็นต้น

และถ้าดูในส่วนของร้านอาหารวิธีการเพิ่มยอดขายต่อหัวอาจต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมก็มีอีกหลายวิธีที่นำมาใช้ได้ยกตัวอย่างเช่นการเก็บน้ำเปล่าลงจากโต๊ะแล้วให้พนักงานถามความต้องการของลูกค้าว่าจะรับเครื่องดื่มอะไรดีเช่นชาเย็น , น้ำเก๊กฮวย เป็นต้น

แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าลูกค้าต้องการน้ำเปล่าเราก็ต้องเต็มใจให้บริการเช่นกัน หรือเชียร์ขายเพิ่ม โดยในร้านอาหารพนักงานต้องดูว่าลูกค้าสั่งจานหลักอะไรมาแล้วบ้าง ควรสั่งเมนูจานรอง จานเสริมอะไรถึงจะเข้ากัน และสุดท้ายคือการแนะนำเมนูขนมหวานให้ลูกค้าเมื่อรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้ว เป็นต้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด