วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน” ตอนอายุมาก

เศรษฐกิจในยุคนี้ถ้า ตกงาน ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่คงจะแย่ถ้าเราต้องมา ตกงานตอน “อายุมาก” ตัวเลขน่าสนใจในตอนนี้คือ 420,000 คนถูกเลิกจ้างแน่นอน ส่วนที่เหลืออีกกว่า 1,769,000 คน

สถานะมีงานทำในสถานประกอบการอยู่ แต่ธุรกิจหยุดชะงัก และไม่สามารถประกอบการได้ตามปกติ และไม่แน่ว่าในจำนวนนี้อาจกลายมาเป็นผู้ตกงานได้เช่นกัน

ซึ่งคำว่า “อายุมาก” www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าต้องแตะหลัก 40 ขึ้นไป บางคนทำงานมานาน เงินเดือนสูง หนาที่การงานดี แต่หากจู่ๆ ต้องกลายมาเป็นคนตกงาน จะมี วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน” อย่างไร

1.ตั้งสติให้ไว้ ทำใจให้เร็ว

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

ขั้นแรกต้องควบคุมสติตัวเองให้ได้ เมื่อรู้ว่าต้องตกงานสิ่งที่ไม่ควรทำคือการเอะอะโวยวาย หรือการโต้แย้งกับบริษัทว่าทำไมเราต้องตกงาน ในเมื่อเราทำงานมานาน หากบริษัทคิดจะจ้างเราออกเขาก็มีเหตุผลของเขาอยู่แล้ว ต่อให้เอะอะโวยวายแค่ไหนก็คงไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ สิ่งที่ทำได้คือ “ทำใจยอมรับ” และ พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด

2.รักษาสิทธิ์เงินก้อนที่ตัวเองต้องได้รับจากบริษัท

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

บริษัทที่ดีจะมีสวัสดิการให้พนักงานยามต้องตกงานหรือเกษียณ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท เช่นบางคนทำงานมานานฐานเงินเดือนสูง มีการหักสะสมเงินทุกเดือน และอาจมีเงินพิเศษจากการถูกจ้างออก ซึ่งแน่นอนว่าเงินที่ได้จำนวนนี้มากน้อยแตกต่างกันตามแต่ละบริษัท ตามแต่ละบุคคล ตามแต่ระยะเวลาในการทำงานที่ผ่านมา ในเมื่อเราต้องตกงานก็ควรรักษาสิทธิ์ในสิ่งที่เราจะต้องได้รับเพื่อจะได้นำเงินก้อนนี้ไปจัดสรรใช้ในชีวิตหลังจากนี้ต่อไป

3.ตรวจสอบสถานะการเงินและวางแผนการใช้จ่าย

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

ทันทีที่รู้ว่าต้องตกงานตอนอายุมาก ต้องคิดก่อนเลยว่าโอกาสหางานใหม่ของเรานั้นยากกว่าเด็กอายุน้อย แต่สิ่งที่เราจะมีมากกว่าคือความมั่นคงจากการทำงานที่ผ่านมา ยิ่งถ้าเป็นคนที่วางแผนเก็บออมมาตั้งแต่การทำงานในปีแรกๆ เมื่อถึงตอนนี้การเก็บออมนั้นจะกลายเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือสำรวจสถานะการเงินตัวเองทั้งหมดว่ามีเงินเท่าไหร่ มีรายจ่ายอะไรบ้าง และคำนวณว่าเงินที่เรามีอยู่นี้จะเพียงพอกับการใช้ชีวิตได้นานแค่ไหน ก่อนที่จะมาสรุปและวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมต่อไป

4.ติดต่อประกันสังคม

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

การว่างงานไม่ว่าจะว่างงานจากการลาออกตามความสมัครใจหรือถูกไล่ออก ต้องติดต่อประกันสังคมเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทดแทนที่พึงได้รับ หากส่งเงินสมทบมาแล้วเกินกว่า 6 เดือนมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน โดยยื่นคำร้องที่ประกันสังคม หากเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท สามารถเบิกค่าชดเชยว่างงานได้ไม่เกินเดือนละ 4,500 บาท อย่างน้อยก็ยังพอให้มีเงินนำมาใช้หมุนเวียนได้ในช่วงแรกที่ตกงานนี้

5.อัพเดทเรซูเม่ แล้วรีบหางานใหม่

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

กรณีตกงานตอนอายุมากการที่จะหางานในตำแหน่งงานที่เหมาะสมนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากจะไปทำตำแหน่งพนักงานธรรมดาก็ไม่มีใครอยากจ้างเพราะวัยที่มากแถมฐานเงินเดือนยังสูงสู้ไปจ้างเด็กจบใหม่ที่ฐานเงินเดือนน้อยกว่าก็น่าจะดีกว่า ยกเว้นแต่ว่าเป็นตำแหน่งบริหารที่ความสามารถของเราต้องชัดเจน ผลงานโดดเด่น ซึ่งหากผลงานดีจริงอาจจะมีสักบริษัทที่ยอมจ้าง แม้ว่าจะต้องถูกลดเงินเดือนลงบ้างก็ตาม

6.ติดต่อหาคนรู้จักเพื่อหางานใหม่

วิธีรับมือเมื่อต้อง “ตกงาน”

ภาพจาก www.freepik.com

ถ้าเราทำงานมานานสิ่งที่เรามีคือประสบการณ์และแน่นอนว่าเราต้องรู้จักคนเยอะในหลายวงการ ในหลายบริษัท หากเกิดต้องตกงานขึ้นมาในช่วงอายุมาก การติดต่อไปยังคนรู้จัก ก็อาจจะมีช่องทางให้เราได้งานใหม่ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปยิ่งเป็นในสถานการณ์แพร่ระบาดแบบนี้หลายบริษัทอาจไม่มีนโยบายรับพนักงานใหม่ แต่บางทีถ้าเราไม่ได้งานใหม่ เราอาจได้แนวคิดหรือโปรเจคใหม่ๆ ที่อาจจะมีคนยื่นข้อเสนอให้เราได้ลองทำ อาจกลายเป็นอีกช่องทางที่ทำให้เรามีรายได้แม้จะไม่ใช่ในรูปแบบงานประจำก็ตาม

7.ถึงเวลาเลือกทางเดินชีวิตใหม่

40

ภาพจาก www.freepik.com

บางทีการทำงานมานานและต้องตกงานตอนอายุมาก อาจจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้เราลองหาทางเดินชีวิตใหม่ๆ ก้าวออกจาก Comfort Zone ที่เคยอยู่ และลองทำในสิ่งที่เราเคยคิดไว้แต่ไม่มีโอกาสได้ทำ เพราะตอนนั้นไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงานประจำ แต่เมื่อไม่ได้ทำงานแล้ว เราอาจจะหันไปทำอาชีพเกษตรกรรม , ทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งสิ่งที่เรามีคือประสบการณ์ มีคนรู้จักในแวดวงต่างๆ จุดนี้จะทำให้เราได้เปรียบ โอกาสประสบความสำเร็จในรูปแบบใหม่ๆ ก็มีสูงเช่นกัน

การที่ต้องตกงานอาจไม่ใช่วิกฤติที่สุดของชีวิต เพียงแค่เราต้องตั้งสติ คิดหาทางออกที่ดีที่สุด มองหาจุดเด่น ข้อได้เปรียบที่เรามี และพยายามพัฒนาข้อได้เปรียบนั้นให้เป็นประโยชน์ บางทีการตกงานตอนอายุมาก อาจเป็นก่อนเริ่มต้นใหม่ที่ดียิ่งกว่าและเมื่อทำสำเร็จเราอาจรู้สึกว่าโชคดีที่เราได้มีโอกาสมาทำตรงนี้ ซึ่งหากยังทำงานอยู่คงไม่สามารถทำตามในสิ่งที่เราต้องการได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3kMhHm3

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด