วิธีรับมือกับความจน! ความเครียด! COVID รอบนี้ เราต้องรอด
หลังจากที่รู้ว่ามีวัคซีน COVID ทุกคนก็หวังมาตลอดว่าจะเป็นทางเลือกทางรอดที่จะนำพาชีวิตปกติสุขคืนกลับมาได้เร็วที่สุด แต่ไม่รู้ด้วยสาเหตุอะไรที่ตอนนี้สถานการณ์แพร่ระบาดกลับยิ่งแย่กว่าเดิมยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงต่อเนื่องมากกว่าวันละ 6,000 -7,000 ถึงขนาดที่มีกระแสข่าวว่าเตรียมจะประกาศล็อคดาวน์ทั่วประเทศกันอีกครั้ง
www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าคนทำธุรกิจทุกแขนงต่างเจ็บช้ำกันมาเยอะ ไม่ว่าจะร้านอาหาร โรงงาน โรงแรมหรือแม้แต่คนหาเช้ากินค่ำทั่วไปก็ตาม ในวิกฤติที่ชีวิตต้องเจอกับความเครียดแบบไม่หยุดหย่อนเช่นนี้ จะมีวิธีไหนบ้าง ช่วยให้เราสบายใจขึ้นได้ แม้จะไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยขอแค่ให้เราได้สบายใจได้บ้างในช่วงเวลาหนึ่ง…ช่วงนี้เวลานี้ขอแค่นี้ก่อนละกัน
1.ใช้ธรรมชาติบำบัด
ภาพจาก bit.ly/3yF1Mvn
ในวิกฤติที่หนักหนาสาหัส โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องปิดกิจการชั่วคราว ร้านอาหารที่ลูกค้าไม่สามารถนั่งทานที่ร้านได้ ห้างสรรพสินค้าที่ต้องเลื่อนเวลาปิดเร็วขึ้น รวมถึงผลกระทบของผู้ประกอบการในประเภทอื่นๆที่มีจำนวนมาก ความเครียดตอนนี้คือ รายได้หดหาย แต่รายจ่ายเท่าเดิม ไหนจะลูกน้องที่ต้องดูแล ไหนจะค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ ใครที่กู้ยืมเงินมาลงทุนก็ต้องมามีภาระในการชำระคืนทุกเดือน
เมื่อรวมๆ ทุกปัญหา ก็คือความเครียดที่บางทีทำให้คนคิดมากและมีผลต่อสุขภาพอย่างชัดเจน สิ่งที่ดีที่สุดในตอนนี้เราคงไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ การเลือกใช้ธรรมชาติบำบัด เช่นการไปพักผ่อนต่างจังหวัด หรือหยุดพักตัวเองในช่วงนี้ไปดูทะเล ไปดูน้ำตก ไปกางเต็นท์นอนดูดาว ชาร์จพลังใจให้ตัวเอง เป็นการหยุดคิดทุกปัญหาไว้สักระยะ เมื่อแรงกายแรงใจพร้อมค่อยกลับมาลุยปัญหากันใหม่
2.หาทางประนอมหนี้พูดคุยกับสถาบันการเงิน
ภาพจาก bit.ly/3hlDq3U
หนึ่งในภาระที่คนทำธุรกิจคิดมากที่สุดคือการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากที่กู้ยืมมา ถ้ากิจการมีรายได้ปกติ คนทำธุรกิจสามารถหาเงินมาหมุนเวียนตรงนี้ได้ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกคนเจอปัญหาเหมือนกัน ทางที่ดีที่สุดคือต้องพูดคุยกับสถาบันการเงินถึงแนวทางที่จะประนอมหนี้หรือมีวิธีการใดบ้างที่จะช่วย “ผ่อนหนักให้เป็นเบา” เพราะก็เข้าใจว่าสถาบันการเงินเองก็เจอปัญหาเช่นกัน แต่จะมีวิธีไหนที่ใช้เป็นทางออกร่วมกันได้บ้างในยามวิกฤติแบบนี้
3.สวดมนต์ทำใจให้สงบ
ภาพจาก bit.ly/3yyVfSD
แม้หลายคนบอกว่าช่วงนี้คงทำใจให้สงบไม่ไหว ปัญหารุมเร้ามากเหลือเกิน แต่อย่างน้อยเมื่อมีปัญหาถ้าเราเอาแต่โมโห เราจะยิ่งเครียดมากขึ้น และสุดท้ายเราจะหาทางออกอะไรไม่ได้เลย ทางที่ดีและง่ายที่สุดตอนนี้ลองหันมาสวดมนต์ทำใจให้สงบ ลองนั่งสมาธิอย่างจริงจัง หรือนั่งสมาธิทุกครั้งก่อนนอนวันละ 5-10 นาที อย่างน้อยสมองก็จะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงเวลานั้น เมื่อใจสงบอาจทำให้เราคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
4.เขียนระบายความรู้สึก
ภาพจาก bit.ly/3xrJZYi
เหตุผลที่ทำให้คนเรารู้สึกอัดอัด เครียด ส่วนหนึ่งเพราะไม่รู้จะไประบายความรู้สึกได้ที่ไหน ไปพูดกับใครก็ไม่มีใครช่วยเราได้ วิธีที่จะช่วยให้เราหายอึดอัดได้มากขึ้นคือการเขียนไดอารี่ บอกเล่าเรื่องราวที่เราต้องเผชิญ ความรู้สึกของเราในขณะนั้น คิดอย่างไรก็เขียนไปตามนั้น สามารถใส่อารมณ์ ความรู้สึกของเราผ่านตัวอักษรได้อย่างเต็มที่ หรือยุคนี้ถ้าไม่อยากเขียนเพราะมันเสียเวลาก็สามารพิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ก็ถือเป็นการช่วยระบายความรู้สึกของเราได้อีกทางหนึ่ง
5.คิดหารายได้เท่าที่เรายังพอทำได้
ภาพจาก bit.ly/3hESRCY
การมีมาตรการควบคุมเข้มข้นที่ทำให้กิจการต้องมีผลกระทบ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นการสั่งปิดแบบ100% มองโลกในแง่ดีอย่างร้านอาหารก็ยังสามารถเปิดขายให้ซื้อกลับบ้าน หรือยังสามารถขายแบบเดลิเวอรี่ได้ ซึ่งแน่นอนว่ารายได้จากการเปิดร้านกว่าร้อยละ 90 มาจากลูกค้าที่นั่งทานในร้าน แต่เมื่อเราต้องเผชิญปัญหานี้ ควรคิดว่าเราจะทำอย่างไรที่จะหารายได้มาชดเชยได้มากที่สุดจากวิธีการที่ยังพอทำได้ ซึ่งอาจไม่สร้างรายได้มากหรือทดแทนสิ่งที่เราขาดหายไปได้แต่อย่างน้อยก็ยังพอเหลือช่องทางให้เราค้าขายได้บ้าง ก็เป็นการมองโลกในแง่ดีวิธีหนึ่ง
6.ปลูกต้นไม้/ดอกไม้
ภาพจาก bit.ly/3xpw0SL
การปลูกต้นไม้ช่วยให้เราใจเย็นลงได้ เราอาจเลือกพันธุ์ไม้ที่ชอบไม่ว่าจะไม้ดอก ไม้ใบ ไม้ผล ไม้ดัด หรือไม้มงคลใดๆก็ตาม ซึ่งการที่เราได้รดน้ำ พรวนดิน ในการปลูกต้นไม้ก็ช่วยทำให้เราหยุดคิดเรื่องปัญหาธุรกิจได้สักพักหนึ่ง แม้ปัญหาที่เกิดจะไม่ได้หายไปแต่อย่างน้อยเราก็ได้มีเวลาหยุดคิด มีเวลาให้ตัวเองมากขึ้น หรือบางทีต้นไม้ที่เราปลูกอาจกลายเป็นต้นไม้ที่มีมูลค่าสามารถสร้างเป็นรายได้ที่ดีให้กับเราได้ด้วย
7.พูดคุยกับครอบครัว ญาติพี่น้องให้มากขึ้น
ภาพจาก bit.ly/3wqsw19
สำหรับคนที่มีความเครียดในช่วงนี้แนะนำว่าอย่าอยู่คนเดียว แม้เราจะไม่สามารถออกไปหาเพื่อนหรือคนรู้จักได้ เราก็ควรใช้เวลานี้ในการพูดคุยกับคนที่เรารัก พ่อแม่ ครอบครัว ญาติพี่น้อง มีปัญหาอะไร มีเรื่องอะไรที่เราอยากพูดอยากระบายก็ขอให้พูดให้ระบายออกมา อย่างน้อยก็เป็นการคลายความอึดอัดและเมื่อมีคนรับฟังก็จะทำให้เราไม่รู้สึกว่าอยู่ตัวคนเดียว เผชิญปัญหาคนเดียว อาจช่วยให้จิตใจเราผ่อนคลายได้มากขึ้น
เราเชื่อว่าอาจมีหลายคนที่คิดว่าวิธีการโลกสวยเหล่านี้จะช่วยให้พ้นจากปัญหาได้อย่างไร ในบทความนี้เราไม่ได้พูดถึงวิธีแก้ปัญหา แต่เรากำลังพูดถึงวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา จากความรู้สึกที่แย่มากๆ ก็มีวิธีที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้แม้จะไม่ใช่วิธีที่ได้ผลสำหรับทุกคนแต่เราเชื่อว่าในสถานการณ์แบบนี้หากมีวิธีใดที่ช่วยผ่อนคลายได้บ้าง ก็ควรจะลองทำเพื่อที่ชีวิตจะได้ไม่เครียดมากเกินไป
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3hsMTGH
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)