“ลัคกี้ สุกี้” ผู้ท้าชิง “สุกี้ ตี๋น้อย” ตั้งเป้า 2568 ยอดขายโต 2,000 ล้านบาท
หากพูดถึงตลาด “สุกี้” ในเมืองไทย เบอร์หนึ่งยังคงเป็น MK สุกี้ ล่าสุดปรับโฉมโลโก้ร้าน 3-4 สาขาเป็น MongKol Restaurants สร้างสีสันต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ตอกย้ำความเป็นเจ้าตลาด ครองมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 มานานกว่า 38 ปี ด้วยจำนวนสาขาและรายได้ที่ทิ้งห่างคู่แข่งมาตลอด
แต่ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ตลาดสุกี้ในไทยมีการแข่งขันกันดุเดือดมาก ผู้เล่นทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่า ไม่ว่าจะเป็น สุกี้ตี๋น้อย, ลัคกี้ สุกี้, สุกี้จินดา, สุกี้นินจา, สุกี้ดารา, นีโอสุกี้ ฯลฯ ต่างหันมาปรับกลยุทธ์ใหม่ ขายบุฟเฟ่ต์ ราคาเข้าถึงง่าย ตอบโจทย์ผู้บริโภคในภาวะค่าครองชีพแพง ชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่ากว่า 23,000 ล้านบาท
จึงไม่แปลกที่หลายๆ แบรนด์ได้การตอบรับจากลูกค้า ทำยอดขายและรายได้เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะ “สุกี้ตี๋น้อย” กับ “ลัคกี้สุกี้” สองบรนด์สุกี้ที่กำลังมาแรง ลูกค้าพูดถึงปากต่อปาก คาดว่าจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อในตลาดสุกี้เมืองไทย
ก่อนหน้าเราจะเห็น “สุกี้ตี๋น้อย” ไล่บี้ “MK สุกี้” เพียงแค่ 5 ปี “สุกี้ตี๋น้อย” ทำกำไร 9 เดือนปี 2567 แตะ 890 ล้านบาท เฉียด MK สุกี้ ที่ได้กำไร 1,088 ล้านบาท
นับจากนี้ “เกมส์จะเปลี่ยน” เราจะได้เห็นแบรนด์สุกี้น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้แค่ 3 ปี มี 15 สาขา ทำยอดขายปี 2567 กว่า 1,000 ล้านบาท นั่นคือ “ลัคกี้สุกี้” กระโดดขึ้นมาท้าชิง “สุกี้ตี๋น้อย” อย่างไม่เกรงกลัวเบอร์ 2 สุกี้เมืองไทย มองดูอาวุธแล้วสู้กันได้อย่างสูสี เพราะทั้ง 2 แบรนด์มีฐานกลุ่มลูกค้าตลาดเดียวกัน ขายบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท
ถามว่า “ลัคกี้สุกี้” จะสู้และไล่บี้ “สุกี้ตี๋น้อย” ได้หรือไม่ และจะงัดกลยุทธ์อะไรออกมาในฐานะผู้ท้าชิง
จุดเริ่มต้น ลัคกี้ สุกี้
ลัคกี้สุกี้ เกิดขึ้นจากกลุ่มเพื่อน 4 คน ที่ชอบทานสุกี้ คือ คุณรสรินทร์ ติยะวราพรรณ, คุณวิรัตน์ โรจยารุณ, คุณรุ่งทิวา วิพัฒนานันทกุล และคุณอิทธิพล ติยะวราพรรณ ร่วมกันตั้งบริษัท มิราเคิล แพลนเนท จำกัด ขึ้นมาเมื่อ 23 มิ.ย. 2564 ทั้ง 4 คนไม่เคยทำร้านอาหารมาก่อน แต่เห็นโอกาสในตลาดสุกี้บุฟเฟ่ต์ราคาย่อมเยา
จึงได้พัฒนาสูตรและทำร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์ขึ้นมา ใช้ชื่อ “ลัคกี้สุกี้” มาจากทั้ง 4 คนเชื่อว่าเมื่อลูกค้ามาทานอาหารที่ร้าน อร่อยถูกปาก ได้รับประสบการณ์ที่ดี ก็เหมือนได้โชคกลับบ้านไปด้วย
สาขาแรกเปิดให้บริการเดือน ม.ค. 2565 ที่ People Park คอมมิวนิตีมอลล์อ่อนนุช เปิดให้บริการตั้งแต่ 10.30 – 02-00 น. เจาะกลุ่มลูกค้าเลิกงานดึก ราคาบุฟเฟ่ต์หัวละ 219 บาท ทานได้ 1.45 ชั่วโมง เท่ากับราคาบุฟเฟ่ต์ร้านสุกี้ตี๋น้อย
สาเหตุที่ทั้ง 4 คนตั้งราคาบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท มองว่าเป็นราคาตลาด Mass ที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย หลังเปิดให้บริการสาขาแรก ปรากฏว่าลูกค้าไปใช้บริการอย่างล้นหลาม คนไปกินมาแล้วกลับมาบอกต่อคนอื่น กลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็ว
แต่ผู้บริหารลัคกี้สุกี้ทั้ง 4 ไม่เร่งขยายสาขาใหม่ อยากควบคุมคุณภาพ จนมาถึงเดือน ก.ย. 2565 ถึงได้เปิดสาขา 2 ที่โลตัสบางนา-ตราด และเป็นสาขาสุดท้ายของปีนั้น ทางด้านสุกี้ตี๋น้อยในตอนนั้นมี 42 สาขา ทำรายได้ถึง 3,976 ล้านบาท กำไร 591 ล้านบาท นำโด่งลัคกี้สุกี้แทบไม่เห็นฝุ่น
- ปี 2566 ลัคกี้สุกี้ เร่งสปีดขยายสาขามากขึ้น เปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 6 สาขา
- ปี 2567 เปิดสาขารัวๆ รวมทั้งหมด 15 สาขา
นับว่าขยายกิจการและสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำยอดขายได้ถึง 1,000 ล้านบาท เติบโต 148.66% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีรายได้อยู่ที่ 409 ล้านบาท กำไร 46.3 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ส่วนสุกี้ตี๋น้อย ปี 2566 ทำรายได้ 5,262 ล้านบาท กำไร 907 ล้านบาท มีจำนวนสาขาทั้งหมด 55 สาขา รายได้สาขาเกือบ 100 ล้านบาท/ปี
ถ้าเปรียบเทียบปี 2566 ลัคกี้สุกี้ มีทั้งหมด 6 สาขา จะมีผลประกอบการเฉลี่ยต่อสาขา
- รายได้เฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 68.2 ล้านบาทต่อปี
- กำไรเฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 7.7 ล้านบาทต่อปี
ทางด้านสุกี้ตี๋น้อย ปี 2566 มี 55 สาขา
- รายได้เฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 95.7 ล้านบาทต่อปี
- กำไรเฉลี่ยต่อสาขา อยู่ที่ 16.5 ล้านบาทต่อปี
แตกแบรนด์ “ลัคกี้บาร์บีคิว”
ช่วงปี 2567 ลัคกี้สุกี้ ยังออกอาวุธเด็ดด้วยการเปิดตัว “ลัคกี้บาร์บีคิว” ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างยากินิกุ ราคาหัวละ 299 บาท รวมเบ็ดเสร็จทั้งเครื่องดื่มราวๆ 362 บาท
สาขาแรกเปิดที่ Paradise Park ศรีนครินทร์ ตามด้วยโลตัสบางใหญ่, เอ็มที คูคต ไลฟ์สไตล์มอลล์, อยุธยา ซิตี้ พาร์ค, ท็อปส์ สาธุประดิษฐ์ 49 และสาขาล่าสุดต้นปี 2568 สาขาแม็คโคร จรัญสนิทวงศ์
ทำให้ปัจจุบัน ลัคกี้สุกี้มีร้านในเครือเพิ่มอีก 6 สาขา รวมทั้ง 2 แบรนด์เป็น 21 สาขา
กลยุทธ์ “ลัคกี้ สุกี้” ปี 2568
- เน้นรักษาฐานลูกค้าเก่าและขยายฐานลูกค้าใหม่พร้อมๆ กัน จัดส่งแคมเปญ THEMATIC Campaign “รักเธอไม่มีหมด” เป็นการพัฒนาด้านการให้บริการ เพื่อสร้างประสบการณ์รับประทานอาหารที่พิเศษให้ลูกค้า ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 200,000 ราย
- ออกโปรโมชั่นใหม่ๆ ทั้งการทำน้ำซุปซีซั่นนอลทุกๆ 3 เดือน หรือโปรโมชั่นราคาแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส เพื่อดึงลูกค้ามาใช้บริการซ้ำ จากปกติลูกค้าจะมาใช้บริการซ้ำ 2-3 ครั้งต่อเดือน
- ขยายสาขาภายใต้แบรนด์ “ลัคกี้” เพิ่ม 16-20 สาขา แบ่งเป็น ลัคกี้สุกี้ 60%, ลัคกี้บาร์บีคิว 40% งบลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท เน้นทำเลคอมมิวนิตี้มอลล์ ห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองต่างๆ ที่มีศักยภาพ ยังไม่ทำ Stand Alone
- ตั้งเป้ายอดขาย 2,000 ล้านบาท เติบโต 100% จากปี 2567
- เป้าหมายระยะยาว 3-5 ปี เตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์
เปรียบเทียบปัจจัยทำให้ “ลัคกี้ สุกี้” เติบโต ไม่กลัว “สุกี้ตี๋น้อย”
1. ร้านลัคกี้ตี๋น้อยเปิดในทำเลคอมมิวนิตี้มอลล์ หรือห้างสรรพสินค้า ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เปิดให้บริการ 10.30-02.00 น.
ส่วนสุกี้ตี๋น้อย เน้นเปิดสาขา Stand Alone นอกห้างสรรพสินค้า เปิดให้บริการ 11.00-05.00 น.
2. ลัคกี้สุกี้ ราคาบุฟเฟ่ต์เริ่มต้น 219 บาท
สุกี้ตี๋น้อย เริ่มต้น 219 บาท
3. ลัคกี้สุกี้ ไม่เน้นขยายสาขาเร็ว ค่อยๆ ไป เพื่อควบคุมคูภาพมาตรฐาน เริ่มขยายออกนอกกรุงเทพฯ ที่อยุธยา ปัจจุบันมี 15 สาขา
สุกี้ตี๋น้อย ขยายสาขาเร็ว ทั้งในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ปัจจุบันมี 73 สาขา
4. ลัคกี้สุกี้ เปิดตัว “ลัคกี้บาร์บีคิว” ปี 2567 บุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างบนกระทะ ราคาเริ่มต้น 299 บาท ปัจจุบันมี 6 สาขา เปิดบริการ 10.30-02.00 น.
สุกี๋ตี๋น้อย เปิดตามลัคกี้ ใช้ชื่อ “ตี๋น้อยบาร์บีคิว” ราคาเริ่มต้น 299 บาท เปิดบริการ 11.00-05.00 น.
สุดท้าย แม้ว่ารายได้และการทำกำไรของลัคกี้สุกี้ จะยังห่างสุกี้ตี๋น้อยลิบลับ อาจเป็นเพราะสุกี้ตี๋น้อยมีสาขาเยอะกว่า ทำให้ได้เปรียบในเรื่องการจัดซื้อวัตถุดิบทีละมากๆ ช่วยให้ต้นทุนต่ำ เหมือนกรณี Mixue ที่ขยายสาขาให้ได้มากๆ แต่เมื่อมาดูยอดขายลัคกี้สุกี้ปี 2567 สูงถึง 1,000 ล้านบาท เติบโต 148.66% เมื่อเทียบกับปี 2566
สะท้อนให้เห็นว่าได้กระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนที่ผู้บริหารลัคกี้สุกี้วางเอาไว้ คือ แข่งกับตัวเอง ไม่ได้แข่งกับใคร เป้าหมายสร้างความพอใจให้ลูกค้าให้ได้ ถ้าลูกค้าพอใจจะได้กลับมาใช้บริการซ้ำเรื่อยๆ หรือบอกต่อ
แหล่งข้อมูล
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)