ลงทุนไหนดี? MIXUE vs 7-Eleven สร้างรายได้ รวยรัวๆ

MIXUE กระแสยังไม่ตกในไทย สาขาน่าจะมีเกือบ 250 สาขาไปแล้ว เพราะมีคนสอบถามเรื่องการลงทุนแฟรนไชส์แทบทุกวัน ถ้าถามว่าซื้อแฟรนไชส์ MIXUE vs 7-Eleven แบรนด์ไหนน่าสนใจลงทุนมากกว่ากัน ต้องบอกก่อนว่าขึ้นอยู่ความชอบของแต่ละคน ควรนำองค์ประกอบต่างๆ มาวิเคราะห์ก่อนตัดสินใจ เพราะทั้ง 2 แบรนด์มีสินค้าและฐานกลุ่มลูกค้าต่างกัน

ก่อนอื่นมาดูก่อนว่าเปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนทั้งหมดเท่าไหร่ และคืนทุนได้เมื่อไหร่

#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน MIXUE

MIXUE vs 7-Eleven

  • ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท/ปี (3 ปี = 150,000 บาท)
  • ค่าจัดการ 25,000 บาท/ปี (3 ปี = 75,000 บาท)
  • ค่าอบรม 10,000 บาท/ปี (3 ปี = 30,000 บาท)
  • ค่าค้ำประกัน 100,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ 450,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบ 250,000 บาท
  • ค่าสำรวจพื้นที่ กรุงเทพฯ 2,500 บาท/ครั้ง, ต่างจังหวัด 5,000 บาท/ครั้ง
  • สมมติค่าก่อสร้าง+ออกแบบตกแต่งร้านประมาณ 500,000 บาท

#รวมเงินลงทุนเปิดร้านทั้งหมด 1,557,500 บาท

MIXUE vs 7-Eleven

#สมมติให้ยอดขายของ MIXUE เป็น 20,000 บาทต่อวัน เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง ลูกค้าอาจใช้บริการเยอะ

  • ยอดขาย 20,000 บาทต่อวัน
  • หรือ 600,000 บาทต่อเดือน
  • คิดกำไรขั้นต้น 40%
  • เหลือรายได้ 240,000 บาทต่อเดือน

#ต้นทุนคงที่

  • ค่าเช่าประมาณ 50,000 บาท
  • ค่าน้ำ+ไฟ 10,000 บาท
  • จ้างพนักงาน 4 คน เงินเดือนเฉลี่ยคนละ 13,000 บาท (52,000 บาท)

#รวมต้นทุนคงที่ 112,000 บาทต่อเดือน
#รายได้ต่อเดือน 240,000 บาท – ต้นทุนคงที่ 112,000 บาท
#เหลือกำไร 128,000 บาทต่อเดือน (กำไรที่ได้ยังไม่ได้หักค่าภาษีป้าย+ภาษีโรงเรือน+ค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์)

สรุปก็คือ เปิดร้าน MIXUE ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,557,500 บาท ระยะสัญญา 3 ปี

ระยะเวลาคืนทุน 1,557,500 บาท หารด้วยกำไรสุทธิ 128,000 บาท = 12-13 ดือน


#ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน 7-Eleven

ก่อนอื่นมาดูสัดส่วนรายได้ในร้าน 7-Eleven แบ่งออกเป็นสินค้าอุปโภค 24% ที่เหลือ 76% เป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม แต่ละสาขาของ 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท ยอดซื้อต่อบิล 85 บาท มีจำนวนลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 1,007 คน

การเปิดแฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven หรือการเป็น Store Business Partner มีให้เลือก 2 รูปแบบ

#รูปแบบที่ 1

  • เงินลงทุน 4.8 แสนบาท
  • เงินประกัน 1 ล้านบาท

รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven ประมาณ 1.48 ล้านบาท อายุสัญญา 6 ปี

Store Business Partner เข้าไปเป็นผู้จัดการร้าน มีเงินเดือน 29,000 บาท ต้องบริหารค่าใช้จ่ายให้ได้ตามงบ ย้ำว่าค่าใช้จ่ายไม่ใช่ยอดขาย ค่าใช้จ่ายก็มี ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์หลัก และอื่นๆ

ถ้าบริหารร้านได้ตามเป้างบค่าใช้จ่าย จะมีปันผลแบ่งยอดกำไรจากการขายให้ 20-30% ในส่วนที่มียอดขายเกินเป้า

#รูปแบบที่ 2

  • เงินลงทุน 1.73 ล้านบาท
  • เงินประกัน 9 แสนบาท

รวมแล้วต้องมีเงินให้กับทาง 7-Eleven = 2.63 ล้านบาท อายุสัญญา 10 ปี

ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)

การเป็น Store Business Partner ทั้ง 2 รูปแบบ ผู้ลงทุนไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า วัสดุอุปกรณ์ และการก่อสร้างออกแบบตกแต่งร้าน ทางซีพีออลล์เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด รวมถึงค่าเช่า ภาษีป้าย ภาษีที่ดิน และอื่นๆ

เปิดร้าน 7-Eleven จำนวน 1 สาขา คืนทุนเมื่อไหร่

ยกตัวอย่างการเป็น Store Business Partner รูปแบบที่ 2 จากการสอบถามคนลงทุนจริงๆ ใช้เงินลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven ประมาณ 3,900,000 บาท (สูงกว่าตัวเลข 2.63 ล้านบาท ที่ทางซีพีออลล์ระบุเอาไว้ในเว็บไซต์)

  • ได้ส่วนแบ่งจากกำไร 54% (ยังไม่ได้หักค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน และอื่นๆ ในร้าน)
  • ตัวเลขสถิติร้าน 7-Eleven มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน = 86,656 บาท
  • ยอดขายต่อเดือน = 2,599,680 บาท
  • กำไรธุรกิจค้าปลีกประมาณ 15%

เมื่อนำยอดขายมาหัก 15% ออกก็จะเหลือรายได้ 389,952 บาท/เดือน/สาขา (ยังไม่หักค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ)

#ค่าใช้จ่ายในร้าน

  • ค่าจ้างพนักงาน 8 คน = 104,000 บาท/เดือน (เฉลี่ย 13,000 บาท/คน)
  • ค่าน้ำ+ค่าไฟ 50,000 บาท/เดือน
  • สินค้าหมดอายุ+อุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด 20,000 บาท/เดือน
  • รวมค่าใช้จ่ายในร้านเฉลี่ยต่อเดือน = 174,000 บาท

#กำไรสุทธิต่อเดือน 389,952 – 174,000 = 215,952 บาท

#Store Business Partner มีส่วนแบ่งจากกำไร 54% = 116,614 บาท/เดือน (ยังไม่หักเงินเดือนตัวเอง)

  • ระยะเวลาสัญญา 10 ปี

งบลงทุน 3,900,000 บาท หารด้วยรายได้สุทธิต่อเดือน 176,614 บาท = คืนทุน 22 เดือน


ลงทุนไหนดี? MIXUE vs 7-Eleven มาวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียกัน

#MIXUE

MIXUE vs 7-Eleven

ข้อดี

  1. กระแสแรง – MIXUE กระแสแรงได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น ราคาโดนใจ 15-50 บาท
  2. ลงทุนต่ำ – ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.5 ล้านบาท ถูกกว่า 7-Eleven
  3. มีโอกาสเติบโต – ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟและชาผลไม้ในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีก

ข้อเสีย

  1. การแข่งขันสูง – ปัจจุบันมีคู่แข่งในตลาดไอศกรีมและชาผลไม้มากมาย อาทิ Ai-Cha, WEDRINK, Bing Chun, แดรี่ควีน, แมคฯ, เคเอฟซี และร้านชาผลไม้จีนอีกหลาย 10 แบรนด์ในไทย ไม่นับสาขา MIXUE ด้วยกันเอง
  2. กระแสอาจลดลงในอนาคต – คนไทยมักเห่อของใหม่ พออีกสักพักจะเบื่อ ในอนาคตสินค้าไอศกรีมและชาผลไม้อาจตกกระแส เพราะการแข่งขันสูง มีหลายแบรนด์ให้เลือกกิน หากเปิดร้านอาจมีความเสี่ยงก็เป็นได้

#7-Eleven

ข้อดี

  1. แบรนด์แข็งแกร่ง – มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและมีความเชื่อถือจากลูกค้า เป็นร้านสะดวกซื้อเบอร์ 1 ของไทยและทั่วโลก
  2. ทำเลที่ตั้ง – มีสาขามากมายกว่า 14, 000 แห่ง ทำให้เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและสะดวก มีฐานลูกค้ารองรับทั่วประเทศ
  3. สินค้าหลากหลาย – มีสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทั้งสินค้าอุปโภค-บริโภค การันตีมียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 86,656 บาท
  4. เปิด 24 ชั่วโมง – สามารถทำเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสีย

  1. การลงทุนสูง – การลงทุนเปิดร้านใช้เงิน 3.2-3.9 ล้านบาทในรูปแบบที่ 2 สูงกว่าลงทุน MIXUE
  2. การแข่งขันจากร้านสะดวกซื้ออื่นๆ – เช่น CJ, มินิบิ๊กซี, โลตัส, Tops Daily, Lawson รวมถึงสาขา 7-Eleven ด้วยกันเอง

สรุปคือ หากคุณชอบกระแสแรงของตลาดไอศกรีมและชาผลไม้ ใช้เงินลงทุนต่ำ อาจเลือกเปิดร้าน MIXUE แต่ถ้าต้องการความมั่นคง แบรนด์มีชื่อเสียง มีฐานลูกค้าทั่วประเทศ การลงทุนเปิดร้าน 7-Eleven น่าจะเหมาะสมกว่า แต่ต้องดูแนวโน้มตลาดและสถานการณ์ให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช