ลงทุนอะไรถึงจะรวย! หลังโควิด คลี่คลาย

แม้ว่าโควิดจะเริ่มคลี่คลายแต่สิ่งที่ฝากไว้ก็คือ “แผลเป็น” ทางเศรษฐกิจ ทั้งหนี้ภาครัฐ หนี้ครัวเรือน ที่เพิ่มขึ้นมาก รวมไปถึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ คาดการณ์ว่าปี 2564 นี้เศรษฐกิจไทยจะโตในระดับ 1-2% หรืออาจจะน้อยกว่านี้

ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าผลกระทบอีกอย่างของการแพร่ระบาดโควิด คือทำให้คนส่วนใหญ่ไม่กล้าควักเงินลงทุนด้วยไม่มั่นใจว่า โควิดจะกลับมาระบาดหนักอีกเมื่อไหร่

สิ่งที่กลัวคือทุนหายกำไรหด จากเงินที่ไม่ค่อยมีจะยิ่งจนมากขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้ก่อให้เกิดคำถามว่าถ้าเรามีเงินไม่เยอะ ทุนน้อย หรืออยากลงทุนในช่วงหลังโควิดคลี่คลายแบบนี้ธุรกิจไหนที่น่าจะสร้างรายได้ที่ดี ไม่มีความเสี่ยงมากเกินไป

มองภาพรวมมีกลุ่มธุรกิจไหนที่เป็นดาวรุ่งในช่วงนี้บ้าง??

หลังโควิดเริ่มคลี่คลายเราจะเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่ก็ใช่ว่าธุรกิจทุกประเภทตอนนี้จะน่าสนใจลงทุนทั้งหมด ลองมาดูภาพรวมก่อนว่าอันไหนฟื้นตัวเร็วสุด อันไหนยังไม่ฟื้นตัวในช่วงนี้

1. กลุ่มธุรกิจที่ฟื้นแล้ว

ลงทุนอะไร

ภาพจาก https://bit.ly/3AbrYho

คือกลุ่มอาหาร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ยางพารา อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ธุรกิจด้านสุขภาพ ไอที มีการส่งออกที่ดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงพฤติกรรม Social Distancing, Work from Home, การซื้อขายสินค้าออนไลน์ และการดูแลสุขภาพที่มากขึ้น

2. กลุ่มธุรกิจกำลังฟื้น

9

ภาพจาก https://bit.ly/3Dec4Vi

ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ เครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ บริการธุรกิจ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์เกษตร พลังงาน รับเหมาก่อสร้าง โดยกลุ่มนี้มีทิศทางฟื้นตัวตามทิศทางการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ที่คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจากการส่งออกและมาตรการการช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐ

3. กลุ่มธุรกิจที่ยังไม่ฟื้น

8

ภาพจาก www.freepik.com

ได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งนับว่าเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอันดับแรกและหนักที่สุด รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจอื่นๆ อีกมากที่ยังไม่ฟื้นตัว เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ อสังหาริมทรัพย์ เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแฟชั่น สินค้าบริการและสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อที่ลดลง

7 ธุรกิจที่ลงทุนแล้วรวย! หลังโควิด คลี่คลาย

ในแง่มุมของการลงทุนควรเลือกเอาธุรกิจที่เป็นวิถีชีวิตใหม่ เพื่อต่อจากนี้พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปสิ้นเชิง โดยมีธุรกิจที่น่าสนใจดังนี้

1.ปลูกพืชผลิตเอทานอล

7

ภาพจาก https://bit.ly/3lcTE0U

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกไร่อ้อยกว่า 12 ล้านไร่ อันดับ 1 คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคเหนือ อ้อยเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเอทานอล ซึ่งใช้ผลิตแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อได้ โดยเราสามารถใช้ได้ตั้ง ต้น ก้าน ใบ เพื่อมาผลิตเอทานอล รวมถึงพืชอื่นๆ ที่ปลูกเพื่อผลิตเอทานอลได้ดี ได้แก่ มันสำปะหลัง, มะพร้าว, ข้าวฟ่าง, ข้าวโพด

2.ธุรกิจอาหารแปรรูป

6

ภาพจาก bit.ly/3mn4mRX

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ว่า โควิดกระตุ้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสร้างโรงงานแบบลดการใช้คนมากขึ้น แม้ว่าอนาคตอาจจะลดจำนวนคนในโรงงานลง แต่การผลิตอาหารก็ต้องผลิตให้สอดคล้องกับระดับความต้องการของผู้บริโภค และการทำอาหารแปรรูปเพื่อยืดอายุจัดเก็บ ก็จำเป็นสำหรับอนาคตที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะมีโรคระบาดแบบไหนมาอีก

3.ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์สื่อสาร

5

ภาพจาก www.freepik.com

เมื่อผู้คนยังลังเลที่จะเดินทาง การโทรศัพท์ แชต หรือใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกันจะมากขึ้นเป็นพิเศษ ส่งผลให้อุปกรณ์สื่อสารเสื่อมอายุการใช้งานไปเรื่อยๆ รวมถึงอุปกรณ์ไอทีถูกนำมาใช้กับการเรียนออนไลน์ มีความต้องการใช้สูงในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา

4.คอร์สเรียนออนไลน์

4

ภาพจาก www.freepik.com

ผู้ที่มีความสามารถหลายด้านสามารถใช้โอกาสนี้มาเปิดคอร์สสร้างรายได้ให้กับตัวเอง เช่น เปิดกลุ่มออนไลน์ เพื่อขายคอร์สเรียนออนไลน์ สอนภาษาอังกฤษ สอนเทคนิคการลงทุน สอดคล้องกับช่วงที่ผู้คนหันมาเพิ่มทักษะให้ตัวเองเมื่อต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานๆ

5.ธุรกิจเพื่อสุขภาพ

3

ภาพจาก www.freepik.com

การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้คนจึงหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้นเพื่อที่จะได้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ซึ่งธุรกิจเพื่อสุขภาพที่น่าลงทุนหลังโควิควรเป็นธุรกิจประเภท อาหารเสริม, อาหารคลีน ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายแบรนด์ที่เริ่มจับเทรนด์เพื่อสุขภาพเหล่านี้และผลิตสินค้าออกมาวางจำหน่ายและเชื่อว่าต่อจากนี้จะยิ่งมีการแข่งขันที่มากยิ่งขึ้น

6.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ

2

ภาพจาก www.freepik.com

ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิดเทรนด์ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ ก็ถือว่า กำลังเป็นกระแส พอมีการระบาดของโควิดทำให้คนยิ่งหันมาสนใจ และใส่ใจการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น เช่น การจำหน่ายอาหารเสริม อาหารเพื่อสุขภาพ อุปกรณ์ออกกำลังกาย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคติดต่อ บริการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุต่าง ๆ รวมไปถึงคอร์สออกกำลังกาย ประกันสุขภาพ และบริการออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่าง ๆ

7.บริการจัดส่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่

1

ภาพจาก www.freepik.com

ก่อนช่วงการระบาดของโควิดการให้บริการเดลิเวอรี่ก็มีการพูดถึงมาก แต่พอมีการแพร่ระบาดยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ธุรกิจเดลิเวอรี่เฟื่องฟูถึงขีดสุด ซึ่งข้อดีของธุรกิจประเภทนี้คือ ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านที่ให้ลูกค้าเข้ามานั่งทานอาหาร ขอเพียงมีหน้าร้านออนไลน์ และรู้จักวิธีการทำการตลาดออนไลน์ ดังนั้น ธุรกิจการจัดส่งอาหารเดลิเวอรี่ จึงมีความน่าสนใจมากและคาดว่านับจากนี้จะยิ่งเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

สำหรับการลงทุนในธุรกิจเหล่านี้บางอย่างอาจต้องการเงินทุนสูง แต่สำหรับคนที่เงินทุนน้อย ไม่มีประสบการณ์อาจเริ่มจากการลงทุนในแบบแฟรนไชส์ที่ให้งบเริ่มต้นน้อยกว่าการลงทุนด้วยตัวเอง แถมแฟรนไชส์ยุคนี้ยังมีทีมงานคุณภาพ มีบริการสนับสนุนผู้ลงทุนเป็นอย่างดี เพิ่มโอกาสให้เราประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3uHxdEs

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด