ลงทุนหุ้นธุรกิจ SME อย่างไร ให้สร้างผลตอบแทน

ในการลงทุนยุคปัจจุบัน เชื่อว่าใครหลายๆ คนกำลังมองหาทางเลือกที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดี หรือสามารถเป็น passive income ได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว การลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงไม่จำเป็นต้องลงทุนกับบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสมอไป www.ThaiSMEsCenter.com มองว่า

การลงทุนในธุรกิจ SME ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถให้ผลตอบแทนสูงได้ เนื่องจากธุรกิจ SME มีจุดเด่นคือ สามารถเติบโตไปได้อีกไกล และมีความกระชับฉับไวในการวางกลยุทธ์การบริหารงานหรือปรับโครงสร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและการเติบโตของผลประกอบการ ด้วยจุดเด่นนี้เอง ทำให้ปัจจุบันนักลงทุนได้หันมาลงทุนกับบริษัทที่เป็น SME มากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของ trading.in.th ได้วิเคราะห์วิธีการลงทุนในธุรกิจ SME ในรูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจไว้ดังนี้

1. Angel Investment

Angel Investment หรือ การลงทุนที่นักลงทุนเป็นบุคคลธรรมดา หรือที่เรียกว่า Angel Investor ซึ่ง Angel Investor จะลงทุนโดยตรงในธุรกิจที่มีขนาดเล็กหรือเพิ่งเริ่มต้น แต่มีความน่าสนใจ และมักจะยังไม่ได้มีการลงทุนจาก Venture Investor หรือนักลงทุนที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ โดย Angel Investor มักจะมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์การบริหารงานของบริษัทด้วย

ดังนั้น นักลงทุนประเภทนี้จึงรู้ทิศทางของธุรกิจที่ตนเองได้ลงทุนไป และสามารถควบคุมการลงทุนของตนเองตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการลงทุนประเภทนี้คือ ต้องเลือกบริษัทที่สามารถเติบโตได้ดีในอนาคต มิฉะนั้นแล้วเงินที่ลงทุนไปอาจศูนย์เปล่า หรือทุนจมเป็นเวลาหลายปีได้

ลงทุนหุ้นธุรกิจ

Angel Investor เป็นได้อย่างไร?

การที่นักลงทุนทั่วไปจะก้าวเป็น Angel Investor หรือลงทุนแบบ Angle Investment ได้อย่างมั่นใจและสร้างผลตอบแทนได้นั้น ควรจะต้องมีความรู้หรือประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจมาก่อน เพราะจะทำให้สามารถวิเคราะห์ธุรกิจที่ตนเองเลือกลงทุนได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจได้เมื่อต้องเข้ามามีส่วนในการบริหารกิจการนั้นๆ

ซึ่งการมีส่วนร่วมในการบริหารก็มีหลายระดับ ตั้งแต่ไม่เข้ามามีส่วนรวมเลยจนถึงเข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำในทุกโครงการ เพราะฉะนั้น เราจะเห็นว่าส่วนมากนักลงทุนที่เป็น Angel Investor มักจะเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัวหรือผู้บริหารที่เกษียณอายุแล้ว แต่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ นักลงทุนกลุ่มนี้ยังมักจะเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น หมอหรือทนายความ เป็นต้น

ดังนั้น นักลงทุนท่านที่สนใจจะก้าวสู่การเป็น Angel Investor จึงควรจะต้องทำการ checklist เสียก่อนว่าตนเองยังมีคุณสมบัติใดที่ยังไม่ครบพร้อมรึยัง เพราะหากลงทุนไปโดยที่ขาดความพร้อม ท่านอาจจะมีความเสี่ยงสูงในการขาดทุนหรือทุนจมได้ ซึ่งจริงๆ แล้ว นักลงทุนส่วนใหญ่สามารถเป็น Angel Investor ได้ เพียงแต่ต้องเตรียมความพร้อมของตนเองให้มากที่สุดเท่านั้นเอง

ในส่วนของผลตอบแทน เนื่องจาก Angel Investment มีความแตกต่างกับการลงทุนแบบ trading คือ ผู้ที่เป็น Angel Investor จะลงทุนทั้งเงิน กำลังกาย และความสามารถในการบริหารกิจการ ดังนั้น ผลตอบแทนสำหรับ Angel Investment จึงมักไม่ใช่แค่ผลกำไร แต่เป็นความสำเร็จและการเติบโตของธุรกิจด้วย และในบางครั้งอาจมีการคาดหวังในการให้ SME นั้นๆ ได้เข้าสู่ตลาดหุ้น หรือมีกิจกรรมทางการเงินอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจนั้น เพราะฉะนั้น นอกจากผลกำไรจากการประกอบการแล้ว ความสำเร็จและมูลค่าของกิจการที่เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของ Angel Investor ด้วย และจะนำซึ่ง passive income หรือการเป็น Value Investor (VI) ในอนาคตต่อไปด้วย

2. Alternative Investment Market

Alternative Investment Market หรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกโดยซื้อขายผ่านทางโบรกเกอร์ การ trading ในลักษณะนี้ คือการซื้อหุ้นธุรกิจ SME ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ข้อดีคือนักลงทุนสามารถเลือก trading ได้ทั้งที่เป็น Equity Investment หรือตราสารทุน หรือ Debt Investment หรือตราสารหนี้ การลงทุนทั้ง 2 แบบนี้จะให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักลงทุนว่าชอบการ trading แบบใด โดย Equity Investment จะให้ผลตอบแทนในรูปของกำไร ในขณะที่ Debt Investment จะให้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย

สำหรับ ธุรกิจ SME ที่น่าลงทุน trading ในปัจจุบัน เพราะมีอัตราการเติบโตหรือแนวโน้มในการให้ผลตอบแทนสูงในปัจจุบัน ได้แก่

1) SME ที่ประกอบธุรกิจประเภท Safe Haven

โดยทั่วไปแล้วสินทรัพย์ประเภท Safe Haven ได้แก่ ทองคำและอสังหาริมทรัพย์ สาเหตุที่สินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภทนี้ได้ชื่อว่าเป็น Safe Haven ของนักลงทุน เพราะมูลค่าของมันจะเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลานั่นเอง ในการ trade ในธุรกิจ SME เราจะกล่าวถึงเฉพาะสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากทองคำเป็น commodity และมีรูปแบบการ trade ที่รองรับอยู่ในตลาดอยู่แล้ว เช่น gold futures ซึ่งไม่ได้เป็นไปในลักษณะธุรกิจ SME

ในการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนโดยทั่วไปมักจะซื้อที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรืออาคารพาณิชย์ไว้ เพื่อรอให้ได้ผลตอบแทนที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้ ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก แตกต่างกับการ trading ที่ใช้เงินทุนน้อยกว่าและใช้ระยะเวลาในการสร้างผลตอบแทนสั้นกว่า โดยเฉพาะการ trade ในธุรกิจ SME ที่ประกอบกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่นักลงทุนสามารถเลือกประเภทอสังหาริมทรัพย์ได้ตามความชอบและสไตล์การลงทุน และสามารถเลือกได้ทั้ง Equity Investment และ Debt Investment

นอกจากนีนักลงทุนยังสามารถเลือก trade ในธุรกิจ SME ที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่าง เช่น อสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว หรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพานิชย์เพียงอย่างเดียว หรือประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์หลายประเภทรวมกันก็ได้ ซึ่งข้อดีคือนักลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงจากภาวะตลาดขาลงที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงได้

ตัวอย่างเช่น การเติบโตของธุรกิจออนไลน์อาจส่งผลต่อการเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารพาณิชย์ เพราะการซื้อขายออนไลน์ไม่จำเป็นต้องมี physical showroom ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์ประเภทคลังสินค้า (warehouse) อาจจะเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้พื้นที่เก็บสต็อกสินค้าร่วมกันของร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้น การลงทุนในหุ้นธุรกิจ SME ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์จึงมีความน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

2) SME ที่ประกอบธุรกิจประเภท Technology

SME ประเภทนี้ได้แก่ บริษัทที่ให้บริการด้าน hardware, software และ IT infrastructure เนื่องจาก technology ได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และการพัฒนาและความก้าวหน้าของ technology ทำให้อัตราการบริโภคและสภาพคล่องมีสูงขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมนี้ยังสามารถเติบโตได้อีกและมีความต้องการรองรับในเกือบทุก segment ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม (manufacturing) การค้าปลีก (retailing) หรือการบริโภคส่วนตัว (personal use) ซึ่งการ trading ก็มีทั้งลักษณะ Equity Investment และ Debt Investment โดยผ่านโบรกเกอร์เป็นตัวกลาง

ในส่วนของการเลือกโบรกเกอร์สำหรับ trade อุตสาหกรรมประเภทนี้ คือโบรกเกอร์รายนั้นๆ จะต้องมีความน่าเชื่อถือและมีบทวิเคราะห์ไว้บริการ เนื่องจากธุรกิจประเภท technology จะแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์ที่มี product life cycle สั้นกว่า เพราะมีการพัฒนาต่อเนื่องเสมอ ดังนั้น บทวิเคราะห์เกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับนักลงทุนในการวิเคราะห์สภาพตลาดและบริษัทที่ลงทุนไป นอกจากนี้นักลงทุนควรจะศึกษาผลิตภัณฑ์คู่แข่งให้ดี เพราะการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้

นอกจากบริษัทคู่แข่งแล้ว ผลิตภัณฑ์คู่แข่งก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจด้วย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์คู่แข่ง เช่น โทรศัพท์มือถือ vs. กล้องถ่ายรูป (เพราะปัจจุบันกล้องถ่ายรูปมือถือมีประสิทธิภาพมากขึ้นและถูกนำมาใช้เป็นจุดขาย) หรือ flash drive vs. cloud server (ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาบันทึกเอกสารและงานต่างๆ ทาง server มากขึ้น เพราะความสะดวกในการทำงานและแก้ไขเอกสารร่วมกัน) ดังนั้น หากโบรกเกอร์มีบทวิเคราะห์ที่ทันต่อเหตุการณ์ ก็จะช่วยให้นักลงทุนเข้าใจในกิจการ SME ที่ตนเองกำลังลงทุนอยู่ได้มากขึ้น

3. Crowdfunding

Crowdfunding หรือการระดมทุน การลงทุนในลักษณะนี้จะเหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนหรือสนับสนุนธุรกิจ SME นั่นๆ แต่มีเงินทุนไม่มากนัก จึงมีการระดมทุนจากนักลงทุนที่สนใจ เพื่อให้มีเงินทุนมากพอในการสนับสนุนธุรกิจ SME นั้นๆ นั่นเอง ดังนั้น Crowdfunding จึงเป็นการลงทุนที่เกิดจากนักลงทุนหลายๆ คนร่วมกัน

ซึ่งการระดมทุนมักจะผ่านตัวกลาง หรือมีแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ผู้ระดมทุนกับนักลงทุนได้มาเจอกัน ซึ่งในหนึ่งกิจการอาจมีนักลงทุนหลายคนร่วมเงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจ SME นั้นๆ มีเงินทุนสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสประสบความสำเร็จหรือเติบโตมากขึ้นได้ ลักษณะของ Crowdfunding เพื่อการลงทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

3

1) Reward-based Crowdfunding

การระดมทุนประเภทนี้ คือ การระดมทุนที่คล้ายกับการบริจาค แตกต่างกันที่ว่าการระดมทุนเพื่อการบริจาค (Donation-based Crowdfunding) จะเป็นการระดมทุนแบบให้เปล่า คือจะไม่มีสิ่งตอบแทนให้นักลงทุน แต่ Reward-based Crowdfunding จะมีสิ่งของให้เป็นรางวัลแก่นักลงทุน ตัวอย่างเช่น บางองค์กรอาจจะมีการออกแบบเสื้อยืด เข็มกลัด ตุ๊กตา หรือของที่ระลึกอื่นๆ ออกมาเป็นรางวัล เพื่อการระดมทุนโดยแลกกับเงินที่นักลงทุนให้ ซึ่งอาจจะจำกัดหรือไม่จำกัดราคาของรางวัลนั้นก็ได้ หรืออาจจะเป็นการให้พอยท์หรือแต้มแพื่อแลกสิทธิพิเศษต่างๆ ดังนั้น การระดมทุนลักษณะนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน แต่จะได้เป็นสิ่งของหรือสิทธิพิเศษต่างๆ แทน

2) Investment-based Crowdfunding

การระดมทุนในลักษณะนี้ คือ การระดมทุนเพื่อการลงทุน ซึ่งการระดมทุนในรูปแบบนี้เป็นที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนมากที่สุด โดยผู้ลงทุนจะได้รับหุ้นและได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้นนั้น Investment-based Crowdfunding สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

(1) Equity crowdfunding หรือการระดมทุนด้วยการออกหุ้น

โดยนักลงทุนจะได้ร่วมเป็นเจ้าของกิจการในฐานะ “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทนเป็นกำไร หรือเป็นเงินปันผล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลประกอบการและนโยบายของบริษัทนั้นๆ

(2) Debt crowdfunding หรือการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้

ซึ่งผู้ระดมทุนหรือเจ้าของธุรกิจจะนำธุรกิจของตนเองมาขอระดมทุนโดยผ่านตัวกลางหรือแพลตฟอร์ม ที่ทำหน้าที่คล้ายกับตลาดให้นักลงทุนได้มาเจอกับผู้ระดมทุน และสามารถเลือกลงทุนได้ โดยผู้ระดมทุนจะอยู่ในสถานะ “ลูกหนี้” และผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะเป็น “เจ้าหนี้” โดยผู้ลงทุนจะเป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นสิ่งตอบแทน การระดมทุนรูปแบบนี้เป็นที่นิยมของเจ้าของกิจการหรือผู้ระดมทุน เพราะเจ้าของกิจการยังคงความเป็นเจ้าของได้ และจ่ายเพียงแค่ผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งลักษณะเหมือนกับการกู้เงินนั่นเอง เพียงแต่เป็นการกู้เงินจากผู้ลงทุนหลายๆ คน ไม่จำเป็นต้องผ่านธนาคาร

(3) Peer-to-peer Lending คือการระดมทุนแบบกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลกับบุคคลกันโดยตรง

โดยมี แพลตฟอร์มกลางให้ผู้ให้กู้กับผู้กู้มาเจอกัน ซึ่งแพลตฟอร์มกลางมักจะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินทุนจากผู้ให้ยืมตามจำนวนที่ผู้กู้ต้องการ และส่งให้กับผู้กู้ โดยผู้กู้มีหน้าที่รับผิดชอบจ่ายเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ อย่างไรก็ตามการกู้เงินในลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงที่ผู้กู้จะผิดนัดชำระหนี้ได้ ทว่ามีจุดเด่นคือเป็นการกู้ยืมเงินโดยไม่มีคนกลาง จึงสามารถให้อัตราดอกเบี้ยที่ดีกว่ากับผู้ให้กู้ได้

สรุป

เมื่อนักลงทุนได้เห็นข้อดีและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากธุรกิจ SME แบบนี้แล้ว เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงเริ่มวางแผนในการ trading อยู่ในใจแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้นักลงทุนทุกท่านพึงระวังความเสี่ยงจากการลงทุนไว้เสมอ และติดตามสภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงจากการ trading ให้น้อยที่สุด

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต