ร้านอาหารไทย หมดแรง กำลังซื้อหด ต้นทุนสูง ปิดตัวเกินครึ่ง!
เศรษฐกิจทรุดหนัก กระทบห่วงโซ่ ร้านอาหารไทย หลังกำลังซื้อผู้บริโภคลดลง ทำธุรกิจร้านอาหารระดับรากหญ้าอยู่ลำบาก ลูกค้าหาย นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่มี วัตถุดิบแพง เดลิเวอรี่หดตัว คาดสิ้นปี 67 สตรีทฟู้ดปิดตัว 30-40%” สมาคมภัตตาคารไทยแนะผู้ประกอบการร้านอาหารของไทย เร่งปรับตัว บริหารต้นทุนวัตถุดิบ ทำการตลาดออนไลน์ทุกช่องทาง ประคองร้านอาหารไทย ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ
คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ ร้านอาหารไทย ปี 2567 ธุรกิจร้านอาหารในไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่อย่างมาก จากปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
ทางสมาคมฯ ได้พยายามหาทางช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นสมาชิกทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาดออนไลน์ทุกช่องทาง เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นความเคลื่อนไหวของร้านอาหาร เห็นเมนูใหม่ๆ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ดึงดูดผู้บริโภค
ในส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าไฟขึ้น ทางสมาคมฯ ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ ทำได้เพียงแค่หาทางช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารให้อยู่รอดและเดินหน้าต่อไปได้ เพราะแม้ว่ากำลังซื้อผู้บริโภคจะลดลง แต่ร้านอาหารเป็นปัจจัยสี่ที่ทุกคนต้องกินขาดไม่ได้
สำหรับร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ มีทั้งร้านขนาดเล็กและร้านขนาดใหญ่ ถ้าเป็นร้านเล็กก็จะเป็นสตรีทฟู้ดที่ได้รับผลกระทบยอดขายตก ร้านอาหารเหล่านี้จะมีทุนไม่มาก ถ้าขายไม่ได้จะอยู่ได้เพียงแค่ 1-2 อาทิตย์
หลังจากนั้นก็ต้องปิดร้านไปเลย ประกอบกับร้านสตรีทฟู้ดยังเจอปัญหาอุปสรรคในเรื่องฝนตกในแต่ละวันอีกด้วย ลูกค้าหันไปกินข้าวที่บ้าน ในส่วนร้านอาหารขนาดใหญ่ 10-20 โต๊ะ อาจจะพออยู่ได้ เพราะมีทุนหนา ส่วนร้านที่มีห้องจัดเลี้ยงอาจต้องปิดให้บริการบางส่วน ในเวลานี้ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องมีวิธีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตัวเองไปก่อน
“ร้านอาหารที่ลำบากมากส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารระดับรากหญ้า สายป่านไม่มี ทำยอดขายไม่ได้ ร้านเหล่านี้จะขาดทุนได้ประมาณ 1-2 อาทิตย์ก็ปิดกิจการ ส่วนร้านอาหารระดับกลางๆ สามารถเอาตัวรอดประคับประครองตัวต่อไปได้”
วิกฤตร้านอาหารกระทบผู้เลี้ยงปลากะพง
คุณฐนิวรรณ กล่าวต่อว่า ที่เห็นใจมากๆ ก็คือร้านอาหารที่อยู่ในต่างจังหวัด ยอดขายน่าจะไม่มี เพราะกำลังซื้อของผู้บริโภคหายไปเลย คนหันไปกินข้าวที่บ้านกันเป็นส่วนใหญ่ จากแต่ก่อนกินข้าวนอกบ้านอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง หมุนเวียนร้านนู้นร้านนี้กันไป อีกทั้งมีร้านอาหารให้เลือกเยอะแยะ พอผู้บริโภคลดการไปกินข้าวนอกบ้านก็ได้รับผลกระทบทันที
นอกจากนี้ วิกฤตธุรกิจร้านอาหารในไทยยังลามไปกระทบเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพงอีกด้วย เพราะร้านอาหารส่วนใหญ่จะมีเมนูชูโรงเป็นปลากะพง เช่น ปลากะพงทอดน้ำปลา ปลากะพงนึ่งมะนาว ปลากะพงนึ่งซีอิ้ว
แต่ตอนนี้ร้านอาหารขายไม่ได้ก็ส่งผลกระทบไปยังผู้เลี้ยงปลากะพงอีกด้วย ประกอบกับมีการนำเข้าปลากจากมาเลเซียที่มีราคาถูก เหมือนสินค้าผลไม้ราคาถูกจากจีน ทำให้ร้านอาหารต่างๆ หาซื้อวัตถุดิบที่มีราคาถูกลง จึงส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทย
“เศรษฐกิจทรุด ห่วงโซ่ธุรกิจร้านอาหารกระทบหนัก หลังกำลังซื้อลด คาดสิ้นปี 2567 ร้านอาหารปิดตัวพุ่ง”
คุณฐนิวรรณ กล่าวต่อว่า วิกฤตร้านอาหารไม่ได้มีผลกระทบในไทยอย่างเดียว ในต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ยกกรณีในจีน ร้านอาหารได้รับผลกระทบเพราะคนจีนหันไปทานข้าวที่บ้าน และจากการได้คุยกับไกด์ทัวร์จีน เขาบอกอย่าไปคาดหวังกับนักท่องเที่ยวคนจีนมาก เพราะเศรษฐกิจจีนก็ไม่ดี คนจีนมาเที่ยวก็ไม่ค่อยใช้เงินเหมือนแต่ก่อน
หาแหล่งวัตถุดิบราคาถูก สร้างตัวตนบนออนไลน์
สำหรับแนวทางการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอดต่อจากนี้ จากข้อมูลร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหันมารักษากระแสเงินสด ตั้งแต่ช่วงปี 2565 จนถึงปลายปี 2566 มองว่าปีที่แล้วมันน่าจะดีทั้งปี ผู้ประกอบการร้านอาหารบางรายเริ่มใช้หนี้ช่วงโควิดกันเกือบหมดแล้ว ตอนนี้ทุกคนต่างรัดเข็มขัด หาซัพพลายเออร์ที่มีราคาถูกและมีเครดิต ผู้ประกอบการร้านอาหารจะต้องเปิดใจหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกและมีเครดิต
จากแต่ก่อนจะมีแหล่งวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์เจ้าเดิมๆ จากนี้ลองหาซัพพลายเออร์ที่ขายราคาถูกลงดูบ้าง เปรียบเทียบกันหลายๆ เจ้า รวมถึงมีการบริหารจัดการต้นทุน ไม่จ้างคนเพิ่ม รู้จักเรียนรู้เรื่องการทำตลาดสมัยใหม่ ทั้งออนไลน์ โซเชียลฯ หาวิธีทำให้ลูกค้ารู้จักและจดจำร้านอาหารของตัวเองได้ หรือหาเมนูโปรโมชั่นที่คิดว่าผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มค่า
“ผู้ประกอบการร้านต้องพยายามทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน แค่ทำอาหารให้อร่อย มีทำเลที่จอดรถอย่างเดียวไม่ได้ สมัยนี้ไม่มีที่จอดรถก็ได้ แต่ต้องมีวิธี มีกลยุทธ์ดึงดูดให้ลูกค้าอยากมากินอาหารร้านคุณให้ได้ บริหารจัดการให้รอบด้าน”
วัตถุดิบแพง ลูกค้าหาย คาดสิ้นปี 67 สตรีทฟู้ดปิดตัว 30-40%
อ.สุภัค หมื่นนิกร ทายาทรุ่นที่ 2 แฟรนไชส์สยามสะเต๊ก และ ผู้ก่อตั้งสถาบันธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร ( FFI ) เปิดเผยว่า สถานการณ์ธุรกิจร้านอาหารของไทยในปี 2567 ค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะตลาดร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ด ลูกค้าหายหมด ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศน้อย ไม่มีการลงทุนต่างชาติ ไม่มีเงินใหม่ๆ ไหลเข้าประเทศ ทำให้ธุรกิจระดับรากหญ้าอยู่ลำบาก อีกทั้งวัตถุดิบแพง เดลิเวอรี่หดตัว คาดสิ้นปี 2567 ร้านอาหารสตรีทฟู้ดปิดตัว 30-40%
ส่วนร้านอาหารในศูนย์การค้าไฮเปอร์มาร์เก็ตและดิพาร์ทเมนต์สโตร์ จะอยู่รอดได้ต้องอยู่ที่ความเข้มแข็งของแต่ละแบรนด์ ตอนนี้หลายร้านๆ ในห้างเหล่าก็มีลูกค้าเยอะ หลายๆ ร้านก็ไม่มีลูกค้าเลย ถือว่าช่วงนี้ร้านอาหารลำบากไปหมด
ถ้าเป็นร้านอาหารที่เปิดในห้างพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็นเอ็มโพเรียม ไอคอนสยาม พารากอน โดยรวมแล้วไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ เพราะตลาดบนไม่ค่อยมีปัญหา เพราะฉะนั้น ถ้าดูทั้ง 3 ตลาด โดยมาร์เก็ตไซส์มันลดลงแน่นอน
อ.สุภัค กล่าวต่อว่า เจ้าของร้านอาหารต้องทำ 2 ส่วน คือ จัดระบบการบริหารจัดการภายในร้านให้ดี ควบคุมดูแลเรื่องต้นทุนวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในร้าน และต้องทำการตลาดดิจิทัลแพลตฟอร์มให้มากขึ้น จะได้เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ ต้องทำคอนเทนท์ให้น่าสนใจ ถ้าทำใน 2 เรื่องก็จะทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น
“ถ้าธุรกิจร้านอาหารไม่ปรับตัว ปล่อยไปตามน้ำ ก็จะทำให้ธุรกิจแย่ลง ถ้าร้านอาหารไหนทำ 2 ข้อ จัดระบบร้าน และทำตลาดออนไลน์ ก็จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดและโตได้ ถึงแม้กำลังซื้อหด แต่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น”
แฟรนไชส์ “สยามสะเต๊ก” ออกเมนูใหม่ กระตุ้นยอดขาย
ภาพจาก www.facebook.com/siamsteakofficial
อ.สุภัค กล่าวว่า ในส่วนของการปรับตัวของแฟรนไชส์สยามสะเต๊กในช่วงปี 2567 จะไม่เน้นการขยายสาขาให้ได้เยอะๆ แต่เน้นยอดขายต่อสาขาให้ได้มากขึ้น โดยการบริหารจัดการภายในร้านโดยใช้หลักการ Lean Management มาช่วยแก้ปัญหา และการทำตลาดออนไลน์ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ดึงดูดลูกค้ามาซื้อที่หน้าร้านเยอะๆ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Weekly Promotion การทำโปรโมชั่นทุกวัน ออกสินค้าหลายๆ เมนู เช่น ข้าวผัดอเมริกันสูตร 30 ปี หรือ แพนเค้กเบอร์เกอร์ เมนูใหม่ๆ ที่ออกมาถือเป็นตัวกระตุ้นยอดขายได้ดีพอสมควร
ร้านอาหารไทยเร่งปรับตัวแข่งทุนจีน
อ.สุภัค กล่าวต่อว่า สำหรับร้านอาหารจีนที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามกระแสทุนจีนในการเข้าไปลงทุนต่างประเทศ อีกทั้งคนจีนสมองเขาดี ขยัน มี Business Model ที่ดี คนจีนสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ดี จึงทำให้ธุรกิจร้านอาหารจีนที่เข้ามาในไทยค่อนข้างน่ากลัว เหมือนกรณีไห่ตี่เหลาร้านอาหารจีนที่เข้ามาสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าใหม่ๆ ได้ชัดเจน คนรอเข้าคิวก็มีการทำเล็บ บริการน้ำดื่มฟรี พอเข้าไปในร้านก็มีตักน้ำจิ้ม ผสมผสานเองได้
ผู้ประกอบการร้านอาหารของไทยต้องเร่งปรับตัวแข่งกับร้านอาหารจีน เพราะปัจจุบันร้านอาหารจีนได้เข้ามาบุกตลาดอาหารในราคาถูก สร้างความปั่นป่วนให้ธุรกิจไทย อย่างเช่น มี่เสวี่ย หรือร้านไก่ทอดเจิ้งซิน ขายราคาถูกกันแหลกลาน เท่ากับว่าในตอนนี้ร้านอาหารจีนได้บุกตลาดระดับพรีเมี่ยมกับตลาดราคาถูกพร้อมๆ กัน ถือว่าน่ากลัวสุดๆ
ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านอาหารไทยต้องเร่งปรับตัวสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้กับร้านอาหารของตัวเองให้ได้เยอะๆ ไม่ว่าจะเป็นชื่อแบรนด์ร้านอาหาร ซิกเนเจอร์เมนูของร้าน การบริการใหม่ๆ ในร้านเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า
สำหรับความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารของไทยในอนาคต อ.สุภัค ให้ความเห็นว่า ความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารอยู่ที่การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเทคโนโลยี AI จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจ และเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คน
ธุรกิจร้านอาหารจะอยู่รอดหรือเติบโตต่อไป ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการร้านอาหาร รู้จักการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวข้องมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และเกิดการหมุนเวียนของธุรกิจได้โดยเร็ว
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)