ร้านชาราคาเดียว ร้านนมหมีปั่น ร้านโกโก้ ยังปังอยู่มั้ย?
ถ้าถามว่าในปี 2566 จะเลือกค้าขายอะไรดี? หลายคนต้องนึกถึงร้านชานมไข่มุก ร้านเครื่องดื่มที่มีเมนูนมหมีปั่น โกโก้ อะไรประมาณนี้ เหตุผลที่คนสนใจและนึกถึงสินค้าเหล่านี้เพราะเป็นสินค้าขายง่าย ขายดี และบางคนก็เลือกลงทุนเปิดร้านเองแบบไม่ต้องซื้อแฟรนไชส์
ส่วนจะขายได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า และการตลาดเป็นสำคัญ สำหรับในมุมมองของ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าธุรกิจนี้ยังเติบโตได้แต่ผู้งทุนเองก็ต้องสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคและรู้จักใน่ไอเดียในการขายจะยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
ตลาดเครื่องดื่มปี 2566 จะโตได้มากแค่ไหน?
ในภาพรวมตลาดเครื่องดื่มประเภท ร้านชาราคาเดียว ชานมไข่มุก คาดว่าในปี2568 จะมีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.43 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.3% ต่อปี ขณะที่ตลาดในประเทศไทยก็คึกคักไม่แพ้กัน มูลค่าการตลาดในช่วง 1 -2 ปีที่ผ่านมา เติบโตไม่ต่ำกว่า 40% มีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท แถมสถิติยังบ่งชี้ว่าประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มชานมมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยดื่มชานม 6 แก้วต่อคนต่อเดือน
และคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่ม 5,000 ล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่สิ่งที่ต้องยอมรับคือการแข่งขันในตลาดนี้มีสูงมาก ทั้งจากแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศที่ต่างมุ่งหวังแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันอย่างเข้มข้น ในมุมของผู้ประกอบการรายย่อยที่เปิดร้านเล็กๆ ธรรมดา ก็ยังมีคู่แข่งในระดับเดียวกันอีกมาก และการที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกเยอะแยะมากมาย ก็ทำให้ผู้ประกอบการเองต้องหันมาสนใจเรื่องการตลาดและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้น
ลงทุนเปิดร้านชานม นมหมีปั่น โกโก้ ทำยังไงให้ปัง?
คำถามที่ว่าร้านเครื่องดื่มแนวนี้จะยังปังอยู่ไหม คำตอบคือ “ยังขายได้แน่” และมีกำลังซื้อจากลูกค้าต่อเนื่อง แต่ปัญหาคือเรื่อง “คุณภาพ” “ไอเดีย” “กลยุทธ์การขาย” ลองคิดดูว่าจู่ๆ ถ้าเราคิดเปิดร้านขึ้นมา ไม่ต้องลงทุนมาก ใช้อุปกรณ์ที่มี เมนูไม่เยอะ อาจจะมีแค่ชานม กาแฟ โกโก้ นมหมีปั่น ตั้งใจว่าขายเป็นรายได้เพิ่ม แต่คนที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่ก็ขายได้ไม่นานก็ต้องเลิก ไม่ใช่เพราะคนไม่ต้องการสินค้า เพียงแต่ “ร้านค้าไม่มีจุดเด่น” ที่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ นั่นทำให้บางคนมองว่า “ขายแล้วไม่ปัง” ทั้งที่จริงคือผู้ลงทุนยังทำการตลาดไม่ถูกต้อง ไม่เจาะใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีพอมากกว่า
การที่จะทำให้ขายดีก็มีอยู่หลายปัจจัยที่ควรนำมาปรับใช้ ได้แก่
1.เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน
ข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่าเครื่องดื่มกลุ่มชา โกโก้ นมหมีปั่นเหล่านี้ 79% เป็นผู้หญิง และ 21% เป็นผู้ชาย อายุช่วงอายุ 24 – 35 ปี ถึง 50% และช่วงอายุ 35 – 44 ปีมากกว่า 25% เมื่อรู้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนก็ต้องนำไปพัฒนาเมนูให้ถูกใจลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น
2.เมนูเครื่องดื่มสุขภาพจะมาแรง
เหตุผลที่ทำให้นมหมีปั่น โกโก้ ยังขายได้ดีมากขึ้นเกิดจากกระแสคนรักสุขภาพ เพราะอย่างที่ทราบว่าโกโก้เองเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณประโยชน์หลายด้าน เช่นลดคอเลสเตอรอล , ลดความดันโลหิต , ป้องกันโรคหัวใจ และยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจลดความเครียดให้เราได้ด้วย หรืออย่างนมหมีปั่น ที่ใช้วัตถุดิบคือนมสดก็ถือเป็นเมนูสุขภาพที่คนนิยม ถ้าอยากเปิดร้านแล้วปัง ขายดีก็ควรมีเมนูสุขภาพเข้ามาเสริมให้มากขึ้นเช่นเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
3.รู้จักการสร้าง “อารมณ์” ให้คนสนใจสินค้า
เครื่องดื่มอย่างชานม โกโก้ นมหมีปั่น หรืออีกหลายเมนูถือเป็นสินค้าที่หากรู้จักการใช้ Emotional เข้ามากระตุ้นอารมณ์อยากลองดื่มสินค้าที่มีจุดเด่น มีความน่าสนใจ และหากทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจทั้งเรื่องของรสชาติ ราคา และการบริการ ก็สามารถสร้างผลกำไรได้ในระยะยาว
4.กลยุทธ์การขายเป็น “สิ่งสำคัญ”
ร้านจะปัง หรือไม่ปัง บางทีก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ด้านการตลาด หากเราเปิดร้านแล้วไม่โปรโมทในช่องทางใดเลย รอแต่ลูกค้าเดินผ่านหน้าร้าน เชื่อว่าโอกาสในการประสบความสำเร็จก็น้อยมากเช่นกัน แต่หากเราใส่ไอเดียในด้านการตลาดใช้โซเชี่ยลมีเดียช่วยทำตลาด และหากร้านเราฮิตติดกระแส ก็จะยิ่งทำให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
5.อย่าลืมเพิ่มช่องทางขาย “เดลิเวอรี่”
สมัยนี้ “เทรนด์สะดวก” กำลังมาแรง ผู้บริโภคนิยมสินค้าผ่านช่องทาง “เดลิเวอรี่” ซึ่งในฐานะเจ้าของร้านก็ควรให้ความสำคัญเรื่องนี้ แม้หลายคนอาจจะไม่มีประสบการณ์หรือบอกว่าไม่รู้จะเริ่มขายเดลิเวอรี่อย่างไร ปัจจุบันแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่มีให้เลือกมากและต่างก็อยากได้พาร์ทเนอร์ สิ่งที่ต้องทำคือพูดคุยและปรึกษากับแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เหล่านี้ที่พร้อมให้คำแนะนำว่าร้านค้าต้องทำอย่างไรเพื่อจะเข้าร่วมแพลตฟอร์มได้
ในความเป็นจริงตลาดเครื่องดื่มยังมีอนาคตที่สดใสมาก สินค้ามีตั้งแต่ตลาดล่าง แก้วละสิบกว่าบาท ไปจนถึงตลาดบนแก้วละร้อยกว่าบาท ถามว่าขายได้ไหม คำตอบคือขายได้แน่ แต่เราก็ต้องระวัง เพราะแข่งขันสูงมาก ถ้ามีทำเลที่ดี สามารถมีฐานลูกค้าดีลิเวอรี่ ก็พอลงทุนได้ หรือถ้าไม่แน่ใจจริงๆ แต่อยากมีร้านเครื่องดื่มจะเลือกลงทุนรูปแบบแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ให้เลือกลงทุนได้ ก็ถือเป็นอีกทางลัดสู่ความสำเร็จในยุคนี้
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3XE52Ef , https://bit.ly/3XFw5iu , https://bit.ly/3V9f52C , https://bit.ly/3EEkp6Y
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3HoD5Li
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้