รู้ก่อนเจ๊ง! จุดคุ้มทุน รู้ให้จริง หาให้ได้

เจ้าของกิจการร้านค้า ร้านอาหารหลายคน ยังไม่เข้าใจในเรื่อง “ จุดคุ้มทุน ” หรือ Break-Even Point” ซึ่งมีผลต่อกำไรหรือขาดทุน จะอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ จำนวนของสินค้าที่พ่อค้าแม่ค้าต้องขายเพื่อให้มีรายได้กลับมาเท่าทุน จะทำให้ไม่ขาดทุน แต่ก็ยังไม่มีกำไรเหมือนกัน พ่อค้าแม่ค้าจะมีกำไรได้ก็ต่อเมื่อขายสินค้าหรืออาหารมากกว่าจุดคุ้มทุนนั่นเอง

“จุดคุ้มทุน” หรือ Break-Even Point” คำนวณกันอย่างไร ทำไมพ่อค้าแม่ค้าจะต้องรู้และหาให้ได้ก่อนขาย มาดูกัน

วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุนง่ายๆ คือ

จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายรายเดือน ในส่วนที่ไม่ขึ้นกับจำนวนการผลิต โดยมากจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการร้าน

  • ค่าเช่าเปิดร้าน
  • เงินเดือนพนักงาน
  • ค่าประกัน
  • ดอกเบี้ยธนาคาร

ต้นทุนผันแปร คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าต่อ 1 ชิ้น ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณการผลิตหรือการขายเพิ่มขึ้น และลดลงเมื่อปริมาณการผลิตหรือการขายลดลง

  • ค่าวัตถุดิบ
  • ค่าแรงงาน
  • ค่าสาธารณูปโภค
  • ค่าบรรจุภัณฑ์
  • ค่าขนส่งและจัดส่ง
  • ค่าคอมมิชชั่นในการขาย

ยกตัวอย่าง…การหาจุดคุ้มทุน

1. ร้านขายรองเท้ามือสอง

  • มีต้นทุนคงที่ 15,000 บาท/เดือน
  • มีต้นทุนผันแปรคู่ละ 100 บาท
  • ราคาขายรองเท้าคู่ละ 350 บาท
  • จะได้จุดคุ้มทุน 15,000 / (350 – 100) = 60 คู่

หมายความว่าร้านขายรองเท้ามือสอง ต้องขายรองเท้าให้ได้ 60 คู่ต่อเดือน ถึงจะคุ้มทุน ถ้าขายมากกว่า 60 คู่ ถึงจะมีกำไร

2. ร้านขายอาหารตามสั่ง

  • มีต้นทุนคงที่ 10,000 บาท/เดือน
  • มีต้นทุนผันแปรจานละ 20 บาท
  • ราคาขายข้าวจานละ 50 บาท
  • จะได้จุดคุ้มทุน 10,000 / (50 – 20) = 333 จาน/เดือน

นั่นแสดงให้เห็นว่า ร้านขายอาหารตามสั่งจะต้องขายให้ได้ 333 จาน/เดือน ถ้าขายได้น้อยกว่านี้ ถือว่าขาดทุน ขณะเดียวกัน เราสามารถลดจุดคุ้มทุนให้ต่ำลงจะทำให้ร้านสามารถคืนทุนและมีกำไรเร็วขึ้น โดยผลิตและยอดขายน้อยลง จากสูตรการคำนวณร้านขายอาหารตามสั่ง การลดจุดคุ้มทุนทำได้หลายวิธี เช่น การลดต้นทุนคงที่ ลดต้นทุนผันแปร หรือเพิ่มราคาขายต่อจาน/ต่อชิ้น

จากตัวอย่างร้านขายอาหารตามสั่ง ถ้าต้องการลดจุดคุ้มทุนลง อาจปรับเปลี่ยนวิธี ดังนี้

1.ลดต้นทุนคงที่

เปลี่ยนจากการเช่าที่คนอื่น มาเปิดหน้าบ้านตัวเอง ต้นทุนคงที่อาจลดลง 5,000 บาท

จะได้จุดคุ้มทุน 5,000/(50-20) = 166 จาน/เดือน

2. ลดต้นทุนผันแปร

ซื้อวัตถุดิบจากแหล่งราคาถูกลง เหลือต้นทุนจานละ 15 บาท

จะได้จุดคุ้มทุน = 5,000 / (50-15) = 143 จาน/เดือน

3. เพิ่มราคาขาย

ตัวอย่างร้านอาหารตามสั่ง ถ้าไปเช่าที่เปิดร้านแบบเดิม 10,000 บาท/เดือน พ่อค้าแม่ค้าสามารถปรับราคาขายอาหารตามสั่งต่อจานเพิ่มได้ จากเดิมขาย 50 บาท/จาน ก็ปรับขึ้น 70 บาท ถึงจะได้กำไร แต่ต้องดูทำเลที่ตั้งและฐานะผู้บริโภคด้วยหรืออีกกรณีหนึ่งในการหาจุดคุ้มทุน พ่อค้าแม่ค้าสามารถหาราคาขายอาหารตามสั่งต่อจานขั้นต่ำ ด้วยการแปลงสมการคำนวณหาจุดคุ้มทุน คือ

ราคาขาย = (ต้นทุนคงที่ / จำนวนอาหารและยอดขาย) + ต้นทุนแปรผันต่อจาน

#สมมติร้านอาหารตามสั่งทำอาหารได้ประมาณเดือนละ 400 จาน

จะได้ราคาขายอาหารต่อจาน (10,000 / 400) + 20 = 45 บาทขึ้นไป ถึงจะไม่ขาดทุน

นั่นคือ “ จุดคุ้มทุน ” หรือ Break-Even Point” ที่พ่อค้าแม่ค้าจำเป็นต้องรู้ก่อนเปิดร้านขายของ เพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองจะต้องขายเท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน หรือขายเท่าไหร่ถึงจะได้กำไร ลองนำสูตรกลับไปคำนวณเล่นๆ ที่ร้านกันครับ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช