#รีวิวหนังสือ TED TALK
แต่โปรดรู้ไว้ว่าการพูดนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้ก็คือ หายใจเข้าลึกๆ สนุกไปกับมัน จากนั้นจึงซ้อม ซ้อม แล้วก็ซ้อม เสน่ห์อย่างหนึ่งของการพูดที่ยอดเยี่ยมคือความสดใหม่
อย่ามองว่าหนังสือเล่มนี้เป็น กฎ ที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเชื่อฟัง แต่ลองคิดว่ามันเป็นกล่องที่เต็มไปด้วยเครื่องมือให้คุณหยิบใช้ได้เมื่อจำเป็น
หน้าที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียวของคุณในการพูด คือ คุณต้องมีเนื้อหาที่ควรค่าและพูดมันออกมาจากใจริงในแบบของคุณเอง
หากทำได้ดี การพูดเพียงครั้งเดียวอาจส่งพลังให้คนทั้งห้อง และเปลี่ยนมุมมองที่พวกเขามีต่อโลกใบนี้
TED เริ่มมาจากการเป็นงานประชุมประจำปีที่รวมผู้คนจากวงการเทคโนโลยี ความบันเทิง และการออกแบบ (Technology Entertainment และ Design จึงเป็นที่มาของชื่อ TED)
นักเขียน : Chris Anderson
นักแปล : พิริยะ กุลกาญจนาชีวิน
หน้า : 176 หน้า
ราคา : 240 บาท
1.หลักพื้นฐาน
ประเด็นคืออะไร
มันเป็นหน้าที่ของคุณต่อผู้ชมและต่อตัวคุณเองในการนำเสนอเรื่องราวอย่างตรงจุดและมีประเด็กที่ชัดเจน เมื่อมีคนนั่งอยู่ในห้องเพื่อรับฟังคุณ พวกเขากำลังมอบสิ่งที่ล้ำค่าอย่างยิ่งให้แก่คุณ นั่นคือ ช่วงเวลาไม่กี่นาทีที่พวกเขาพร้อมจะฟังอย่างตั้งใจ และหน้าที่ของคุณคือการใช้ช่วงเวลานั้นให้คุ้มค่าที่สุด
แก่นเรื่อง (throughline) มันคือสาระสำคัญที่ร้อยไอเดียทั้งหลายที่คุณนำเสนอเอาไว้ด้วยกัน
แก่นเรื่องก็แบกค้ำโครงเรื่องการนำเสนอของคุณเช่นกัน มันทำให้การพูดมีความหมายและจุดสนใจ เปรียบเสมือนเส้นด้ายที่ช่วยร้อยเรียงสุนทรพจน์ทั้งก้อนเอาไว้
จงลองพูดถึงมันด้วย มุมมองที่แตกต่าง ไม่เหมือนใคร
กุญแจสำคัญคือการนำเสนอเพียงไอเดียเดียวเท่านั้น นำเสนออย่างทะลุปรุโปร่งและครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ อะไรคือสิ่งที่คุณอยากให้ผู้ชม [เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง] หลังการพูดของคุณจบลง
แก่นเรื่องของคุณไม่จำเป็นต้องทะเยอทะยานอย่างรายการด้านบนก็ได้ แต่มันควรจะมีมุมมองบางประการที่น่าสนใจ
พูดเพื่อผู้ฟังเพียงหนึ่งเดียว
อลิซาเบธ กิลเบิร์ต (Elizabeth Gilbert) เชื่อในการวางแผนการพูดเพื่อผู้ฟังเพียงหนึ่งเดียว
“พูดในเรื่องที่คุณรู้และหลงใหลอย่างหมดหัวใจ ฉันอยากฟังเรื่องที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตของคุณ
กิลเบิร์ตใช้พลังแห่งการโน้มน้าวใจ และความเชื่อมโยงอันใกล้ชิดกับผู้ฟังในการพูดแต่ละช่วงของเธอ ไม่ใช่เพียงเพื่อให้เรายอดรับ แต่ยังโอบรับไอเดียของเธอเอาไว้ด้วย
ท้าชนประเด็นหนัก
จูน โคเฮน (June Cohen)
- การพูดที่เน้นประเด็นปัญหาจะนำด้วย หลักศีลธรรม แต่การพูดที่เน้นไอเดียจะนำด้วย ความสงสัยใคร่รู้
- ประเด็นจะเปิดโปง ปัญหา ส่วนไอเดียจะนำเสนอ ทางออก
- ประเด็นประหาจะบอกว่า “ดูสิ แย่มากเลยใช่ไหม” ขณะที่ไอเดีย จะบอกว่า “ดูสิ น่าสงใจ มากเลยใช่ไหม”
2.เครื่องมือการพูด
การเดินทาง
การพูดที่ยอดเยี่ยมนั้นเหมือนกับ การเดินทาง ไปด้วยกันของผู้พูดและผู้ฟัง เทียร์นีย์ ธีส์ ( Tierney Thys )
สิ่งสำคัญที่ควรจดจำไวก็คือ ความรู้ไม่สามารถถูก ผลักยัด เข้าไปในสมองได้ มันต้องถูก ดึงรับ เข้าไปต่างหาก
การพูดโน้มน้าวใจจะได้ผลดีที่สุดเมื่อผู้พูดเริ่มต้นด้วยการวางตัวเองไว้ที่ฝั่งเดียวกันกับผู้ชม จากนั้นจึงเชื้อเชิญผู้ชมเหล่านั้นให้ก้าวข้ามมาอยู่ฝั่งของผู้พูดแทน
วิธีง่ายๆ ก็คือ แสดง ให้พวกเขาเห็นนั้นเอง
ค้นหาเรื่องราว
วิธีที่ช่วยให้คุณสามารถจับจุดน่าสนใจในการพูด คือ
SWAG : สิ่งเดิมพัน(Stake) โลก(World) การกระทำ(Action) เป้าหมาย(Goal)
- S : อะไรคือสิ่งที่แขวนอยู่บนเส้นด้าย
- W : อาจจะหมายถึงโลกของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
- A : เรื่องราวของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของทิฐิความอยุติธรรม หรือ ความเจ็บปวด
- G : เป็นการออกตามหาบางสิ่งที่สำคัญ
บอกเล่าความจริง
ถ้าคุณจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง จงคิดให้ดีว่า ทำไม คุณถึงเล่าเรื่องนี้ พยายามตัดรายละเอียดทั้งหมดที่ไม่จำเป็นต่อการชี้ให้เห็นประเด็นของคุณออก
คุณควรจะจดจำเอาไว้เสมอว่า เป้าหมายสำคัญของการพูดในที่สาธารณะคือการแบ่งปัน คือการ ให้ บางสิ่งแก่ผู้ชมของคุณ การเล่าเรื่องของของตัวเองมีสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้อีกสิ่งหนึ่งคือ มันต้องเป็นเรื่องจริง
3.ขั้นตอนการเตรียมตัว
เตรียมตัว ไม่ใช่ตรากตรำ
การเตรียมตัวคือวัตถุดิบสำคัญในการบรรเทาความตื่นกลัว และรับรองความสำเร็จในการพูดของคุณ
คุณจะเขียนบทพูดออกมาจนครบถ้วนกระบวนความ (เพื่ออ่าน ท่องจำ หรือทำทั้งสองอย่าง) จะเขียนโครงเรื่องคร่าวๆ ด้วยประเด็นหลักเป็นข้อๆ เพื่อจัดระเบียบความคิด และ วางจุดสำคัญให้กับคุณ
วิธีที่ดีที่สุดในการทำให้ดูเหมือนว่าคุณไม่ได้กำลังท่องบทพูดให้ฟัง คือการ ไม่ ท่องบทพูด
เส้นทางของการเตรียมตัวบทพูด คุณมีกลยุทธ์หลักสามข้อที่สามารถทำได้
- รู้จักบทพูดเป็นอย่างดีเสียจนมัน ฟังดู ไม่เหมือนท่องแม้แต่นิดเดียว
- อาจดูบทพูดบ้างแต่ชดเชยด้วยการเงยหน้าขึ้นสบตากับผู้ชมบ่อยๆ
- ย่อบทพูดให้เป็นหัวข้อย่อยๆ และวางแผนในการถ่ายทอดแต่ละหัวข้อด้วยภาษาของคุณเอง “การพูดแบบไม่เตรียมบท”
วิธีแก้เพียงข้อเดียวก็คือ ซ้อมพูดหลายๆครั้งจนมั่นใจว่าการพูดจะจบลงได้ภายในเวลาที่กำหนด และเตรียมการพูดที่ใช้เวลาไม่เกิน 90% ของเวลาที่คุณมี เมื่อคุณได้พูดในที่สาธารณะด้วยหลายๆ รูปแบบ คุณจะค้นพบวิธีการของตัวคุณเอง
เดี๋ยวนะ ต้องซ้อมด้วยหรือ
วลี การจดจำโดยไม่ได้ตั้งใจ คือสิ่งสำคัญ ถ้าคุณซ้อมมากพอ คุณจะพบว่าตัวเองเข้าใจรูปแบบที่ดีที่สุดของการพูดนั้น
ในวันงาน ถ้าคุณไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา คุณจะสามารถมุ่งความสนใจ 100% ให้กับประเด็นที่คุณควรใส่ใจและผู้คนที่คุณจะแบ่งปันไอเดียด้วย
อุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ
- การไม่มีสไลด์เลยดีกว่าการมีสไลด์ที่ห่วย ประโยคนี้เป็นความจริงสำหรับผู้พูดทุกคน
- องค์ประกอบสำคัญของสื่อภาพอันทรงพลังล่ะ การเปิดเผย การอธิบาย การดึงดูด
เปิดตัวและปิดท้าย
ในช่วงเวลาเปิดตัว คุณมีเวลาประมาณหนึ่งนาทีในการ “ฮุก” ผู้ฟังของคุณ เชื้อเชิญพวกเขาให้โน้มตัวโน้มใจเข้ามา เพื่อสัมผัสความคาดหวังที่บอกว่าคุณกำลังจะแบ่งปันบางสิ่งที่คุ้มค่ากับพวกเขา สะกดผู้ฟังให้ได้ตั้งแต่จังหวะแรกของการเปิดตัวประโยคอันชวนตะลึง
คำถามที่น่าสนใจ เรื่องราวสั้นๆ
จุดประกายความสงสัย ความสงสัยคือความสนใจที่ติดไฟ
- คำถามจะสร้าง “ช่องโหว่ทางความรู้” ซึ่งสมองจะต่อสู้เพื่อเติมมันให้เต็ม วิธีที่ผู้ชมจะเติมช่องโหว่นั้นก็คือการตั้งใจฟังผู้พูด และนี่คือช่วงเวลาที่คุณเอาพวกเขาอยู่หมัด
ต่อสู้กับเจ้าลิง
- กำจัดสิ่งกวนใจ ใช้แอปพลิเคชั่นอย่าง Freedom หรือ SelfControl ที่ตัดการเชื่อมต่อของคุณกับเว็บไซต์โปรดภายในเวลาที่กำหนด
วางแผนงาน ขอย้ำอีกครั้ง จงให้เวลาตัวเองมากกว่าเวลาที่คุณคิดไว้ว่าจะต้องใช้
เตียมงานในหัว
4.บนเวที
สิ่งเดียวที่คุณต้องกลัว
ความกลัวจะไม่ฆ่าคุณ ความกลัวเป็นสภาวะชั่วคราว การเรียนรู้ที่จะยอมรับหรือแม้กระทั่ง “โน้มตัวเข้าหา” ความกลัวจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน
คุณกลัวว่าจะพูดอย่างนั้นหรือ ก็ซ้อมพูดให้มากกว่าที่คุณวางแผนเอาไว้สิ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคำพูดจะออกมาเหมือนอย่างที่คุณวางแผนเอาไว้
คุณสามารถใช้ความกลัวเป็นสินทรัพย์ ความกลัวสามารถเป็นแรงผลักดันที่จะจูงใจให้คุณลงมือซ้อมอย่างจริงจัง ปรับความคิด มันจะทำให้การพูดของคุณทรงพลังยิ่งขึ้น และมันจะช่วยสอนให้คุณรู้ว่าคุณกล้าหาญได้เพียงไร
ต่อสู้กับสิงโตภูเขา
ให้ร่างกายช่วยคุณ ก่อนที่จะเริ่มพูดคือ
- หายใจเข้าให้ลึกๆ
- ในรูปแบบการทำสมาธิ ซึมซาบออกซิเจน
- จะนำมาซึ่งความรู้สึกสงบ
- ดื่มน้ำ 5 นาทีก่อนเริ่ม ดื่มน้ำหนึ่งในสามขวด
- มันจะช่วยให้ปากของคุณไม่แห้ง
- หลีกเลี่ยงอาการท้องว่าง
- หาอาหารที่ดีต่อสุขภาพเข้าสู่ร่างกายก่อนขึ้นเวทีสักหนึ่งชั่วโมง
- เคี้ยวหมากฝรั่ง
- มันจะหลอกร่างกายของเราให้เชื่อว่าเราน่าจะกำลังย่อยอาหารอยู่ ซึ่งจะช่วยส่งอะดรีนาลีนบางส่วนให้กลายเป็นพลังงานและยังช่วยสร้างน้ำลาย
- กดจุดประตูวิญญาณ
- หาจุดตรงรอยพับของข้อมือที่ลากตรงลงมาจากนิ้วก้อย
- งดกาแฟ
- กดโต๊ะ (หรือกำแพง)
- กดฝ่ามือไปกับขอบโต๊ะ
- ขยับนิ้วเท้า
- ทำท่าแปลกๆ อะไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่าตลกหรือพิลึกกึกกือ จงลองทำมันซะ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณปลดปล่อยพลังงานแห่งความวิตกกังวล
หายใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
- ออกซิเจนไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ซึ่งช่วยลดความกังวล การหายใจอย่างเป็นขั้นเป็นตอนยังทำให้เรารู้สึกสงบและมีสติ
แพทริก แอลเลน (Patrick Allen)
คุณเป็น “มนุษย์ธรรมดาที่อยู่ต่อหน้าคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรไปมากกว่านั้น
ตั้งสติให้พร้อม
- จำไว้ว่าผู้ชมของคุณส่วนมากก็เป็นคนที่กลัวการพูดในที่สาธารณะพอๆกับคุณ พวกเขาจึงมักจะกังวลแทนคุณมากกว่าที่จะตัดสินคุณ
ถ้าคุณจะนึกว่าผู้คนคิดเกี่ยวกับคุณอย่างไร ให้นึกภาพว่าพวกเขารู้สึกประทับใจ
- จดจำพลังของความเปราะบาง ผู้ชมจะโอบรับผู้พูดที่ประมาท
- ปรับความคิดว่าความกลัวคือความตื่นเต้น
- จำเป้าหมายเอาไว้
- ยิ่งเตรียมตัวตัวมาก คุณยิ่งประหม่าน้อยลง
- มองหาเพื่อนท่ามกลางผู้ชม
- นึกภาพความสำเร็จ
นักเขียน ริชาร์ด บาค (Richard Bach)
“การจะไขว่คว้าอะไรในชีวิต จงจิตนาการว่ามันอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว
มองเห็นมัน เชื่อมั่น และคุณจะทำได้ แน่นอน
อยู่กับตัวเอง
- การพูดในที่สาธารณะให้อะไรที่มากไปกว่านั้น ขณะฟังและสังเกต สมองของเราจะประมวลผลต่างออกไปจากตอนที่เราอ่าน
HAIL
- H : Honesty ( ความจริงใจ )
- A : Authenticity ( ความจริงแท้ )
- I : Integrity ( ความซื่อสัตย์ )
- L : Love ( ความรัก )
ปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมายถึงจงพยายามอย่างเต็มที่ในการพูดอย่างชัดเจนและด้วยท่าทีที่จับใจ
ให้ร่างกายของคุณมีอะไรทำ
- ยืดตัวตรง
- ก้าวเดิน
- ลดการก้าวไปมา
- สบตาตั้งแต่เริ่มต้น
- เผยความเปราะบาง
- ทำให้พวกเขาหัวเราะไม่ใช่อึดอัด
สิ่งสำคัญคือคุณรู้สึกสบายใจและมั่นใจ และพฤติกรรมทางร่างกายของคุณบนเวทีช่วยเน้นย้ำสิ่งที่คุณกำลังพูด ไม่ใช่เบี่ยงเบนความสนใจ
จงจ่อจออยู่กับเนื้อหาของคุณและความใส่ใจที่คุณอยากจะถ่ายทอดในการนำเสนอเนื้อหานั้น ปล่อยให้บุคลิกภาพของคุณเฉิดฉายออกมา เพราะนั้นคือสิ่งที่ผู้คนต้องการส้มผัส มันคือตัวตนที่แท้จริงและความเจ๋งในตัวคุณ
จุดอันตราย
- การใช้คำพูดหยาบคาย
- การประชดประชัน
- เล่นมุกนานเกินไป
- สร้างอารมณ์ขันเกี่ยวกับ ศาสนา เชื้อชาติ เพศ การเมือง
5.ถึงตาคุณแล้ว
เสียงของคุณ
- คุณจะค้นพบ บางสิ่งที่ควรค่าแก่การพูด คุณต้อง แบ่งปัน มันออกไปด้วยความหลงใหล ทักษะและความมุ่งมั่นทั้งหมด
เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ykSl3k