#รีวิวหนังสือ Super Productive
สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ Super Productive เล่มนี้คือ รีวิวหนังสือ ที่จะช่วยให้คุณ “ดึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองออกมา” โดยเริ่มที่ “การจัดการตัวเอง การงาน และทีม” ของ “รวิศ หาญอุตสาหะ” ผู้บริหารและเจ้าของพอดแคสต์ที่มีผู้ติดตามสูงสุดอย่าง “Mission to the Moon” และ “Super Productive” กับหัวข้อสำคัญอย่างแรงจูงใจในการทำงาน
การรู้จักตนเอง ภาวะหมดไฟปลอม ๆ การรับมือกับคน Toxic ทำธุรกิจเก่าแก่ให้กลับมายิ่งใหญ่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ละหัวข้อที่นำเสนอนั้น ถูก “คัดสรร” มาแล้วว่า “สำคัญ” ซึ่งผู้เขียน รีวิวหนังสือ ได้ปฏิบัติได้ผลสำเร็จมาแล้ว คุณเองก็สามารถ “ดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่อีกมากในตัวคุณ” ออกมาใช้ได้เช่นกัน!
ถ้าคิดจะทำอะไรใหม่ อย่าคิดเยอะ หยุดกังวล เกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิดกับคุณ และรู้จักตัวเองคือทักษะสำคัญที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในตัวเอง ธุรกิจ และทีม เริ่มที่การจัดการ
ผู้เขียน : รวิศ หาญอุตสาหะ
ราคา : 219 บาท
หน้า : 264 หน้า
สารบัญ รีวิวหนังสือ
1. จัดการตัวเอง
ถ้าคิดจะทำอะไรใหม่ ๆ อย่าคิดเยอะ
- มีวินัย
- ทำอย่างสม่ำเสมอ
หยุดกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิดกับคุณ
- อาการ FOPO (Our fear of other people’s opinions)
- หรือการกลัวคนอื่นไม่ยอมรับเรา
- จะเกิดอาการ มือเย็น ขนลุก มือสั่น เหงื่อออก
- แก้ง่ายๆโดย หายใจเข้าลึกๆ
- มีสติ และนึกถึงปรัชญาการดำเนินชีวิตที่ชอบอยู่เสมอ
- คิดว่า ความคิดคนอื่นก็คือความคิดคนอื่น
เข้าใจนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง
- สมองของคนที่ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง จะเหมือนกับคนที่เป็น กัปตันเรือ
- ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เลือกทำในสิ่งที่มีประโยชน์ระยะยาว
- Rational Decision Maker
- สมองของคนที่ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ก็มีกัปตันเรือแต่จะมีลิงอยู่ด้วย
- ลิงที่พอใจในสิ่งที่ฉาบฉวย ต้องการความสุขแบบ “เดี๋ยวนี้”
- รู้ว่ามีอย่างอื่นต้องทำ แต่ไม่ทำเพราะอยากทำสิ่งนี้
- Instant Gratification Monkey
- สถานะการที่ลิงเป็นคนควบคุม เรียกว่า Dark Playground หรือสนามเด็กเล่นมืด
- กัปตันเรือจะกลับมาได้อย่างไร?
- ลิงตัวนี้มีสิ่งที่กลัวที่สุด คือ สัตว์ประหลาดจอมตื่นตระหนก
- The Panic Monster ซึ่งก็คือ เดดไลน์นั้นเอง
- เมื่อใกล้ถึงเดดไลน์ หรือ สัตว์ประหลาดโผล่มา เจ้าลิงนี่ก็จะหนีไป
- กัปตันเรือก็จะเริ่มทำงานได้อีกครั้ง
วิธีแก้ไขคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง
- เรื่องที่ 1 เวลาที่ใช้ไปอย่างเปล่าประโยชน์ ควรเป็นเวลาผักผ่อน
- เรื่องที่ 2 งานสำคัญที่ไม่ด่วน งานประเภทนี้มักชอบถูกผัดวันประกันพรุ่ง
- เรื่องที่ 3 ถ้าปล่อยให้ลิงควบคุมต่อไป เราก็จะ เสพติด
ต้องแก้ที่ต้นเหตุ
- วางแผน
- ลงมือทำ
แรงจูงใจในการทำงาน
- Motivation หรือ แรงจูงใจในการทำงาน
- คิดเร็วๆคงเป็น เงิน และ ผลประโยชน์ต่างๆ
- แนวคิดของ เฟรเดริก เฮอร์เบิร์ก (Frederick Herzberg)
- Two-Factor Theory
- สมองคนเราแยกความพอใจ (Satisfactio)
- กับความไม่พอใจออกจากกัน (Dissatisfaction)
- ทำให้คนเราสามารถ รักและเกลียดงานที่ทำไปในเวลาเดียวกัน
- แบ่งองค์ประกอบการทำงานได้เป็น 2 ส่วน คือ
- Hygiene Factors ปัจจัยด้านสุขวิทยา
- ต้องได้รับการดูแลให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะเกิดความไม่พึงพอใจขึ้นมาแน่นนอน ประกอบไปด้วย สถานะ ตำแหน่ง เงินสวัสดีดิการ
- ความมั่นคงในงาน สภาพการทำงาน นโยบายขององค์กร นิสัยใจคอของหัวหน้า และเพื่อนร่วมงาน ฯลฯ
- การมี Hygiene Factor ที่ไม่ดี จะเกิดความไม่พอใจ ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะ ความไม่พอใจสถานที่ทำงาน
- การให้เงินที่เหมาะสม ช่วยให้ไม่เกิด ความไม่พอใจ
- การจ่ายเงินที่เหมาะสม ทำให้ ไม่เกิด ความ ไม่พอใจ ขึ้น
- ถ้าเพิ่ม Hygiene Factor เยอะๆ คนที่เคยเกลียดงานนั้นจะเลิกเกลียด แต่ไม่ถึงกับ รักงานนั้น
- การมี Hygiene ที่ดีทำให้คุณไม่เกลียดงานที่ทำ
- Motivation Factors ปัจจัยด้านแรงจูงใจ
- เป็นสิ่งที่ จับต้อง ไม่ได้ แต่ สัมผัส ได้ จากงานที่ทำไม่เกี่ยวกับแรงกระตุ้นภายนอก
- คนจำนวนมากเลือกอาชีพการงานโดยยึดเอา Hygiene Factor เป็นหลัก หรืออาจเป็นปัจจัยเดียวเลยก็ได้ ผลตอบแทน ทำให้
- เราไม่ทุกข์ แต่ถ้าอยากทำงานแล้วสุข Motivation Factor จะเข้ามาเกี่ยวข้องทันที
- ปัญหาคือเนื้องาน งานนี้มีความหมายเพียงพอที่จะทำให้เรามีความสุข และตกหลุมรักมันได้มั้ย
- สตีเฟน ฮอว์คิง Stephen Hawking
- Look up at the stars and not down at your feet.
- Try to make sense of what you see and wonder about what makes the universe exist. Be curious.
- มองขึ้นไปบนท้องฟ้าไม่ใช่มองที่เท้าของตัวเอง
- พยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็น และตั้งข้อสงสัย
- ถึงการมีอยู่ของสรรพสิ่ง จงใช้ชีวิตอย่างช่างสงสัย
ทำอย่างไรจึงเป็นคนที่เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
- Lifelong Learning หรือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต
- Skills of the future หรือ Metaskill ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด
- สองอย่างที่สำคัญใน Metaskill คือ Growth mindset และ Metaskill
- คนที่ก้าวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ต้องเป็นคนที่มีนิสัยของการเรียนรู้ตลอดชีวิต คำถามคือ แล้วเราจะต้องทำอย่างไร
- The World Economic Forum เคยตีพิมพ์รายงานตัวฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่าภายในปี 2022 คนที่อยู่ในตลาดแรงงานทั้งหมดจะต้องใช้เวลาเฉลี่ย 101 วัน ในการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ แต่การเรียนรู้ที่ว่านั้นไม่ได้หมายถึงการเรียนรู้วิชาใหม่เสียทั้งหมด แต่เป็นการเรียนรู้จากการทำงานไปด้วย
- มีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนรู้ ในระบบการศึกษาแบบดั้งเดิม
- แต่ก็ยังคงประสบความสำเร็จอย่างสูงในสาขาวิชาชีพ
- ตั้งแต่ Steve Jobs, Bill Gates, Ellen DeGeneres และอีกมากมายหลายคน แต่คนกลุ่มนี้มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ความเป็น self-directed learners คนที่พาตนเองไปเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเอง
- การเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่การเรียนเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่คือการเอาความรู้เก่ามาต่อยอดด้วยต้องเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดของตัวเอง
- คุณต้องควบคุมตัวเองให้สามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆได้ และต้องเป็นเจ้าของกระบวนการในการเรียนรู้ทั้งหมดนั้นหมายความว่าเราต้องมีความเข้าใจถึงกระบวนการของความเป็น self-directed learners กระบวนการคือ
- เรียนได้ด้วยตัวเอง
- วิเคราะห์ได้ว่าเราต้องเรียนเรื่องอะไร
- มีเป้าหมาย
- ต้องรู้ว่าจะใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
- เลือกกลยุทธ์ในการเรียน
- ต้องประเมินผลได้
- วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างบริบท คือ
- Growth Mindset เพราะ คนที่มี Growth Mindset จะอยากเรียนรู้ เชื่อว่าทุกอย่างพัฒนาได้ ไม่เก่งก็ฝึก ไม่รู้ก็ต้องเรียน ต่างจาก
- Fixed Mindset คือคนที่เชื่อว่าทุกอย่างบนโลกนี้ถูกกำหนดมาไว้หมดแล้วคนนั้นเกงก็เพราะเขาฉลาดอยู่แล้วเราไม่รู้เรื่องนั้นหรอกเพราะเราไม่ได้เรียนมา หรือ เราคงไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองหรอก มันคงยากเกินไปสำหรับเรา
ตั้งเป้าหมายแบบ SMART
- S = Specific = ชัดเจน
- M = Measurable = วัดผลได้
- A = Action-Oriented = ระบุเลยว่าจะทำอะไร
- R = Realistic = อยู่ในความเป็นจริง
- T = Time-defined = เป้าหมายที่ตั้งจะเสร็จเมื่อไหร่
- ต้องบริหารเวลา Time Management ที่ดีด้วย
- การเป็น self-directed learners ตั้งเป้าแบบ SMART จะตรงข้ามกับ
ตั้งเป้าหมายแบบ VAPID
- V = Vague = ไม่ชัดเจน
- A = Amorphous = ไม่มีระเบียบแบบแผน
- P = Pie-in-the-sky = สร้างวิมานในอากาศ มโน
- I = Irrelevant = ไม่เกี่ยวข้อง
- D = Delayed = ไม่เสร็จสักที
- self-directed learners ที่ดี ต้องไม่เป็นแบบ VAPID
- กฎ 5 ชั่วโมงของเบนจามิน แฟรงคลิน(Benjamin Franklin)
- เรียนรู้เรื่องใหม่ วันละ 1 ชั่วโมง 5-6 วันต่อสัปดาห์
- สมองจะไม่ทำงานหนักจนเกินไป
- ทำให้มีกำลังใจ
- ทำให้สมองตกผลึกความรู้ได้เร็ว
- เรียนรู้เรื่องใหม่ วันละ 1 ชั่วโมง 5-6 วันต่อสัปดาห์
- Active Learning : เรียนรู้แบบแอ็คทีฟ
- เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีโอกาสลงมือทำ
- อย่างสิงที่ทำได้ยากก็มีอย่างอื่นทดแทนคือ
- marginalia-note-taking คือ จดโน้ตลงในช่องว่างของหนังสือ
- ตัดลำดับความลำคัญด้วยกฎ 80/20
- กฎ 80/20 ของ วิลเฟรโด พาเรโต (Vilfredo Pareto)
- ในทุกศาสตร์/วิชาจะมีหลักที่สำคัญมากอสู่ประมาณ 20-30% หาแกนของสิ่งที่เรียนรู้ให้เจอ และตั้งใจเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อความเข้าใจ 80%
- หาแรงบันดาลใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่
- เราอยากรู้เรื่องอะไร มีเป้าหมายอะไรในชีวิต ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าเรียนไปทำไม อยากมีทักษะใหม่ไปเพื่ออะไร
รู้กว้าง VS รู้ลึก
- Career Path การเป็น Generalist รู้หลายๆเรื่องแบบกว้างๆ
- Specialist รู้ลึกๆในเรื่องเดียว
- ถามตัวเองว่า ตัวเรากับสิ่งที่ต้องการจะรู้ มีช่องว่างขนาดไหน
- ถ้าธุรกิจเปลี่ยนแปลงช้า Generalist จะดีกว่า
- ถ้าธุรกิจเปลี่ยนแปลงเร็ว Specialist จะดีกว่า
- ถ้าทำงานที่มีความสุขอยู่แล้ว จะทำมันได้ดี
- บางทีคนเราต้องเรียนรู้เป็นรูปตัว T ต้องรู้กว้างด้วย รู้ลึกด้วยและต้องรู้ว่าเราชอบอยู่ตรงไหนมากที่สุดของตัว T ซึ่งตรงนั้นจะเป็นที่ที่เราทำงานได้ดีที่สุด
การรู้จักตัวเอง คือ ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21
- การรู้จักตัวเอง Self Awareness คือ
- การรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้ คนที่รู้จักตัวเองจะเป็นคนที่ทำงานได้ดีกว่า มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานดีกว่า สื่อสารกับคนอื่นได้ดีกว่า มีอิทธิพลต่อคนอื่นมากกว่า
- เรารู้จักตัวเองขนาดไหน
- 95% คิดว่ารู้จักตัวเองเป็นอย่างดี
- ความจริงแล้วมีเพียง 10-15% เท่านั้นที่รู้จักตัวเองจริงๆ
- รูปแบบการรู้จักตัวเองมี 2 แบบ
- Internal Self Awareness (รู้จักตัวเองด้วยการเข้าใจตัวเอง)
- External Self Awareness (รู้จักตัวเองผ่านคนรอบตัว)
ความสำคัญของ Deep Work
- Deep Work คือ ช่วงที่โฟกัสกับงานได้ไม่ว่อกแว่ก
- ค่าเฉลี่ย Deep Work ของคนปกติอยู่ที่ 3 ชั่วโมง
เคล็ดลับการสร้าง Deep Work
- ต้องนอนให้พอ
- ใช้ Deep Work กับเรื่องที่สำคัญ
- ออกกำลังกายแบบสั้นๆ
- ต้องรู้จักพักให้เป็น
- โทรศัพท์มือถือทำให้เสียสมาธิ
- หูฟังตัดเสียง กับเพลย์ลิสต์ดีๆ ช่วยเพิ่มสมาธิ
- การนั่งสมาธิช่วยได้มาก
ภาวะหมดไฟแบบปลอมๆ
- Burnout หรือ อาการหมดไฟ
- Phantom Burnout หรือ อาการหมดไฟปลอม
- เช็กอาการ Phantom Burnout
- เรื่องของเวลา หาเวลาที่ใช่
- เรื่องของงาน ลองใส่พลังกับงานให้เต็มที่
- ถ้ารู้สึกเหมือน Burnout ให้ออกไปหาไอเดียใหม่ๆ
- เบื่อทุกอย่าง เป็นเพราพไม่สนใจรายละเอียดมากพอ
- ไม่มีใคร Burnout กับงานที่สนุก
- ถ้าเจอ Noise ให้รีบเลิกสนใจ
- อยู่ห่างๆกับคนมองโลกแง่ลบ
- เช็กอาการ Phantom Burnout
สามกระบวนท่าในการตัดสินใจ
- การตัดสินใจทางธุรกิจ 3 ประเภท
- Reactive decision-making การตัดสินใจเชิงตอบโต้
- Proactive decision-making การตัดสินใจเชิงรุก
- Strategic decision-making การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
คำถามที่ใช่
- กระบวนการตั้งคำถาม สำคัญมาก ถ้าถามได้ถูกเรื่อง คำตอบก็จะถูกไปด้วย
2. จัดการธุรกิจ
3R : Rethink / Reframe / Refocus
3 กรอบที่ควรคำนึงถึง
- Rethinking Strategy Zoom out-Zoom In Strategy
- กลยุทธ์ซูมออก ซูมเข้า
- Reframe Innovation
- คิดใหม่เรื่องกรอบของนวัตกรรม
- Refocus Transformation
- ปรับโฟกัสใหม่เรื่อง Transformation
- กระดุมเม็ดแรก
3 คำถามของการเปลี่ยนแปลง
- เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงมั้ย
- เราสามารถเปลี่ยนได้มั้ย
- เราจะเปลี่ยนไหม
7 คำถาม สู่การวางแผนธุรกิจอย่างจริงจัง
- คำถามเชิงวิศวกรรม
- คำถามเรื่องเวลา
- คำถามเกี่ยวกับการผูกขาด
- คำถามเรื่องคน
- คำถามเรื่องการจัดจำหน่าย
- คำถามเรื่องระยะเวลา
- คำถามลับ
การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง คิดได้ ต้องทำให้ได้
- การจะทำของที่มีคนซื้อ ต้องเข้าใจลูกค้าเสียก่อน
ขยายได้ – ขยายไม่ได้
- ถ้าคำนึงถึงความสามารถในการขยายธุรกิจตั้งแต่แรก จะมีความสามารถในการขยาย Scalable สูงมากตามไปด้วย
- หลายธุรกิจที่ไม่ได้วางแผนในเรื่องนี้ไว้ จะกลายเป็นธุรกิจที่ขยายได้ช้า หรือไม่สามารถขยายได้ nonscalable
ทำธุรกิจเก่าแก่ให้กลับมายิ่งใหญ่
4 กลยุทธ์พลิกธุรกิจเก่าแก่ให้กลับมาสำเร็จ
- สนใจว่าอะไรคือแก่นที่ทำให้ธุรกิจมีกำไร
- ถ้าอยากทำให้ธุรกิจดีขึ้นก็ต้องขยาย
- คิดถึงการมีร้านค้าของตัวเอง
- ทำอย่างไรก็ได้ให้การดำเนินการดีขึ้น
วัฒนธรรมองค์กรวัดค่าอย่างไร
สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
- Play Culture วัฒนธรรมการเล่น
- Purpose จุดประสงค์
- Potential ศักยภาพ
- Emotional Pressure ความกดดันทางอารมณ์
- Economic Pressure ความกดดันทางเศรษฐกิจ
- Inertia ความเฉื่อย
วัฒนธรรมองค์กร อดีต / วันนี้ / อนาคต
วัฒนธรรมองค์กร ไม่ใช่การหมกมุ่นเรื่องประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียวแต่มาจากความเชื่อที่จะทำให้บริษัทเติบโตได้ ทั้งระดับองค์กร และระดับบุคคล เริ่มจาก
- ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ทุกคนรู้สึกปลอดภัย
- ใช้พลังโฟกัสไปที่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
รับมือฟีดแบ็กด้านลบบนโซเชียลมีเดีย
5 วิธีรับมือฟีดแบ็กด้านลบ
- ตอบกลับอย่างรวดเร็ว
- ขอโทษอย่างจริงใจ
- หาปัญหาที่แท้จริงด้วยความใจเย็น
- เปลี่ยนการสื่อสารจากออนไลน์เป็นออฟไลน์
- ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่การขอโทษ
ธุรกิจคือเรื่องเล่า
- เรื่องเล่า ทำให้มนุษย์มีโลก 2 ใบ
- โลกใบแรก คือ โลกของความจริง ดิน น้ำ ลม ไฟ ภูเขา
- โลกใบที่ 2 คือ โลกแห่งเรื่องเล่า โฉนดที่ดิน เงินตรา ลัทธิ
- 4 หัวใจสำคัญของเรื่องเล่า
- ใครคือคนฟัง
- ประสบการณ์ของเรา
- หัวใจของเรื่องที่อยากจากเล่า
- ทำให้ทุกอย่างเข้าใจง่าย
3. จัดการทีม
การบริหารจัดการความเครียดของทีม
- หลังจากได้รับงานมาต้องมีแผน
- ทำให้แน่ใจว่าทีมถูกแบ่งอย่างยุติธรรม
- มีขอบเขตของการใช้เทคโนโลยี
- แก้ไขการประชถมของคุณ
- วางแผนให้เกิดเวลาที่ไม่ถูกขัดจังหวะ
- แก้ปัญหาปริมาณงานที่เยอะเกินไป
- ต้องรู้ตลอดว่างานอะไรที่สำคัญจริงๆ
- 4 หัวข้อที่ต้องช่วยกันคิด
- มีเป้าหมายอะไร
- ใครอยู่ในทีมบ้าง
- ใครเก่งอะไร
- ใครบ้างที่ต้องพัฒนา
- ให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร
- บอกสิ่งที่คาดหวังอย่างชัดเจน
- คุยกันแบบ 1:1 บ้าง
ทำไมคนเดียวถึงทำลายทีมของคุณได้
- คนทัศนคติแย่ 1 คน ทำให้คนทัศนคติดีกลายเป็นคนทัศนคติแย่ได้
จะรับมือกับคน Toxic ในที่ทำงานได้อย่างไร
- รับมือกับ Toxic Employee หรือ พนักงานที่เป็นพิษ
- หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
- ต้องให้ฟีดแบ็กตรงๆ ให้โอกาสในการเปลี่ยนแปลง
- อธิบายถึงผลที่ตามมาหากไม่แก้ไข
- เก็บบันทึกหลักฐานความเสียหาย
- แยกคนที่ Toxic ออกจากคนอื่น
- อย่าใช้พลังงานเยอะเกินไปกับเรื่องนี้
เรื่องคนสำคัญที่สุด
- การโค้ชชิ่ง คืองานหลักของหัวหน้า
- เทคนิคการโค้ชที่ดี Ask, Listen, Empathize ถาม ฟัง เข้าใจ/เห็นใจ
การให้เกียรติก็เหมือนกับอากาศ
- การให้เกียรติมี 2 ประเภท
- Owed Respect คือ ทุกคนเท่าเทียมกัน เป็นส่วนหนึ่งของทีม
- Earned Respect คือ คนที่ทำงานดี จะได้รับการยอมรับ
- 7 ข้อ สร้างวัฒนธรรมการให้เกียรติกัน
- วางเกณฑ์ของการให้เกียรติ
- เข้าใจวิธีการให้เกียรติที่เป็นปกติ
- เข้าใจว่าการให้เกียรติมีผลต่อเนื่อง
- ใช้ Earned Respect อย่างเหมาะสม
- การ Respect ใช้ได้ไม่จำกัด
- การให้เกียรติคนอื่นไม่เสียเวลา
- ต้องจริงใจ ตรงไปตรงมา
จะหาคนคุณภาพ ต้องออกแบบการสัมภาษณ์อย่างเข้าใจ
- 6 หมวดตั้งคำถามการสัมภาษณ์
- หมวดเรื่องคุณค่า
- หมวดเรื่องการทำงาน
- หมวดวิธีคิดการแก้ปัญหา
- หมวดการมองอนาคต
- หมวดการเรียนรู้
- หมวดปัจจัยการเลือกงาน
พลวัตของความสุข
- 3 ข้อคิดเรื่องความสัมพันธ์
- ความสัมพันธ์ทางสังคมมีผลต่อเรามาก
- คุณภาพของความสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญ
- ความสัมพันธ์ที่ดีช่วยปกป้องสมองของเราได้
เพื่อนกัน
- คนเราไม่ค่อยเสียใจกับเรื่องที่ทำไปแล้ว
- คำล้อจากเพื่อนมีความจริงอยู่ครึ่งหนึ่ง
- เส้นทางชีวิตทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์ใหญ่ๆเพียงครั้งเดียว
- อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง
- เราเห็นโลกแบบที่เราเป็น ไม่ใช่แบบที่มันเป็น
- ต้องทุ่มเทไปกับเรื่องที่เราถนัดจริงๆ
- การลงทุนกับตัวเองมีค่าที่สุด
- วินัยคือสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่พรสวรรค์
- เลือกคนที่อยู่รอบตัวให้ดี
- บริหารเวลา และเงินให้เป็น
- อย่าหวังอะไรใหม่ๆจากพฤติกรรมเก่าไ
- สะสมเรื่องราวมากกว่าสิ่งของ
- ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือสร้างยากที่สุด
รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nk95mh