#รีวิวหนังสือ เพราะแบบนี้ลูกค้าถึงอยากกลับมาอีกครั้ง

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ เพราะ แบบนี้ลูกค้าถึงอยากกลับมาอีกครั้ง เล่มนี้ จะเปลี่ยนขาจรให้เป็นขาประจำและเพิ่มยอดขายถึง 7 เท่า ภายในเวลาแค่ 90 วัน!

รีวิวหนังสือ เพราะ

“จากร้านค้าที่เงียบเหงาจากธุรกิจที่ขาดทุนมานาน” รีวิวหนังสือ เล่มนี้จะช่วยทำให้คุณ พลิกฟื้นร้านค้าหรือธุรกิจที่ใกล้จะเลิกกิจการให้กลับมาขายดี ด้วยการใช้ “กลไกขายดีอัตโนมัติ”

9

8

ผู้เขียน : Yasuhisa Takata (ยาสุฮิสะ ทาคาตะ)
ผู้แปล : ปาวัน การสมใจ


บทที่ 1 ทำไมลูกค้าถึงไม่กลับมาอีก

7

ลูกค้าขาจรที่มาแค่ครั้งเดียวมีอยู่มากถึง 70%

  • 70% ลูกค้าที่มาซื้อแค่ครั้งเดียว
  • 30% ลูกค้าที่มาซื้อซ้ำ

และเคล็ดลับง่ายๆที่จะช่วยให้ร้านประสบความสําเร็จคือแค่ทำให้ลูกค้าขาจร กลับมาใช้บริการอีกครั้ง ถ้าใช้แต่วิธีลดราคา ก็จะดึงดูดแต่ลูกค้า “ที่เน้นเรื่องราคา” แต่หากสินค้าหรือบริการคุณมี คุ้นค่าก็ไม่จำเป็นต้องลดราคาเพื่อเรียกลูกค้า

บทที่ 2 วิธีเปลี่ยนลูกค้าครั้งเดียวให้เป็นลูกค้าประจำได้มากขึ้น “7 เท่า”

6

  • นำข้อมูลลูกค้าในช่วง 3 เดือน
  • มาเปรียบเทียบเพื่อดูแนวโน้มพฤติกรรม
  • แบ่งลูกค้าเป็น 2 กลุ่มใหญ่
  • กลุ่ม A ไม่มาอีกในช่วง 3 เดือน
  • กลุ่ม B ลูกค้าที่มา 2 ครั้งขึ้นไป
  • ลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำ 2 ครั้งขึ้นไปใน 3 เดือน
  • มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นลูกค้าประจำ

สาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำที่แท้จริงนั้นคือลูกค้าแค่ ลืม ร้านคุณไปเท่านั้นต้องกระตุ้นลูกค้าให้กลับมาซื้อซ้ำ 2 ครั้งขึ้นไปใน 3 เดือน เช่น ส่งจดหมายหรืออีเมล์ถึงลูกค้าภายใน 3 เดือน ต้องส่งถึง 3 ครั้งเพื่อไม่ให้ลูกค้าลืม

บทที่ 3 “3 เครื่องมือ” ที่ช่วยเพิ่มลูกค้าประจำได้มากขึ้น 7 เท่า

5

กฎ 3 ข้อ สมองมนุษย์ มักจะลืมสิ่งต่างๆ เมื่อผ่านไป 3 วัน 3 สัปดาห์ 3 เดือน การทำให้ลูกค้า นึกออก จึงเป็นเรื่องสำคัญ
การส่งเมล์ต้องเน้น จังหวะ และ เนื้อหา เป็นพิเศษ

3 วันให้หลัง แต๊งกิ้วเมล์ สื่อความรู้สึกขอบคุณไปให้ลูกค้า บอกความใส่ใจ กับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของร้าน ความรู้สึกอันแรงกล้า เช่น เปิดร้านนี้ขึ้นมาด้วยความรู้สึกแบบไหนพบความยากลำบากอะไรบ้าง อยากให้ลูกค้ารู้สึกอย่างไร

3 สัปดาห์ให้หลัง ไลน์เมล์ โชว์หลักฐาน ความพิเศษของตัวเอง คือการให้คนอื่น

พูดชมแทนในไลน์เมล์

  1. ให้ คนในแวดวงเดียวกัน เป็นผู้แนะนำ
  2. ใช้ การจัดอันดับ หรือ รางวัลที่เคยได้
  3. ใช้ เสียงตอบรับจากลูกค้า ให้เป็นประโยชน์

ปริมาณ สำคัญกว่า คุณภาพ คำชมเล็กๆน้อยๆจากคนร้อยคน มีค่ามากกว่าสุดยอดคำชมของคนๆเดียว

3 เดือนให้หลัง เลิฟเมล์ เป็นการ ล่อด้วยเงิน การลดราคาที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ซื้อไม่ได้ โดยมากจะอยู่ที่ 30% ขึ้นไปห้ามส่งให้กลับลูกค้าที่มาซื้อซ้ำหลังได้รับ แต่งกิ่วเมล์กับไลก์เมล์เป็นอันขาด

บทที่ 4 วิธีใช้ “ฐานข้อมูลลูกค้า” ให้ร้านประสบความสำเร็จ

4

ร้านที่ดูไม่น่าจะมีกำไร แต่อยู่มายาวนานแทบจะร้อยทั้งร้อย ล้วนรู้จักเอาข้อมูลลูกค้ามาพลิกแพลงใช้ให้เป็นประโยชน์กันทั้งสิ้นวิเคราะห์ฐานข้อมูลลูกค้า แล้วส่งเมล์ออกไป

บทที่ 5 ทำไมถึงไม่มีลูกค้าใหม่

3

ทำไมลูกค้าถึงไม่เลือกร้านคุณต่อให้สินค้าหรือบริการเลิศเลอแค่ไหนราคาดึงดูดใจเพียงใดต้อนรับลูกค้าได้น่าประทับใจเท่าไหร่ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าไม่เลือกร้านคุณซึ่งไม่เกี่ยวกับ คุณภาพสินค้า ราคา หรือวิธีต้อนรับท่ามกลางร้านค้าประเภทเดียวกันที่มีอยู่นับไม่ถ้วนทำไมลูกค้า ถึงไม่เลือกร้านคุณ นั้นเพราะลูกค้าไม่รู้ว่า จะเลือกร้านคุณไปทำไมเพราะฉะนั้น คุณต้องบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเลือกร้านคุณออกมาให้ชัดๆลูกค้าจะเลือกเข้าร้านใหม่ โดยการคาดเดา

บทที่ 6 วิธีเรียกลูกค้าใหม่ให้แห่เข้าร้านอย่างรวดเร็ว

2

ทำสุดยอดเครื่องมือที่ชื่อว่า เมนูแจก นั้นคือ เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้ความใส่ใจ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ความรู้สึกอันแรงกล้าหากเขียนด้วยลายมือจะดีมากควรแยกทำแต๊งกิ้วเมล์ ไลก์เมล์ เลิฟเมล์ ต่างหาก

การลดราคาอาจเป็นกลยุทธ์ยอดฮิตที่ใช้กระตุ้นยอดขายแต่ยังมีวิธีอื่นที่ได้ผลเหมือนกัน นั้นคือ การสื่อสาร ความรู้สึกนึกคิด ของคุณออกไปให้ถึงใจลูกค้า แจกเมนูแจก โดยเริ่มจากลูกค้าที่ร้านก่อนโดยแนบไปกับแผ่นพับหรือใบปลิว ถ้าจะลดราคาก็ต้องมีหลักการจำไว้ว่าหลักการคือต้องทำให้ลูกค้าประพอใจก่อนเป็นอันดับแรกและห้ามให้ความสําคัญกับการหาลูกค้าใหม่มากกว่าลูกค้าประจำเด็ดขาด

วิธีเรียกลูกค้าแบบอื่น นอกเหนือจากการใช้เมนูแจกและแอนะล็อกบล็อกเรียกลูกค้าด้วยการบอกต่อแบบปากต่อปาก มันอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะดีใจเวลาที่รู้สึกว่า “มีแค่เราเป็นคนพิเศษ” อินเทอร์เน็ตคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของลูกค้า

รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ihk2D1

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต