#รีวิวหนังสือ เพราะคุณมีเวลาไม่มากพอที่จะทำทุกอย่าง
สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ เพราะคุณมีเวลา ไม่มากพอที่จะทำทุกอย่าง เล่มนี้ กราฟความสุขในชีวิตของคนส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายตัว U เรามีความสุขมากในช่วงที่ยังอายุน้อย จากนั้นเมื่ออายุ 25 ความสุขของเราก็จะลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง และไม่เคยเพิ่มขึ้นอีกเลยจนถึงวัยเกษียณ หนังสือเล่มนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยมีสมาธิและมีตารางเวลาที่แน่นเอี๊ยด
คุณสามารถทำอะไรก็ได้ แต่คุณไม่สามารถทำทุกสิ่งได้ อย่างน้อยก็ในเวลาเดียวกัน
- กลัวให้น้อยลง ซื่อสัตย์กับตัวเองให้มากขึ้น
- คัดกรอง ระบุว่าสิ่งใดและใครที่มีความสำคัญ
- กำจัดส่วนเกิน วางมือจากสิ่งที่ไม่สำคัญ
- จัดลำดับความสำคัญ ให้สิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของคุณอยู่ในลำดับแรกๆ
- จดจ่อ ทำในสิ่งที่รักและทำให้มันออกมาดีสุดๆ
เขียน : Shaa Wasmund
ผู้แปล : ศรินธร อมาตยกุล
สำนักพิมพ์ : We Learn
จำนวนหน้า : 232 หน้า
ราคา : 240 บาท
ส่วนที่ 1 ชีวิตของเราซับซ้อนขนาดนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่
ทุกครั้งที่คุณไขว้เขวจากงานหนึ่งเพราะสิ่งใดหรือใครก็ตาม คุณจะต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ย 11 นาทีเพื่อกลับไปจดจ่อกับงานนั้น และถ้าบังคับตัวเองให้ทำสิ่งใดนานเกิน 90 นาทีอาจทำให้ประสิทธิภาพต่ำลง
ติดอยู่ในกับดักแห่งความยุ่งวุ่นวาย
คุณผลักไสความฝันของตัวเองให้ไปอยู่ท้ายแถวหรือเปล่า? การผลักไสสิ่งต่างๆไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย ดังนั้นคุณควรทำในสิ่งที่ตัวเองรัก เพราะมันจะนำไปสู่ความสำเร็จ
อย่าใช้ชีวิตแบบเส้นผมบังภูเขา การหาทางออกจากกับดักของความยุ่งวุ่นวายนั้นยาก วิธีเดียวที่จะช่วยให้มองเห็นทางออกได้ชัดเจนขึ้น คือการสร้างพื้นที่ให้ตัวเอง หาเวลาอยู่กับตัวเองสัก 5 นาที
- ถอยทัพและทบทวน
- อย่ายึดติดกับภาระหน้าที่เกินไป
- ความเครียดทำให้ประสิทธิภาพลดลง
- อย่าสนองความต้องการของคนอื่นจนเกินไป
- ทำให้เรียบง่ายเข้าไว้
เราตกเป็นเหยื่อของความกลัวได้อย่างไร
คนเราจะรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการมากที่สุด มีความเสี่ยงสูงกว่าสิ่งอื่น เป็นเพราะว่า เรากังวลกับผลลัพธ์มาก จนสมองสรรหาสารพัดข้ออ้าง คุณจะทำอะไรไม่ได้เลย หากนึกถึงแต่อุปสรรค และรอช่วงเวลาที่เหมาะสม
เสียงที่บอกว่าคุณยังไม่พร้อม คือความกลัวที่ปลอมตัวมา ดังนั้นเสียงที่คุณต้องฟัง คือ สัญชาตญาณของตัวเองที่บอกว่า นี่คือสิ่งที่ควรทำ
- เลิกรอให้ตัวเอง พร้อม จงลงมือทันที
- ความล้มเหลว คือโอกาสในการเติบโต
การเปลี่ยนนิสัยที่เป็นมาตลอดชีวิต
- การเปลี่ยนแปลงมักจะนำสิ่งดีๆเข้ามา
- แม้ช่วงแรกจะทำให้อึดอัดใจอยู่บ้าง
กลัวให้น้อยลง เป็นอิสระให้มากขึ้น
- ความเสี่ยง : สถานการณ์ที่ทำให้ต้องเผชิญกับอันตราย โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์หรือไม่น่ายินดี
- โอกาส : สถานการณ์ที่เอื้อให้คุณลงมือหรือทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จ โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดสิ่งที่น่ายินดีขึ้น
การกระทำเล็กๆที่กล้าหาญ
Courage (ความกล้าหาญ) คือ “การกระทำที่ออกมาจากใจ” ดังนั้น การใช้ชีวิตอย่างกล้าหาญจึงไม่ได้หมายถึงการปราศจากความกลัว ทุกครั้งที่คุณรู้สึกกลัว นั่นหมายความว่าคุณกำลังยืนอยู่หน้าประตู ซึ่งนำไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ เมื่อก้าวข้ามความกลัวไปได้ สิ่งที่รอรออยู่คือความสำเร็จ
ส่วนที่ 2 สิ่งใดที่สำคัญจริงๆ
ทุกคนเชื่อว่าเป้าหมายหลักของชีวิต คือการทำตามแผน แต่พวกเขากลับไม่เคยฉุกคิดว่ากำลังทำตามแผนของตัวเองหรือแผนของคนอื่น คุณต้องทำสิ่งที่ไม่สำคัญให้น้อยลง เพื่อจะได้มีเวลาจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สำคัญจริงๆ
สิ่งที่เราต้องทำไม่ใช่การไขว่คว้าสิ่งที่คิดว่าตัวเองควรมี แต่เป็นการทำตามความปรารถนาที่แท้จริง
หากไม่มีความฝันอันยิ่งใหญ่เราก็จะไม่มีสิ่งใดให้ยึดเป็นเส้นชัย และมุ่งมั่นที่จะก้าวไปให้ถึง เราจะติดอยู่ในจุดเดิมไปตลอดกาล โดยได้แต่สงสัยว่า “จะเป็นอย่างไรถ้า…”
ชีวิตธรรมดาๆ จะกลายเป็นชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อคุณ : ถามตัวเองว่าอะไร คือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ และอะไรคือ สิ่งสำคัญ ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่น้อยกว่าแต่ดีกว่าแทน
อะไรคือเคล็ดลับสู่ความสุขของคุณ
- การบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเอง ค้นหาพรสวรรค์ของตัวเอง
- ความภาคภูมิใจในตัวเอง ความสำเร็จ ความเชี่ยวชาญ การยอมรับ
- ความเป็นส่วนหนึ่งหรือความรัก เพื่อน ครอบครัว คู่ชีวิต คนรัก
- ความปลอดภัย สวัสดิภาพ ความมั่นคง
- ความต้องการทางกายภาพ อาหาร น้ำ ที่อยู่
ส่วนผสมของสมองที่มีสุขภาพดี (Healthy Mind Platter) เพื่อแสดงให้เห็นว่า เราต้องพัฒนาอะไรบ้างในการดูแลตัวเอง
- การนอนหลับ
- กิจกรรมทางร่างกาย
- การจดจ่อ
- เวลาสำหรับการทบทวน
- การผักผ่อนหย่อนใจ
- การเล่นสนุก
- การรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น
ความสุขนำไปสู่ความสำเร็จ นั่นก็เพราะคนที่ทำให้เรามีความสุขจะดึงตัวตนที่ดีที่สุดของเราออกมา
ประเด็นสำคัญ คือ การให้ความสำคัญกับคนที่สำคัญต่อเราอย่างแท้จริงต่างหาก
เมื่อใดที่เลิกทำเรื่องสนุกๆ คุณก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ตายแล้ว
เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์
เมื่อจดจ่ออยู่กับการทำสิ่งที่ถนัดคุณจะพบว่าตัวเองเข้าสู่ ภาวะลื่นไหล เมื่อเข้าสู่ภาวะลื่นไหล
- รู้สึกมีพลังและมุ่งมั่นมากขึ้น
- เรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น
- มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- รู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำสิ่งนั้นให้มากขึ้น
การทำสิ่งที่ไม่ถนัดให้น้อยลง และจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ ตัวเองถนัดจะก่อให้เกิดวงจรแห่งความมีประสิทธิภาพที่ทรงคุณค่า
ส่วนที่ 3 ชีวิตแบบ “ยิ่งน้อยก็ยิ่งมาก”
สัญชาตญาณของคุณถูกต้องระบบต่างหากที่ผิด
จงเชื่อสัญชาตญาณของตัวเองจนถึงที่สุด แม้คุณจะไม่อาจหาเหตุผลมาอธิบายมันได้
– ราล์ฟ วัลโด เอเมอร์สัน –
ความมั่นใจในการคัดกรองสิ่งที่ไม่ต้องการและรู้จักปฏิเสธให้มากขึ้น
จะทำให้คุณมีพื้นที่สำหรับการทำสิ่งที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมมากขึ้น
สมองส่วนอารมณ์ของเรามักส่งเสียงรบกวนหรือจ้อไม่หยุด
– ดร.สตีฟ ปีเตอร์ส นักจิตวิทยาการกีฬาเรียกสมองส่วนนี้ว่า ชิมแปนชี –
แก้ไข คัดกรอง จดจ่อ
วิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือการจดจ่ออยู่กับเป้าหมายทีละอย่าง ยิ่งมีทางเลือกให้ตัวเองมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งตัดสินใจเลือกได้ยากขึ้นเท่านั้น
คุณไม่อาจควบคุมทุกอย่างได้ แต่เลือกได้ว่าสิ่งใดที่สำคัญต่อตัวเอง
คิดให้น้อยลงสักนิดและลงมือทำให้มากขึ้นอีกหน่อย ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีล้ำหน้าสักแค่ไหน แนวคิดจะกลายเป็นความจริงได้ก็ต่อเมื่อเราลงมือทำ
การคิดมากเกินไปนำไปสู่ความกลัวพุ่งสูงขึ้น จนบั่นทอนความกล้าหาญในการลงทำอะไรสักอย่าง การไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำได้ เพราะมัวแต่กังวลในสิ่งที่ ไม่ได้ทำ
สร้างแผนที่ความคิด
แผนที่ความคิด คือ วิธีจัดระเบียบและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดหลัก โดยช่วยให้เรามองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่าแต่ละองค์ ประกอบเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ส่วนที่ 4 สำเร็จมากขึ้นด้วยการทำให้น้อยลง
สร้าง นิสัยแห่งการลงมือทำ
อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งคุณต้องทำให้สำเร็จในวันนี้ แล้วการกระทำใดที่คุณทำได้ หรือต้องเลิกทำเพื่อให้มีเวลาและพื้นที่ในการทำสิ่งนั้น
ถ้ามีสิ่งที่อยากทำจริงๆ จากก้นบึ้งของหัวใจ คุณต้องก้าวออกไปและมองหาผู้สนับสนุน หากคุณอยากก่อตั้งธุรกิจของตัวเอง ก็คงคบหากับกลุ่มคนที่มีเป้าหมายแบบเดียวกัน เพื่อพูดคุย สนับสนุน และช่วยเหลือกัน
มีคนเพียง 2% เท่านั้น ที่ทำหลายสิ่งพร้อมกันได้ดี ในขณะที่ ผู้คนอีก 98% ไม่สามารถทำหลายสิ่งพร้อมกันได้
วิธีที่ดีที่สุดในการจัดตารางเวลาเพื่อสร้างสิ่งที่มีคุณค่าคือ การกำหนดเส้นตายย่อยๆ เส้นตายที่ห่างไกลจากปัจจุบันมากจะทำให้คุณไม่ค่อยรู้สึกถึงความเร่งด่วน คุณสามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการแบ่งงานใหญ่ไออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ
ทำทีละอย่าง และทำออกมาให้ดีที่สุด
บทสรุป
- เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่าชีวิตหนักหนาจนเกินจะรับไหว จงนำสิ่งๆต่างๆเข้ามาในชีวิต ให้น้อยลงสักหน่อย
- นึกถึงความสมบูรณ์แบบให้น้อยลง อยู่กับความเป็นจริงให้มากขึ้น
- ลดความซับซ้อนให้น้อยลง สร้างผลกระทบให้มากขึ้น
- เสริมแต่งให้น้อยลง เน้นการใช้งานจริงให้มากขึ้น
- ตึงเครียดให้น้อยลง สนุกให้มากขึ้น
- อย่าเสียเวลามากกว่านี้แม้แต่นาทีเดียว
- อย่าปล่อยให้ทักษะหรือความปรารถนาอันแรงกล้าของคุณสูญเปล่า
รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fHtOyb