#รีวิวหนังสือ จิเอะ CEO สาวมัธยม กู้วิกฤต สู้สุดใจ ยังไงก็ต้องรอด
ในหนังสือเล่มนี้ จะทําให้รู้จักธุรกิจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โลจิสติกส์ และ การนับสต๊อก สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาการควบคุมคุณภาพ รวมถึง 3 ข้อสําคัญ ในการทําธุรกิจ รู้ซึ้งถึง “คุณค่า” ที่บริษัทมี มุมมองด้านการตลาด เข้าใจโครงสร้างกําไรธุรกิจ
เขียน : ไคโนะโช มะซะอะคิ, มิยุคิ
แปล : ศิริพร บัณฑิตย์จิรกุล
ราคา 199 บาท
จำนวน 176 หน้า
1. ค่าเสื่อมราคา/การคํานวณสต๊อก
พื้นฐานการบริหาร คือ ความเข้าใจเรื่องกําไร
การบริหารบริษัทต้องเผชิญความเสี่ยงอยู่ตลอด บริษัทคู่แข่งก็คอยแย่งส่วนแบ่ง ทางการตลาดอยู่ทุกวัน ดังนั้น การหาผลกําไรของบริษัทต้องคํานวณให้ดี ถ้าคํานวณ ผลกําไร โดยใช้ “ยอดขาย ลบด้วย รายจ่าย” อาจทําให้ขาดทุน และไม่สามารถคํานวณ ผลกําไรที่แท้จริงของบริษัทให้ถูกต้องได้ เช่น ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้ต่อเนื่องหลายปี ก็ต้อง แบ่งค่าใช้จ่ายนั้นคํานวณเป็นหลายๆ ปีด้วย ซึ่งนี่คือวิธีการคํานวณ “ค่าเสื่อมราคา
การคํานวณสต๊อก
- วิธีการคาดคะเนที่ง่ายที่สุด คือ การใช้ข้อมูลในอดีต KKD : Keiken : ประสบการณ์ | Kan : ความรู้สึก | Dokyo : ความกล้า
- วิธีหาค่าเฉลี่ยยอดขายในอดีต ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) การเฉลี่ยยอดขายในช่วง 3 ปี หรือ 1 ปีย้อนหลัง
- ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average)
“ทําความเข้าใจ วิธีคํานวณผลกําไรให้ได้ก่อน”
2. นับสต๊อก/อัตราสินค้าขาดแคลน
จงเป็นเพื่อนที่ดีกับสต๊อก
ในการกําหนดมาตรฐานว่าสต๊อกควรมีจํานวนมาก หรือ น้อย มักดูจาก “จํานวนสต๊อกว่ามีพอขายได้กี่เดือน” โดยเอาจํานวนยอดขายต่อปี หารด้วย 12 จะได้ตัวเลขยอดขายเฉลี่ยต่อเดือน แล้วเอาผลดังกล่าวหารด้วยจํานวนสินค้าในสต๊อก ณ ปัจจุบัน จะทราบว่าสินค้าในสต๊อกตอนนี้มีเพียงพอสําหรับจําหน่ายได้กี่เดือน
สต๊อกขั้นต่ำ (เซฟตี้สต๊อก) คือ สต๊อกที่เพื่อปริมาณเอาไว้ล่วงหน้า เวลามียอดสั่งซื้อ เข้ามามากกว่าที่คาดคะเนไว้ สินค้าก็ไม่ขาด สิ่งสําคัญ คือ การเก็บข้อมูล “อัตราสินค้าขาดแคลน” ให้ถูกต้อง เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
OEM และ QCD
- OEM คือ การจัดจ้าง บริษัทอื่นให้ผลิตสินค้าแทน เพื่อลดต้นทุน
- QCD ใช้เป็นหลักเกณฑ์ เปรียบเทียบบริษัทคู่ค้าที่รับทํา OEM
Quality คุณภาพ | Cost ต้นทุน | Delivery การจัดส่ง
“การนิยามธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์บริษัท”
3. การประกาศกับ ข้อมูลล่วงหน้า
ลีดไทม์
ลีดไทม์ในการจัดซื้อ จํานวนวันนับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อ จนกระทั่งวันที่จัดส่งสินค้า ลีดไทม์ในการผลิต จํานวนวันที่ดําเนินการผลิต จนเสร็จเป็นสินค้า กรณีรู้จํานวนที่ต้องผลิตในภายหลังก็ ประกาศอย่างไม่เป็นทางการ และกําหนดจํานวนเอาไว้ เพื่อให้บริษัทคู่ค้าเริ่มผลิตได้ก่อน
ข้อมูลล่วงหน้า เป็นแค่ข้อมูลที่บอก “บริษัทผู้ผลิต” ให้รับทราบ ไว้ว่าอาจมีการสั่งสินค้าในอีกไม่กี่เดือนแต่ยังไม่ได้กําหนดตายตัว ซึ่งไม่มีความจําเป็นต้องสั่งซื้อก็ได้
พื้นฐานการผลิต คือ การจัดซื้อ การผลิต และโลจิสติกส์ งาน “โลจิสติกส์” ไม่ใช่เพียงการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง การบรรจุหีบห่อ การเก็บรักษาสินค้า จนถึงเวลาส่งออก และการเตรียมสินค้าเพื่อส่งออก
“ทําให้ลูกค้าชื่นชม และสร้างผลกําไรอย่างต่อเนื่อง”
4.“ISO” และ “POS”
ระบบ JIT
เป็นวิธีที่ทําให้ในไลน์ผลิตมีเฉพาะชิ้นส่วนที่จําเป็นต้องใช้ ไม่มีของอื่นที่ไม่เกี่ยว ไม่ต้องเสียพื้นที่ไปกับการวางชิ้นส่วนที่ไม่จําเป็น และตัดปัญหาการหยิบชิ้นส่วนผิด
ISO องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน สวิตเซอร์แลนด์
- ISO 9000 การควบคุมคุณภาพ
- ISO 14000 เกี่ยวกับการควบคุมสิ่งแวดล้อม
POS System Point of Sale หมายถึง ระบบที่ใช้ในการบริหาร สต๊อก และวัตถุดิบทางการตลาดด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการขาย
คุณฟังเสียงลูกค้าจริงๆ อยู่หรือเปล่า
บริษัทที่ประสบความสําเร็จต้อง “รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าเป็นอย่างดี” การที่พนักงานทุกคน “รับฟังเสียงที่แท้จริงของลูกค้า” โดยไม่เกี่ยงว่า เป็นฝ่ายพัฒนา หรือ ฝ่ายขาย คือสิ่งที่จําเป็นในปัจจุบัน
“การแก้ไขปัญหา เป็นหน้าที่สําคัญของที่ปรึกษา”
5.ยืนยันวันส่ง และควบคุมคุณภาพ
การสร้างแบรนด์ของบริษัท
การยืนยันวันส่งสินค้า เป็นเครื่องวัดความสามารถการสื่อสารในองค์กร การควบคุมคุณภาพอาจดูเหมือนเรื่องไม่น่าสนใจ แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องสําคัญ เป็นปัจจัยทําให้ลูกค้าพึงพอใจ จึงต้องมีการแนะแนวให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นความสําคัญ
ปรัชญาบริษัท คือ ป้ายบอกทางเพื่อให้บริษัทกลายเป็นแบรนด์
กลยุทธ์แบรนด์ คือ การสร้างผู้ชื่นชอบอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทําให้ลูกค้ารับรู้ถึง “ราคาที่ยอมรับได้ เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า และไม่ทําให้ผิดหวังเด็ดขาด
สิ่งสําคัญในการทํากลยุทธ์แบรนด์ คือการกําหนด “คุณค่าที่บริษัทอื่นเสนอให้ไม่ได้” การวางแผน “ให้สินค้าเราต่างจากบริษัทอื่น และเห็นถึงความแตกต่างชัดเจน
ต้องรู้ซึ้งถึง “คุณค่า” ที่บริษัทมี ลูกค้าต้องการสินค้า และบริการที่มีคุณค่า ผู้นําทางด้านต้นทุน / การสร้างความแตกต่าง / การมุ่งเจาะตลาดเฉพาะส่วน เป็นการกําหนดกลุ่มเป้าหมาย ให้เหลือเพียงลูกค้ากลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แล้วนําเสนอคุณค่าที่เหมาะสมที่สุดสําหรับลูกค้ากลุ่มนั้น
“ต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยการตอบสนองลูกค้า”
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2ZsgycQ
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)