#รีวิวหนังสือ ขาย 100 ให้ได้ 1,000

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ ขาย 100 ให้ได้ 1,000 เล่มนี้ คุณอาเบะ ฮานะจิโร่ได้สรุปย่อประเด็นสำคัญจากหนังสือต้นฉบับมาถ่ายทอดในรูปแบบที่เข้าใจง่ายผ่านตัวการ์ตูนและเพิ่มบทวิเคราะห์ในแต่ละบทเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจยิ่งขึ้นอีกด้วย

รีวิวหนังสือ ขาย

16

15

นักเขียน นาไง ทาคาฮิสะ
แปล ถิรวุฒิ ยศบุตร, ภูริช ขิงทอง

ราคา 199 บาท จำนวน 176 หน้า


1. นิยามธุรกิจ

14

ทําไมบริษัทรถไฟของอเมริกาถึงซบเซา

สาเหตุสําคัญ คือ พวกเขามองว่า ธุรกิจของตนคือ “ธุรกิจเดินรถไฟ” ไม่ใช่ “ธุรกิจการขนส่ง” ถึงลูกค้าจะหันไปใช้รถประจําทาง หรือ เครื่องบิน ก็ไม่ใช่ปัญหา ส่งผลให้ธุรกิจเดินรถไฟซบเซา

นิยามธุรกิจที่มุ่งเน้นลูกค้า กูเกิลไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็น “ธุรกิจให้บริการสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต แต่เป็น “จัดระเบียบข้อมูลทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลและนําไปใช้ได้”

“แนวคิด ลูกค้าคือพระเจ้า” ไม่ได้เป็นเพียงปรัชญาจิตนิยม แต่เป็นแนวคิดที่ขาดไม่ได้ ในการพยุงธุรกิจให้ดํารงอยู่

“การนิยามธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์บริษัท”


2. หลุมพลางแนวคิดลูกค้าคือพระเจ้า

13

“สินค้าที่ผลิตตามความคิดเห็นของลูกค้า” ขายไม่ได้

จริงๆ แล้วลูกค้าไม่รู้ปัญหาของตัวเอง ดังนั้นไม่ควรยึดติดกับ “ความคิดเห็นของลูกค้า” แต่ให้คํานึงถึงปัญหาที่ลูกค้าคิดไม่ถึง และหาวิธีแก้ปัญหานั้น แค่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่อาจทําให้ลูกค้าพึงพอใจได้

คุณจึงต้องตื่นตัวต่อการ ตระหนักรู้ดัชนีความคาดหวังของลูกค้า และ มอบคุณค่า ที่เหนือกว่าดัชนีความคาดหวังนั้น

เทคนิคการลดราคา

ชนะการแข่งขันราคาในวงการ มีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้น คือ บริษัทที่ครองส่วนแบ่ง การตลาดสูงที่สุด หรือ ผู้นําตลาด เพราะผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ําที่สุดได้

ปัจจัยที่ทําให้ผู้นําตลาดมีต้นทุนต่ำที่สุดมี 2 ประการ

  1. ต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ยิ่งผลิตสินค้ามาก ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยยิ่งลดลง
  2. การสั่งสมประสบการณ์

“ผลิตภัณฑ์ที่ไม่คํานึงถึงลูกค้า ขายไม่ได้แน่นอน”


3.เหตุผลที่หมากฝรั่งได้รับความนิยม

12

โปรโมชั่นคุณค่า

เราเรียกสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และ Iรามอบให้ได้ แต่บริษัทคู่แข่งมอบให้ไม่ได้ โปรโมชั่นคุณค่า เช่น หมากฝรั่งที่มีสารไซลิทอล ที่เลิกแบ่งปันกันในเรื่องของรสชาติ หรือ กลิ่น แล้วหันมาเปิดตลาดใหม่ ด้วยการสร้างปัจจัยใหม่อย่าง ป้องกันฟันผุ

  • ภาวะการแบ่งปันดุเดือดและล่มสลาย เรียก RED OCEAN
  • ตลาดใหม่เอี่ยมอ่องที่ไม่มีคู่แข่ง เรียก BLUE OCEAN

กําหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

เริ่มต้นแผนผลิตภัณฑ์ด้วยการ กําหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และโจทย์ธุรกิจเป็นเรื่องสําคัญที่สุด เพราะถือเป็น จุดเริ่มต้นของโปรโมชั่น ก่อนนําผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ พร้อมทั้งวางกลยุทธ์ ส่งเสริมการขาย กลยุทธ์ช่องทางการจัดจําหน่าย และกลยุทธ์ราคาตามแนวคิดนั้น

“ทิ้งความต้องการของลูกค้า เป็นเรื่องในอุดมคติที่ทําได้ยาก”


4.ไม่ต้องเสนอขายสินค้าด้วยตัวเอง

11

กลยุทธ์ช่องทางการจัดจําหน่าย

คือ การคํานึงถึงการสร้างสถานการณ์ WIN WIN กลยุทธ์ที่ประสานงานกับ พันธมิตรนอกองค์กร โดยไม่ต้องทําขั้นตอนทั้งหมดในบริษัทตัวเอง และ จัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าในทุกช่องทางอย่างเหมาะสม

การแข่งขันด้านราคาเป็นเรื่องน่ากลัว

  1. ลูกค้าชั้นดีจะเอาใจออกห่าง
  2. ดึงดูดแต่กลุ่มลูกค้าที่แพ้ของลดราคา

ร้านที่ 1 ขายราคาคงที่ และขายได้ทุกวัน
ร้านที่ 2 ขายครึ่งราคาในวันหยุดกลับขายไม่ได้เลยในวันอื่นๆ

การลดราคาเป็นวิธีที่เห็นผลทันที แต่ว่าลูกค้าชั้นดีจะหายไป กิจการจึงค่อยๆ ทรุดลง ต้องหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคา แล้วหันมาแข่งขันด้านคุณค่า เพิ่มคุณค่าให้ลูกค้าอย่างเต็มที่

“ทําสิ่งที่ตัวเองเท่านั้นที่ทําได้ งานจึงสําเร็จ”


5. กระแสนิยม

10

การสร้างกระแสนิยมเป็นเรื่องสําคัญ

ถ้าอยากจะขายได้อย่างยั่งยืน ต้องสื่อสารในเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง วิธีสร้างความต่อเนื่องของ “การสื่อสาร” เชิงกลยุทธ์

  • มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
  • กําหนดวัตถุประสงค์
  • ออกแบบการสื่อสาร
  • เลือกช่องทางสื่อสาร
  • ตั้งงบประมาณ
  • กําหนดส่วนประสมการสื่อสาร

โฆษณาดูดี แต่ขายไม่ออก?

เพราะไม่สามารถถ่ายทอด คุณค่าของสินค้า สู่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เวลาขายสินค้าใหม่ สิ่งสําคัญอยู่ที่การพยายามเจาะตลาดลูกค้า กลุ่มนวัตกร และกลุ่มผู้ที่ยอมรับนวัตกรรมได้ง่าย

“ความผิดพลาดจะมีความหมายต่อเมื่อเรียนรู้มัน”

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3lcrC5A


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต