รวม Timeline คนบันเทิง ปิดร้าน! เซ่นพิษโควิด
การแพร่ระบาดของCOVID 19 คนทุกแวดวงได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่บรรดาคนบันเทิงที่หลายคนหันไปสร้างธุรกิจของตัวเองเพื่อให้มีรายได้มากขึ้นแต่ผลจากวิกฤติ COVID ในระลอกที่ 3
ส่งผลให้ธุรกิจของคนบันเทิงต้องปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่ปิดแบบชั่วคราวหรือบางคนก็ประกาศปิดถาวรเลยทีเดียว www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมข้อมูลธุรกิจที่ของคนบันเทิงที่ต้องปิดตัวมานำเสนอเพื่อให้เห็นภาพว่าวิกฤติ COVID ครั้งนี้สาหัสขนาดไหน
1.ร้าน GRAM คาเฟ่ & แพนเค้ก (กรีน อัษฏาพร)
ภาพจาก bit.ly/3zFVLiz
ร้าน GRAM คาเฟ่ & แพนเค้ก เป็นกิจการแฟรนไชส์ที่กรีน อัษฏาพร และ ธันวา สุริยจักร เลือกลงทุน โดยเริ่มเปิดตัวเมื่อปี 2562 ที่เซ็นทรัลลาดพร้าว ซึ่งจากการแพร่ระบาดของCOVID ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 ทำให้ร้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งมาตรการปิดห้างสรรพสินค้าชั่วคราว , ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้าน ทำให้ยอดขายตกลงมาก ซึ่งทางร้านก็พยายาประคองกิจการเรื่อยมา แต่มาหนักอีกครั้งในระลอกที่ 3 ที่ทำให้ทางร้านขาดทุนหนัก และปิดกิจการลงในปี 2564
2.ชาบู อู๊ดเป็นต่อ
ภาพจาก bit.ly/3kJlD8Q
ชาบูอู๊ดเป็นต่อเปิดตัวครั้งแรกในปี 2559 ใช้เวลาเพียง 1 ปี สาขาขยายสาขาได้ถึง 15 แห่ง และกิจการดูจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ขยายสาขาได้ถึง 50 แห่งก่อนที่จะเจอกับวิกฤติ COVID โดยทางร้านได้พยายามปรับตัวสู้มาตลอดทั้งการปรับมาทำเดลิเวอรี่ , ปรับลดสาขาในบางแห่ง ทำให้เหลือสาขาของชาบู อู๊ดเป็นต่อประมาณ 30 แห่ง ก่อนที่วิกฤติ COVID ระลอก 3 ทำให้เกิดปัญหาอย่างสูงสุดจึงตัดสินใจปิดกิจการทั้งหมดตั้งแต่เดือนพฤกษภาคม 2564 ที่ผ่านมาแฟรนไชส์ชาบูอู๊ดเป็นต่อนั้นเปิดสาขาแรกที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์
3.ร้านขนม Lunar Nuna (ออม สุชาร์)
ภาพจาก bit.ly/3x3Xigq
ร้าน Lunar Nuna ของนักแสดงสาวสวยอย่าง ออม สุชาร์ เป็นร้านคาเฟ่ขนมหวานสไตล์เกาหลี เปิดตัวครั้งแรกปี 2560 ที่ตึกสยามสแควร์วัน ชั้น 1 โดยเป็นร้านที่มีจุดเด่นของเมนูซึ่งมีอย่างหลากหลาย เป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างมาก แต่จากผลกระทบของการแพร่ระบาด COVID โดยเฉพาะระลอกที่ 3 ทำให้ร้านเจอปัญหาอย่างมาก จึงได้ตัดสินใจปิดกิจการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา
4.ร้านอาหาร “บ้านครบรส” (อี๊ฟ พุทธธิดา)
ภาพจาก bit.ly/3eJey4g
ร้านอาหาร “บ้านครบรส” ของ อี๊ฟ พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นร้านอาหารสไตล์โฮมเมด มีเมนูหลากหลายของทั้งสี่ภาค ในบรรยากาศแบบอบอุ่น โดยร้านอยู่บริเวณถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เขตวังทองหลาง เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2563 ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ต้องเจอคือวิกฤติ COVID ซึ่งได้พยายามแก้ไขปัญหาให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้แต่เนื่องจากวิกฤติรอบนี้หนักมาก แถมมีรายจ่ายต่อเดือนสูง ทำให้แบกรับภาระไม่ไหวจึงต้องประกาศปิดกิจการในเดือนพฤกษภาคม 2564
5.ร้านปิ้งย่าง Monster Beef (อาเล็ก ธีรเดช)
ภาพจาก bit.ly/3rvcO3Z
ร้านปิ้งย่างเนื้อเกรดพรีเมี่ยม Monster Beef ของอาเล็ก ธีรเดชที่ลงทุนหุ้นกับเพื่อนๆเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2559 พิกัดของร้านอยู่ย่าน สุคนธสวัสดิ์ 30 ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดยช่วงก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID ถือเป็นร้านยอดฮิตที่ลูกค้าสนใจจำนวนมาก แต่พอมีเจอวิกฤติ COVID หลายระลอกทำให้ร้านประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง และตัดสินใจปิดกิจการเมื่อเดือนกรกฏาคม 2563
6.ร้านกุ้งแม่น้ำเผา (คิง ก่อนบ่าย)
ภาพจาก bit.ly/3ru2UiN
คุณณภัทร ชุ่มจิตตรี หรือคิง ก่อนบ่าย ดาราตลกที่ตอนนี้ตลกไม่ออกกับมรสุมที่เจอเพราะ COVID นอกจากงานหาย รายได้หด ตัดสินใจเปิดร้านกุ้งแม่น้ำเผา ที่บ้านย่านซื่อ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อช่วงต้นปี 2564 เพื่อหวังจะมีรายได้เสริมเข้ามาชดเชยแต่เมื่อเจอผลกระทบจาก COVID ระลอก3 ที่หนักหนาสาหัสทำให้รายได้ไม่เป็นไปอย่างที่หวังทำให้ตัดสินใจปิดกิจการในเดือนพฤษภาคม 2564
7.ร้านอาหารตำเพลิน (นิว วงศกร)
ภาพจาก bit.ly/36W6CZ6
ตำเพลิน ร้านอาหารอีสานที่นิว วงศกร หุ้นส่วนกับเพื่อนดาราเปิดตัวในปี 2555 ที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขาภิบาล 5 โดยมีเมนูอาหารน่าสนใจมากมาย เป็นร้านยอดฮิตที่มียอดขายดีมากก่อนการแพร่ระบาดของ COVID แต่เมื่อเจอกับการแพร่ระบาดในระลอกใหม่นี้ทำให้แบกรับต้นทุนไม่ไหว รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่ไม่เอื้อให้เปิดร้านได้ จึงได้ตัดสินใจปิดกิจการในเดือนมีนาคม 2564
8.ร้านไอศกรีม iberry garden (โน้ต อุดม)
ภาพจาก bit.ly/3Bw78Lu
โน๊ต อุดม แต้พานิช ประกาศปิดกิจการร้านไอศครีม iberry garden เชียงใหม่ หลังจากเปิดกิจการนาน 13 ปีสาเหตุที่ต้องปิดกิจกาจเป็นเพราะการระบาดของ COVID ที่ทำให้ร้านไม่มีรายได้ เพราะฐานลูกค้าเดิมเป็นชาวต่างชาติถึง 80% และชาวไทย 15% เมื่อมีการระบาดก็ทำให้ต้องยอมปิดกิจการ โดยร้านแห่งนี้ โน้ต อุดมได้ขอซื้อแฟรนไชส์มาเปิดเมื่อปี 2551 และสร้างรายได้ที่ดีมาโดยตลอด แต่จากวิกฤติครั้งนี้ทำให้ต้องประกาศปิดกิจการเมื่อเดือนเมิถุนายน 2564
9.ร้านอาหาร “ครัวลุงรงค์” (จาตุรงค์ ม๊กจ๊ก)
ภาพจาก bit.ly/3rtC9uU
นักแสดงตลกชื่อดัง จาตุรงค์ พลบูรณ์ หรือที่รู้จักกันในนามจาตุรงค์ ม๊กจ๊ก เปิดตัว ร้านครัวลุงรงค์อยู่ที่โพธาราม ราชบุรีเมื่อปี 2560 ในสไตล์ธรรมชาติมีเมนูอร่อยมากมายเช่นหัวปลาต้มเผือก , ยำไข่ลุงรงค์ เป็นต้น จากวิกฤติ COVID ในระลอกนี้ก็ทำให้ทางร้านได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงได้ปิดร้านเป็นการชั่วคราวและหันมาเปิดขายอาหารแบบ Drive Thru สั่งอาหารทานกับบ้าน ให้บริการตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา
10.ร้าน เดอะช็อค ข้าวต้มผี (ป๋อง กพล)
ภาพจาก bit.ly/3xZh4Li
คุณกพล ทองพลับชายผู้คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน เป็นผู้ดำเนินรายการ The Shock ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากนี้ในปี 2544 ยังได้เปิดร้านเดอะช็อค ข้าวต้มผี ที่อยู่บริเวณซอยนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว ซึ่งเป็นร้านชื่อดังที่คนรู้จักเป็นอย่างดี ก่อนวิกฤติ COVID ถือว่าสร้างรายได้เป็นอย่างดี แต่จากการแพร่ระบาดของ COVID ระลอกที่ 3 ทำให้ร้านเดอะช็อค เองแบกรับภาระต่อไปไม่ไหวทำให้ประกาศปิดกิจการร้านข้าวต้มในตำนานแห่งนี้ในเดือนพฤกษภาคม 2564
11.ร้านแซ่บตาสวด (นุช วิลาวัลย์)
ภาพจาก bit.ly/3rvSJu0
นักร้องลูกทุ่งหมอลำชื่อดัง นุช วิลาวัลย์ ลงทุนเปิดร้านแซ่บตาสวด by นุช วิลาวัลย์ เมื่อปี 2561 โดยร้านแห่งนี้อยู่ย่านมหาวิทยาลัยรังสิตเมนูเด็ดของร้าน คือ เมนูยำต่าง ๆ และมีสูตรเด็ดที่ปลาร้า โดยตั้งแต่มีวิกฤติ COVID ก็สามารถประคับประคองร้านให้ผ่านมาได้ แต่ในการแพร่ระบาดระลอก 3 นี้หนักหนาสาหัสมาก จนต้องประกาศปิดกิจการในเดือนเมษายน 2564
12.ร้านอาหารแบรนด์นิวฟีลด์กู๊ด (นิว นภัสสร , เป๊ก เปรมณัช)
ภาพจาก bit.ly/3ryrL55
ร้านอาหารแบรนด์นิวฟีลด์กู๊ด ของคู่รักดาราอย่างนิว นภัสสร และ เป๊ก เปรมณัช เป็นร้านสไตล์คาเฟ่ดึงความเป็นชนบทมาสผสมผสานกับสไตล์ลอฟท์ได้อย่างลงตัว แถมมีมุมถ่ายรูปสวยๆให้ลูกค้าด้วย พิกัดของร้านอยู่ที่ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดตัวในปี 2561 และเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวอย่างดี สร้างรายได้น่าพอใจ แต่จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID ที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างมากทำให้ต้องประกาศปิดกิจการในเดือนมิถุนายน 2564
13.ร้านแบงค็อก โรตีแอนด์ชาชัก (ใหญ่ ฝันดี)
ภาพจาก bit.ly/3kMmCoJ
เป็นอีกหนึ่งดารามากความสามารถสำหรับคุณใหญ่ ฝันดี ที่มีผลงานเพลงและละครมากมาย นอกจากนี้ยังได้เปิดร้าน แบงค็อก โรตีแอนด์ชาชัก ย่านเกษตร-นวมินทร์ ในปี 2562 โดยมีเมนูน่าสนใจเช่นโรตีไข่ดาวแฮม โรตีแกงเขียวหวาน โรตีไข่ เป็นต้น แต่จากวิกฤติการแพร่ระบาด COVID ระลอก 3 จากเดิมเคยมีรายได้ต่อวันหลักหมื่น เหลือเพียงวันละ 300 บาทจึงประกาศปิดกิจการในเดือนมิถุนายน 2564
14.ร้านคาเฟ่ K+E CAFÉ (เอสเธอร์ , เคน ภูภูมิ)
ภาพจาก bit.ly/3zmJoaE
เอสเธอร์ สุปีร์ลีลา และ เคน ภูภูมิ พงศ์ภาณุ เป็นอีกหนึ่งคู่รักดาราที่ทำธุรกิจร่วมกันโดยเปิดร้านคาเฟ่ K+E CAFÉ ในปี 2561 เป็นคาเฟ่สไตล์อบอุ่น เล็กๆ น่ารัก อยู่ที่ โครงการ Market Place รังสิตคลอง 1 โดยมีเมนูของหวาน และเครื่องดื่มให้ลูกค้าเลือกจำนวนมาก อย่างไรก็ดีในการแพร่ระบาด COVID ที่ผ่านมาทางร้านประคองสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้จนมาถึงระลอกที่ 3 ที่หนักหนาสาหัสและยื้อต่อไปไม่ไหวจึงได้ประกาศปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2564
ในยุควิกฤติเช่นนี้คนในสังคมไทยต้องให้ความช่วยเหลือกันให้มากขึ้น ตามกำลังที่ตัวเองพึงมี แม้ว่าแต่ละคนจะเจอปัญหาที่หนักมาก การจะหวังพึ่งภาครัฐอย่างเดียวก็มองไม่เห็นโอกาสที่จะดีขึ้นได้ ก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์นี้จะคลี่คลายดีขึ้นได้ในเร็ววัน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3rzV0Vk
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)