รวม 7 วิธีเปลี่ยนของมือ 2 สร้างรายได้ให้ตัวเอง

ความต้องการของคนส่วนใหญ่ตอนนี้คือ “การหารายได้” เพื่อชดเชยกับส่วนที่ขาดหายจากการตกงาน ว่างงาน บางคนถูกลดเงินเดือน พ่อค้าแม่ค้าบางคนขายของได้น้อยลง เพราะกำลังซื้อของคนมีน้อย แต่คำถามคือจะหาวิธีสร้างรายได้แบบไหนอย่างไรในยุคที่คนส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้าน

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการนำสิ่งของที่เรามีออกมาจำหน่ายถือเป็นวิธีที่น่าสนใจ ซึ่งสินค้ามือ 2 ที่ว่านี้ข้อดีคือเราไม่ต้องลงทุนเพราะเป็นของที่มีอยู่แล้ว อาศัยแค่กลยุทธ์การตลาด ก็น่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเราได้มากขึ้น

ทำไมการนำของเก่าที่เรามีมาขาย! ถึงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ?

สร้างรายได้ให้ตัวเอง

ภาพจาก www.kaidee.com/

การเริ่มต้นขายของมืองสองแบบไม่ต้องลงทุนสักบาททำได้เพราะเราขายของที่เรามีอยู่แล้ว ของมือสองคือของที่เราซื้อมาใช้ แล้วอาจจะไม่ชอบ ไม่เหมาะกับเรา หรืออาจจะใช้ไปเพียงครั้งเดียว ทำให้เรานำของเหล่านี้มาขายต่อแม้บางชิ้นเราจะซื้อมาแต่ยังไม่ได้ใช้ก็ตาม

เช่น หากเราชอบเสื้อผ้า แค่เปิดตู้เสื้อผ้าเราจะเห็นว่ามันมีมากแค่ไหน บางชุดใส่ไปครั้งเดียว หรือบางชุดใส่แล้วไม่ชอบ แต่เราก็ยังคงเก็บมันไว้ในตู้เสื้อผ้า หรือหากบ้านไหนมีเด็กเล็ก มีของเล่นเยอะ บางชิ้นอาจไม่ได้เล่น ไม่ได้ใช้แล้วก็สามารถนำมาขายได้เช่นกัน และเป็นความโชคดีของคนในยุคนี้ที่การตลาดออนไลน์ช่วยให้เราสร้างธุรกิจได้ง่าย

ที่สำคัญ พฤติกรรมการซื้อของคนส่วนใหญ่จะไปรวมตัวกันอยู่ในโลกออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ การเลือกแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้เราไม่ต้องไปเช่าพื้นที่ ไม่มีค่าเดินทาง เรียกว่าแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยนอกจากค่าอินเตอร์เนตเท่านั้น

โดยช่องทางการขายมีหลายแพลตฟอร์มที่น่าสนใจเช่น Facebook , Facebook Marketplace , Pantip , Kaidee รวมถึงช่องทางออนไลน์อื่นๆที่มีอีกจำนวนมาก ลองมาดูว่าถ้าเราคิดจะสร้างรายได้ในรูปแบบนี้จะมีวิธีการแบบไหนอย่างไรที่น่าสนใจบ้าง

รวม 7 วิธีเปลี่ยนของมือ 2 สร้างรายได้ให้ตัวเอง

1.โพสต์ขายออนไลน์

3

ภาพจาก www.freepik.com/

เป็นวิธีที่ง่ายและเหมาะสมกับยุคนี้ อย่างที่ได้กล่าวไปว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ตอนนี้มีให้เลือกมากมาย ขั้นแรกเราต้องค้นหาสินค้าที่เราต้องการนำเสนอและรู้จักกลยุทธ์ในการขาย ในการเข้าถึงลูกค้า ที่สำคัญต้องไม่อาย ต้องกล้าที่จะนำเสนอสินค้าให้คนรู้จักอาจช่วยทำให้เรามีรายได้จากการขายสินค้ามือ 2 ของตัวเราเองได้

2.วางขายสินค้าหน้าบ้าน

สำหรับคนที่พอจะมีพื้นที่หน้าบ้านหรืออยู่ในย่านชุมชนคนพลุกพล่าน เราอาจสำรวจสินค้าของเราว่ามีอะไรที่น่าสนใจ อยู่ในสภาพใช้งานได้ เอามาวางขายหน้าบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าก็เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจเช่นกัน

3.เพิ่มมูลค่าสินค้ามือ 2 ให้ขายได้ราคามากขึ้น

ึ

สินค้าที่เราไม่ใช้แล้วบางอย่างเช่น เสื้อผ้าหรือกระเป๋า เราอาจนำมาทำเป็นงาน DIY ที่เพิ่มมูลค่าการขายได้มากขึ้น และอาจมีสินค้าอีกหลายอย่างที่นำมาดัดแปลงเพิ่มมูลค่าการขายให้กลายเป็นสินค้าติดไอเดียที่น่าสนใจมากขึ้นโดยเราไม่ต้องลงทุนซื้อสินค้าใหม่มาขาย

4.เปิดท้ายขายของ

5

สำหรับคนที่มีรถกระบะ หรือรถยนต์อาจมีวิธีขายสินค้ามือ 2 ด้วยการเปิดขายตามตลาดนัด แม้ว่าในตอนนี้จะอยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาด COVID แต่สิ่งที่เห็นในวิกฤตินี้คือคนต้องการสินค้าในราคาถูก ซึ่งสินค้ามือ 2 จะตอบโจทย์เป็นอย่างมาก

5.ตัวแทนจำหน่ายสินค้ามือ 2

หลายคนตั้งใจขายสินค้ามือ 2 เป็นธุรกิจจริงจัง ถ้าเรามีสินค้าของตัวเองไม่มากพอ อาจเลือกวิธีการเป็นตัวแทนจำหน่าย หรือการไปรับสินค้ามือ 2 จากพ่อค้ามาจำหน่ายต่อ ซึ่งก็มีหลายคนที่ใช้วิธีนี้และประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการขายเป็นสำคัญด้วย

6.ขายสินค้ามือ 2 ริมทาง

6

ช่วงนี้เราจะเห็นร้านค้าริมทางมากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ห้างสรรพสินค้าเปิดทำการไม่ได้ หลายคนตกงาน ว่างงาน การขายสินค้าริมทางก็เป็นวิธีง่ายๆ แค่มีโต๊ะ 1 ตัว รถ 1คันและสินค้า ก็สามารถขายได้ทุกที่ที่เราต้องการ แถมยังไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่และเคลื่อนย้ายที่ขายได้สะดวกด้วย

7.เปลี่ยนสินค้ามือ 2 ให้เป็นสินค้าแฟชั่น

1

ภาพจาก https://bit.ly/3EgPWu7

โดยเฉพาะบรรดาเสื้อยืด กางเกงยีนส์ กระเป๋า สินค้าเหล่านี้ถ้าเอามาพัฒนาให้เป็นสินค้าแฟชั่นจะเพิ่มมูลค่าการขายได้มากขึ้น หลายคนที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนสินค้ามือ 2 เป็นสินค้าแฟชั่นและสร้างยอดขายมีรายได้ที่ดีมาก

นอกจากนี้ในรูปแบบของธุรกิจขนาดใหญ่วิธีการเปลี่ยนสินค้ามือ 2 เป็นรายได้อาจมีอีกหลายวิธีที่น่าสนใจเช่น การ Upcycle พลิกโฉมสิ่งของที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือบางชิ้นรอวันทิ้งเป็นขยะ เอากลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยกระบวนการออกแบบให้เป็นของชิ้นใหม่ที่สวยและมีมูลค่ามากกว่าเดิม

ตัวอย่างเช่น กระเป๋าผ้าจากแบรนด์ Madmatter ที่หยิบเอาเศษผ้าเหลือใช้มาผสมกับเนื้อผ้าอื่นๆ หรือผ้าที่ค้างสต็อคในโรงงานมาแปลงเป็นกระเป๋าผ้าสีสวย หรือการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการสินค้ามือ 2 เช่น Burberry หรือ Gucci ก็ร่วมมือกับบริการฝากขายอย่าง RealReal เพื่อรวบรวมและขายต่อผลิตภัณฑ์มือสองของแบรนด์ หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มอย่าง Vestiaire Collective ที่ผู้บริโภคสามารถขายสินค้าฟุ่มเฟือยใช้แล้วได้โดยตรง 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3EvjFzF

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด