รวม 7 กลยุทธ์ “ขายดี” แม้ว่า “ไม่มีหน้าร้าน”
สมัยก่อนถ้าอยากขายของ “ต้องมีหน้าร้าน” แต่มาสมัยนี้ “หน้าร้าน” อาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป แม้ว่าการเปิดหน้าร้านจะมีข้อดีคือการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าได้มากขึ้น ลูกค้ามีโอกาสได้เลือกจับสินค้าที่ตัวเองถูกใจ ต่อรองราคาได้ง่าย เป็นต้น แต่นับจากมีการแพร่ระบาดของโควิด กระแสการขายของออนไลน์ถูกเร่งให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
หลายธุรกิจต้องผันตัวเองไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์+เดลิเวอรี่ และก็กลายเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้ที่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลังการแพร่ระบาดโควิดคลี่คลาย พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปชัดเจนจะทำให้ “การมีหน้าร้าน” ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องเป็นกังวลอีกต่อไป
แต่คำถามคือว่า ถ้าเราไม่มีหน้าร้าน แล้วจะทำยังไงให้ขายดี เพราะสัดส่วนของพ่อค้าแม่ค้าที่มีหน้าร้านก็ยังคงมีเยอะกว่า ดังนั้นลองมาดูว่าถ้าขายสินค้าแบบไม่มีหน้าร้านจะใช้วิธีไหนอย่างไร ให้ขายดีได้บ้าง ก่อนอื่นจะไปพูดถึงวิธีขายดี แบบไม่มีหน้าร้าน เราควรมาทำความเข้าใจก่อนว่า การไม่มีหน้าร้าน นั้นมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง
ข้อดีของการไม่มีหน้าร้าน
ภาพจาก www.freepik.com
- ไม่มีต้นทุนค่าเช่าพื้นที่สามารถเปิดร้านได้เลยทันที
- ประหยัดต้นทุนในเรื่องการจ้างพนักงาน เพราะไม่มีหน้าร้านก็ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาก (มี 1-2 คนก็พอ)
- บริหารจัดการง่ายเพราะสามารถดูแลได้ทั่วถึง
- ต้นทุนสินค้าถูกลงทำให้ขายสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เหมาะสมกับรายได้ของคนยุคนี้
- ไม่ต้องมีเวลาเปิด-ปิดร้าน ทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้ทุกที่ ทุกเวลา รับออร์เดอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งสินค้าที่ขายได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้านนั้นมีหลากหลายทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บางคนเปิดร้านขายสเต๊ก แต่เน้นการขายแบบเดลิเวอรี่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีหน้าร้าน ใช้พนักงานแค่ 2-3 คน ก็สามารถมีรายได้ต่อวันไม่ต่ำกว่า 2,000 -3,000บาท หรือบางคนเปิดร้านขายเครื่องดื่มเน้นขายเดลิเวอรี่ก็สร้างรายได้ที่ดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้การวางระบบบริหารจัดการในร้านก็เป็นสิ่งสำคัญ คนที่ไม่มีหน้าร้านจะต้องใส่ใจในเรื่องคุณภาพสินค้าและวางระบบการสั่งสินค้าในร้านให้มีประสิทธิภาพด้วย
7 กลยุทธ์ ขายดี แม้ว่า “ไม่มีหน้าร้าน”
แน่นอนว่าเมื่อเราไม่มีหน้าร้านสิ่งที่เราต้องทำก็คือการขายแบบเดลิเวอรี่ หรือการขายออนไลน์ ซึ่งเราต้องมีความชำนาญในการใช้โซเชี่ยลมีเดียต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุด ซึ่งมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจดังนี้
1.ใช้ Line Official Account
ภาพจาก https://bit.ly/3oVB1B8
Line OA เป็นตัวช่วยที่ดีในการดึงดูดลูกค้า เพราะนอกจากจะทำให้ร้านได้ใกล้ชิดกับลูกค้าแล้ว สามารถที่จะใช้ Line บัตรสะสมแต้มในการดึงดูดลูกค้า เพราะการสะสมแต้มไม่จำเป็นต้องมาที่หน้าร้าน แต่สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าไม่ว่าจะเครื่องดื่ม หรืออาหารทางร้านก็สามารถเพิ่มคะแนนให้ลูกค้าได้ทันที ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำกันได้ง่าย ๆ แถมเป็นช่องทางออนไลน์ที่ไม่ต้องใส่รายละเอียดมากเท่ากับช่องทางอื่น ๆ
2. การใช้ Facebook
ภาพจาก https://pixabay.com/
ช่องทางออนไลน์ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และถือเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่มีผู้คนใช้กันหลากหลายทุกเพศทุกวัย รวมถึงยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้หลาย ๆ ธุรกิจ รวมถึงร้านเครื่องดื่มมียอดขายเพิ่มมากขึ้นสำหรับการเพิ่มยอดขายด้วย Facebook นั้นให้เริ่มต้นด้วยการสร้างเพจ Facebook โดยให้ใช้ชื่อร้านตรงกับชื่อเพจ ใช้รูปโปรไฟล์ตรงกับรูปโลโก้ร้านหรือรูปหน้าร้าน รวมถึงให้ใส่ข้อมูลของร้านให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ วันและเวลาเปิด-ปิดร้าน และที่สำคัญคือการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร โปรโมชั่นเกี่ยวกับร้านอย่างต่อเนื่อง
3. การทำช่อง Youtube
ภาพจาก https://pixabay.com/
คอนเทนต์วิดีโอถือเป็นคอนเทนต์ที่มีการรับชม และเข้าถึงมากกว่าคอนเทนต์ภาพ หรือตัวหนังสือ ดังนั้นช่องทางออนไลน์อย่าง Youtube จึงจะมีคนเข้าชมจำนวนมาก นอกจากการเพิ่มยอดขายสินค้าได้เป็นอย่างดี หากคอนเทนต์ต่าง ๆ ในช่องของร้านมีผู้ชมมาก ก็สามารถที่จะหารายได้จากช่องของร้านได้อีกทาง สำหรับใครที่เปิดร้านขายอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็อาจจะทำวิดีโอเกี่ยวกับการชงเครื่องดื่มเมนูต่าง ๆ สูตรเมนูต่างๆ หรือแบ่งปันเทคนิคต่าง ๆ จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าเราได้มากขึ้น
4. ทำการตลาดด้วย TikTok
ภาพจาก https://pixabay.com/
TikTok เป็นช่องทางออนไลน์ล่าสุดที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าเป็นช่องทางที่มีแต่เรื่องไร้สาระ แต่จริง ๆ แล้วในปัจจุบันนี้หลาย ๆ คนเริ่มใช้ช่องทางนี้ในการเผยแพร่ความรู้ รวมไปถึงทักษะต่าง ๆ การรีวิวสินค้า และมักจะดึงดูดผู้ชมได้ในจำนวนมาก และนับว่าเป็นช่องทางออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ไม่แพ้ช่องทางอื่น ๆ โดยปัจจุบันTikTok มีผู้ดาวน์โหลดไปใช้งานแล้วทั่วโลกมากกว่า 1,000 ล้านครั้ง ซึ่งในประเทศไทยในประเทศไทย มีการดาวน์โหลด TikTok เพิ่มสูงขึ้นถึง 44% และมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 18 – 34 ปี ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของจำนวนผู้ใช้ทั้งหมดในประเทศไทย
5. Live สด ขายสินค้า
ภาพจาก www.freepik.com
สินค้าที่เหมาะกับการ Live สด ส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า ของเล่น หรือสินค้าแฟชั่นต่างๆ ซึ่งคนที่อยากขายสินค้าเหล่านี้บางทีไม่ต้องมีหน้าร้าน แต่รู้จักการ Live สด ให้น่าสนใจ โดยขั้นแรกต้องมีอุปกรณ์พร้อม มีความเร็วอินเทอร์เนตเพียงพอ มีการเขียน Scrip ที่ดึงดูดลูกค้าได้อย่างดี
รวมถึงควรมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจด้วย การขายของด้วยวิธีการ Live สด หากเป็นช่วงเปิดร้านใหม่ๆ ที่ยังไม่มีลูกค้ามากนัก เจ้าของร้านก็สามารถทำคนเดียวได้โดยไม่ต้องมีผู้ช่วย แต่เมื่อยอดขายเติบโตขึ้นและมีลูกค้าเข้ามามากขึ้น การขาย การหยิบสินค้า และการคอนเฟิร์มการจองออเดอร์ อาจจะต้องเพิ่มผู้ช่วย Live สดเข้ามาช่วยดูแลในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้การขายราบรื่นและจบลงอย่างไม่สะดุด ก่อนลูกค้าเสียอารมณ์จนต้องเปลี่ยนไปดูร้านอื่น
6. ทำตลาดด้วย Instagram
ภาพจาก https://pixabay.com/
นึกถึง Instagram ต้องนึกถึงความสวยงาม ความทันสมัย และแน่นอนว่าช่องทางนี้แหละก็จะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายได้ ซึ่งในช่องทางนี้สามารถที่จะใส่รายละเอียดต่าง ๆ ของร้านได้มากพอสมควร รวมไปถึงการจะอัปเดตข้อมูลข่าวสาร อาจจะต้องเน้นการถ่ายรูปภาพสินค้าให้น่าสนใจ และรูปภาพจะต้องดูสวยงาม มีรายละเอียดสินค้าครบถ้วน รวมถึงสามารถที่จะสร้างแฮชแท็ก # ของร้านได้โดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศไทยจำนวนผู้ใช้งาน Instagram มีจำนวนมากกว่า 16 ล้านบัญชี ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ใหญ่และมีแนวโน้มจะเติบโตเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
7. บริการ Delivery
ภาพจาก www.freepik.com
ช่องทางการเพิ่มยอดขายที่ดีที่สุด ซึ่งพบว่าในปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ออกมาให้บริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่กระจายทั่วทั้งประเทศ หรือบริษัทเล็ก ๆ ที่ให้บริการเฉพาะพื้นที่ตามแต่ละจังหวัด ซึ่งบริการ Food Delivery นี้เป็นช่องทางที่ลูกค้านิยมใช้มากที่สุด เพราะสามารถสั่งซื้อสินค้าได้จากร้านที่ชอบโดยไม่ต้องไปซื้อหน้าร้าน รวมถึงยังได้รับส่วนลด ได้รับค่าจัดส่งฟรี !
นอกจากนี้ยังบางบริษัทยังสมัครฟรี แต่อาจมีข้อเสียอยู่ที่ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่น แต่ทั้งนี้ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีเพราะจะทำให้มียอดขายเพิ่มมากขึ้น สำหรับคนที่ไม่มีหน้าร้าน ช่องทางเดลิเวอรี่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้และการที่ธุรกิจเดลิเวอรี่มีการเติบโตและแข่งขันกันมากขึ้นนี้เองที่ทำให้หลายคนตัดสินใจอยากขายสินค้าแบบไม่มีหน้าร้านมากขึ้น
สิ่งสำคัญของการขายสินค้าที่ไม่มีหน้าร้านเราต้องพึ่งพาโซเชี่ยลให้ถูกวิธี ข้อมูลระบุว่าผู้ใช้งานช่วง 1 ปีที่ผ่านมาคนไทยใช้งานโซเชี่ยลมีเดียถึง 55 ล้านคน จากประชากรทั้งประเทศ 69.88 ล้านคน หรือคิดเป็น 78.7% ของทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 3 ล้านคน โดยผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียมีอายุระหว่าง 16-65 ปี และมีแนวโน้มว่าผู้ใช้ที่มีอายุประมาณ 55-64 ปีนั้นชื่นชอบการซื้อของออนไลน์
โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใช้ 1 คนมีบัญชี social media ถึง 10 บัญชี 90% ของประชากรใช้งาน Youtube และ Facebook ตามมาด้วย LINE (86.2%), Instagram (64.2%), TikTok (54.8%) ภาพรวมของการค้าบนโลกออนไลน์นั้นเติบโตขึ้นถึง 20% ในทุกหมวดหมู่ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร ของแต่งบ้าน ของเล่น เป็นต้น จะเห็นได้ว่านี่คือตัวเลขที่ชัดเจนว่าทำไมหลายคนถึงได้หันมาขายสินค้าแบบไม่มีหน้าร้านกันมากขึ้นในยุคนี้
อ้างอิงจาก https://bit.ly/30gtP8e
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)