รวม 5 เทคนิคปลูกผักในขวด! สร้างรายได้ยุคเงินเฟ้อ
ยุคเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าแพงทุกอย่างสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิมหรือลดลง คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการลดรายจ่ายและหารายได้เพิ่มให้มากที่สุด www.ThaiSMEsCenter.com มีไอเดียการปลูกผักในขวดมาฝากเพราะเรามองว่าการนำ
ขวดพลาสติก ที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้แล้วทิ้งมาทำเป็นภาชนะปลูกผักสวนครัวชนิดต่าง ๆ เช่นพริก , เห็ด , ต้นอ่อนทานตะวัน , โหระพา , กระเทียม ,ปวยเล้ง , ต้นหอม ไม่ใช่แค่การลดต้นทุนหรือทำเป็นกิจกรรมยามว่าง แต่ถ้าใส่ไอเดีย รู้จักใช้กลยุทธ์การตลาดการปลูกผักในขวดจะสร้างรายได้เพิ่มให้เราได้ด้วย
5 เทคนิคการปลูกผักในขวดที่ควรรู้!
ภาพจาก https://bit.ly/3Bp1JH2
อุปกรณ์ของการปลูกผักในขวดไม่มีอะไรยุ่งยาก ทุกอย่างหาได้รอบตัว สิ่งที่ควรมีคือความรู้ในการปลูกผักซึ่งแต่ละชนิดอาจมีคุณสมบัติต่างกัน ลองไปดูว่ามีเทคนิคการปลูกอะไรที่น่าสนใจบ้าง
1.ปลูกผักในขวดแนวตั้ง
ภาพจาก https://bit.ly/3LoDZal
เหมาะสมกับการปลูกพืชผักที่มีระบบรากลึก เลือกใช้ขวดที่มีความลึกอย่างน้อย 10 ซม.ขึ้นไป พืชที่เหมาะกับการปลูกในแนวตั้ง เช่น พริก ตะไคร้ กะเพรา โหระพา หรือพืชจำพวกไม้เลื้อยอย่างแตงกวา แตงร้าน เป็นต้น ซึ่งการปลูกผักแนวตั้งยังเป็นไอเดียที่นำไปใช้กับการตกแต่งบ้าน แต่งห้อง ให้ดูมีสีสัน เช่นปลูกและแขวนไว้ข้างกำแพงห้อง , ข้างรั้ว (ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้) เป็นต้น
2.ปลูกผักในขวดแนวนอน
ภาพจาก https://bit.ly/3BQSFvZ
ข้อดีของขวดแนวนอนคือมีพื้นที่มากกว่าขวดแนวตั้ง แต่สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือความลึกที่น้อยกว่า ดังนั้นจึงควรเลือกเฉพาะผักอายุสั้น และมีระบบรากไม่ลึก ยกตัวอย่างเช่น ผักชี คะน้า กวางตุ้ง หอม กระเทียม หรือผักอายุสั้นอื่นๆ ที่สามารถให้ผลผลิตเร็ว
3.ปลูกผักออแกนิคในขวด
ภาพจาก https://bit.ly/3DyDsAK
เป็นการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน สิ่งที่ต้องมีคือขวดน้ำพลาสติก , ฟองน้ำสำหรับปลูกผัก ,เมล็ดผัก , และปุ๋ยน้ำสำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ วิธีการปลูกเริ่มจากนำเมล็ดผักมาใส่ลงในฟองน้ำประมาณ 3-5 เม็ดต่อชิ้น แต่หากเป็นพวกผักสลัดแนะนำให้ใส่เพียง 1 เมล็ดต่อ 1 ฟองน้ำก็พอ
จากนั้นนำฟองน้ำที่มีเมล็ดไปแช่น้ำ 2-3 ชั่วโมง และนำมาใส่ขวดโดยตัดปากขวดแหย่ลงไปรอเมล็ดงอกต้นอ่อนขึ้นมาประมาณ 3-5 วัน จึงใส่ปุ๋ยที่ไว้สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์ ตามอัตราส่วนที่ระบุ และควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำเป็นประจำ อย่าให้แห้งและต่ำกว่าราก แนะนำให้ใส่ปุ๋ยประมาณอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง
4.ปลูกผักในขวดแก้ว
ภาพจาก https://bit.ly/3ScJs6j
นอกจากขวดพลาสติกที่หาได้ง่าย การใช้ขวดแก้วก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียน่าสนใจมีข้อดีคือได้ความสวยความงามมากขึ้น การปลูกผักในขวดแก้วสามารถตั้งโชว์ก็ได้ หรือทำขายให้คนสนใจก็ได้เช่นกัน อุปกรณ์สำคัญเช่น ขวดแก้ว ดิน และเมล็ดพันธุ์ การปลูกคือนำดินใส่ลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของขวด ใส่เมล็ดผักลงไปควรเน้นผักที่ปลูกง่ายต้นเล็ก รดน้ำตามสมควรเมื่อผักเริ่มโตในขวดความสวยงามก็จะเริ่มขึ้น เพิ่มมูลค่าได้อย่างมาก
5.ปลูกผักในขวดแบบแขวน
ภาพจาก https://bit.ly/3xALu8F
คำว่าขวดแบบแขวนสามารถเป็นได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ข้อดีของปลูกผักในขวดแบบแขวนคือดีไซด์ที่ดูน่าสนใจ ผู้ปลูกอาจต้องมีไม้ระแนงสำหรับแขวน หรือหากระเบียงห้อง หรือระเบียงบ้านใครมีพื้นที่สักหน่อยอาจช่วยเพิ่มความร่มรื่นได้อย่างมากแต่ก็มีข้อควรระวังเพราะต้องมั่นใจว่าผักในขวดจะไม่มีการกระทบกระเทือนถึงระบบรากที่อาจทำให้ผักหยุดการเจริญเติบโตได้
เทคนิคปลูกผักในขวด สร้างรายได้อย่างไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3qO9ott
แม้เป้าหมายของการปลูกผักในขวดจะปลูกเพื่อรับประทานเอง เป็นผักเพื่อสุขภาพ ลดต้นทุนในการซื้อผัก แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เราสามารถทำเงินจากการปลูกผักในขวดได้ หลากหลายรูปแบบเช่น
- ปลูกขายแบบออนไลน์ เป็นรูปแบบที่คล้ายกับการทำสวนขวด แต่เรามาในรูปแบบของผัก เสน่ห์ของผักในขวดคือต้นเล็ก น่ารัก คนซื้ออาจไม่ได้ต้องการจะนำไปบริโภค แต่อยากนำไปตั้งโชว์ ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียในการปลูกของเราด้วย
- นำมาทำเป็นสลัด เรียกว่าเป็นการต่อยอดจากผักในขวดของเราที่มีเรื่องราว (Story) และในยุคที่คนรักสุขภาพแบบนี้ถือเป็นจุดขายอย่างดี เราสามารถนำมาทำเป็นสลัดผักขายเพิ่มมูลค่าได้ ยิ่งถ้าลูกค้ารู้ว่าเป็นผักที่เราปลูกเองไม่มีสารเคมี ไม่มียาฆ่าแมลงยิ่งดูน่าสนใจมากขึ้น
- ถ้าปลูกมากก็ตัดขายได้ ในกรณีที่ปลูกไว้เยอะมากๆ เช่นการปลูกพริก โหระพา ,ต้นอ่อนทานตะวัน , ต้นหอม ถ้ามีจำนวนมาก กินไม่ทัน ก็สามารถตัดขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าได้ หรือจะนำไปขายร้านอาหารที่รู้จัก แม้จะไม่ใช่เงินจำนวนมากแต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้เราโดยที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก
เทคนิคสำคัญของการปลูกผักในขวด
ภาพจาก https://bit.ly/3UfLoNv
- เลือกขวดให้เหมาะกับพืชที่จะปลูกเช่น พริก กะเพรา โหระพา หรือพืชที่มีอายุเยอะ จะต้องใช้ขวดขนาดใหญ่ และต้องวางใน แนวตั้ง เท่านั้น หากวางในแนวนอน ถ้าขวดไม่ลึกพอ อาจทำให้ผักไม่โต
- ดินปลูก ควรรองด้วยปุ๋ยหมักที่ชั้นด้านล่าง โดยผสมกับเศษหิน หรือกระถางแตกที่เป็นเศษไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ข้อดีคือจะทำให้ดินมีความโปร่งไม่ต้องเจาะขวดเพื่อระบายน้ำ แต่มีข้อเสียคือต้องหมั่นเติมปุ๋ยเติมดินอยู่บ่อยๆ
- วิธีการวางขวด ควรวางไว้เป็นกลุ่มก้อนจะทำให้ผักโตได้เร็วกว่าเพราะการที่ผักได้อยู่รวมกัน จะทำให้ความร้อนรอบๆ ลดลง
- แสงแดด ผักในขวดโดยส่วนใหญ่ ไม่ชอบแดด หรืออาจจะเลือกผักที่ชอบแดด แต่การปลูกในขวดให้งอกงาม ควรเลี่ยงบริเวณแสงแดดทั้งวัน มากสุดไม่เกินครึ่งวัน พืชผักจะงอกงามกว่าวางไว้กลางแดดทั้งวัน
พืชต้องการแร่ธาตุ น้ำ และความชื้นในการเติบโต และกว่า 90 % จะรับโดยตรงจากราก หากมีวัสดุใดที่ช่วยห่อหุ้มสิ่งเหล่านี้ไว้เมื่อรากพืชขยายจะทำให้หาอาหารได้ง่าย พืชก็เติบโตได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้ขวดปิดทึบ สามารถเลือกใช้เชือก หรือวัสดุอื่น นำมาห่อหุ้มดินปลูกพืชผักจะได้โตเร็วมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3xhEVrp , https://bit.ly/3xlxajY , https://bit.ly/3RX1N7k , https://bit.ly/3Ds2zoT อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Lno38g
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)