รวม 5 วิธีขาย “สินค้าเหมือนกัน” ทำยังไงให้ยอดขายดีกว่า?

อะไรที่ขายดี! อะไรที่เป็นสินค้ายอดฮิต! เปิดร้านไม่ทันไรเดี๋ยวก็มีคู่แข่งตามมามากมายอย่างสมัยก่อนชานมไข่มุกมีแค่ไม่กี่แบรนด์แต่ตอนนี้มองไปทางไหนก็เจอร้านชานมไข่มุกกันเต็มทุกตรอกซอกซอย

หรือแม้แต่ช่วงที่กระแสหม่าล่าโด่งดังคนก็แห่เปิดร้านกันให้พรึ่บ สุดท้ายอยู่ได้บ้างไม่ได้บ้าง ใครบริหารจัดการดีกว่าก็อยู่รอดมาจนทุกวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหากมีอะไรที่ขายดีแล้วคนจะแห่ทำตาม เพราะนั่นคือปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องยอมรับและหาวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้

สินค้าเหมือนกัน ขายดีไม่ดี ขึ้นอยู่กับอะไร?

สินค้าเหมือนกัน

อย่างแรกที่เราควรรู้จักคือ คำว่า “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors)” อธิบายง่ายๆ คือต้องรู้ว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าจากเราเพราะอะไร และจะนำเสนอสินค้าอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยทั่วไปมีปัจจัยเบื้องต้นเช่น

  • ความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น มาตรฐานรับรองต่าง ๆ
  • การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เช่น ขวดรีไซเคิลได้, สามารถสะสมแต้มได้
  • การออกแบบ (Product Design) เช่น การออกแบบขวดที่ลดปริมาณขยะ, ดีไซน์เสื้อผ้าที่ไม่เหมือนใคร
  • ภาพลักษณ์สินค้า (Image) เช่น โทนสีที่ใช้, พรีเซนเตอร์, แหล่งที่มาของสินค้า เป็นต้น

การที่สินค้าจะขายดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับว่า พ่อค้าแม่ค้าจะหาจุดยืนทางการตลาด (Positioning) ได้ดีแค่ไหน ทำไมบางร้านถึงขายดี ทำไมบางร้านถึงขายไม่ได้ คำตอบของเรื่องนี้ก็อยู่ที่มุมมอง และเทคนิคทางการตลาดของพ่อค้าแม่ค้าเป็นสำคัญ

รวม 5 วิธี ขายสินค้าเหมือนกัน แต่คนซื้อของเราเยอะกว่า!

สินค้าเหมือนกัน

ในเมื่อเราทราบคีย์เวิร์ดสำคัญว่าต้องรู้จัก ปัจจัยแห่งความสำเร็จ(Key Success Factors) และต้องมี จุดยืนทางการตลาด(Positioning) ทีนี้ลองมาดูรูปแบบวิธีการบ้างว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าเราดูดีกว่าคู่แข่งได้

1.ดัดแปลงสินค้าให้มีความพิเศษมากกว่า

สินค้าเหมือนกัน

คำว่าสินค้าเหมือนกันแต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป เช่นถ้าเป็นร้านข้าวเหนียวหมูปิ้ง ก็อาจมีสูตรพิเศษเช่นข้าวเหนียวหลากสี , หมูหมักสูตรเฉพาะ หรือถ้าเป็นร้านกาแฟ ร้านเครื่องดื่ม ก็อาจจะมีเมนูไอเดียใหม่ๆ ที่แตกต่างจากร้านคู่แข่ง วิธีนี้จะทำให้สินค้าเราดูน่าสนใจมากขึ้นได้

2.จัดแพคเกจ / จัดเซตสินค้า ให้ดูน่าสนใจ

สินค้าเหมือนกัน

บางครั้งการขายสินค้าแบบตัวเดียว อันเดียว อาจไม่ดึงดูดความรู้สึกลูกค้าในยุคนี้ที่ต้องการความคุ้มค่ามาก ดังนั้นหากเรามีกันจัดเซตสินค้าเช่น เบเกอรี่+เครื่องดื่ม , หรือขายขนมเป็นเซต 5 ชิ้น หรือ 7 ชิ้น เป็นต้น การจัดแซตสินค้านี้นำมาใช้กับสินค้าได้หลากหลายแบบทั้งเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม เบเกอรี่ หรือสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป แต่ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและต้นทุนโดยรวมให้ดีด้วย

3.ใช้ Story สร้างจุดขาย

สินค้าใดก็ตามที่มีเรื่องราว มีประวัติความเป็นมา จะยกระดับสินค้าให้ดูน่าสนใจ น่าซื้อใช้มากขึ้น เช่นร้านสเต็กเหมือนกัน แต่ถ้าเรานำเสนอว่าเนื้อวัวที่เรานำมาใช้ คือวัวที่เลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติ เป็นเนื้อวัวแบบออร์แกนิค หรือถ้าเป็นร้านกาแฟ เรานำเสนอว่าเมล็ดกาแฟของเราปลูกจากไร่ของเราเอง มีการคั่วด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งการที่สินค้ามีStory จะทำให้ดูดีมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ลูกค้าก็จะให้ความสนใจได้มากกว่า

4.ชูจุดเด่นสินค้า “มีจำนวนจำกัด”

กลยุทธ์การตลาดที่ได้ผลคือการกระตุ้นให้คนซื้อรู้สึกว่า “ต้องซื้อวันนี้ ตอนนี้เท่านั้น” หากเลยช่วงเวลานี้ไปจะไม่มีสินค้าเหล่านี้อีก เรียกว่าเป็นการตลาดแบบขาดแคลน (Scarcity Marketing) คือกระตุ้นให้คนตัดสินใจซื้อทันที เช่นสินค้าตามเทศกาล สินค้าช่วงโปรโมชั่น หรือสินค้า Limited เป็นต้น

5.กระตุ้นการขายด้วยช่องทางออนไลน์

ต่อให้เป็นสินค้าที่เหมือนกันแต่ยอดขายไม่มีทางเหมือนกันเพราะการตลาดที่ต่างกัน ในยุคนี้ไม่ใช่แค่การขายผ่านหน้าร้านเท่านั้น แต่ตลาดออนไลน์มีความสำคัญมาก การมีหน้าร้านอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นว่าเรามีหน้าร้านอยู่จริง ใครสนใจสามารถมาติดต่อที่ร้านได้ แต่ในความเป็นจริงเราอาจเน้นทำตลาดออนไลน์มากกว่าโดยเฉพาะบรรดาร้านเสื้อผ้า เครื่องสำอาง หรือแม้แต่ร้านเครื่องดื่มต่างๆที่ยอดขายผ่านเดลิเวอรี่ บางทีดีกว่าขายหน้าร้านด้วย

ในปัจจุบัน สินค้าเหมือนกัน แทบทุกชนิดต่างมีคู่แข่งของตัวเอง อย่างน้ำเปล่าทุกวันนี้ก็มีหลายยี่ห้อ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละแบรนด์ก็ต้องหาจุดเด่นของตัวเองนำเสนอให้ลูกค้า ดังนั้นสินค้าที่มีความเหมือนถ้าต้องการขายดีก็ต้องเน้นกลยุทธ์ด้านการตลาด ยิ่งมีไอเดียที่แตกต่าง รู้จักการเข้าหาลูกค้าได้ดี โอกาสที่จะขายสินค้าได้ดีกว่าคู่แข่งก็ย่อมสูงขึ้นเช่นกัน 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด