รวม 4 ธุรกิจเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญลงทุนครั้งเดียว เก็บเกี่ยวตลอดกาล

การลงทุนในยุคนี้ต้องเน้นที่การตอบโจทย์ความสะดวกสบายได้อย่างดี เราจะเห็นธุรกิจหยอดเหรียญในยุคนี้เพิ่มขึ้นมาก ว่าจะเป็นตู้กาแฟหยอดเหรียญ , ตู้ซักผ้าหยอดเหรียญ , ตู้ขายเครื่องดื่มหยอดเหรียญ , ตู้เติมเงินแบบหยอดเหรียญ

อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าการลงทุนในธุรกิจตู้หยอดเหรียญเหล่านี้รายได้ขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ และหนึ่งในตู้หยอดเหรียญที่คิดว่าน่าสนใจมากคือ “ เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ ” ที่อาจจะดูว่าไม่สำคัญหรือจำเป็นแต่ที่จริงสร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้มาก

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ รายได้น่าสนใจแค่ไหน?

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ

ภาพจาก https://bit.ly/3vXmaZe

เราอาจจะมองว่าเรื่องน้ำหนักสำคัญแค่ไหนที่เราต้องมาเสียเงินหยอดเหรียญ แต่ในความเป็นจริงกลุ่มคนที่รักสุขภาพ รักสวยรักงาม อาจมีความเห็นที่แตกต่าง เราคงเคยเห็นบางคนที่มักจะชั่งน้ำหนักตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเจอเครื่องชั่งน้ำหนักอยู่ที่ไหนก็อดใจที่อยากจะเข้าไปชั่งน้ำหนักทุกครั้ง

ประเมินกันง่ายๆ หากจับกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ได้การชั่งน้ำหนักที่หยอดเหรียญเพียงครั้งละ 1 บาท สมมุติว่า1 วัน ถ้ามีคนหยอดเครื่องชั่ง 50 คน วัจะมีรายได้วันละ 50 บาท ใน 1 เดือน 30 วัน x 50 บาท เท่ากับ 1,500 บาท และใน1 ปี 365 วัน x 50 บาท เท่ากับ 18,250 บาท โดยส่วนใหญ่เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญอัตโนมัติเหล่านี้ราคาในการลงทุนประมาณ 12,000 – 15,000 บาท (ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อ และคุณสมบัติในการใช้งาน) เท่ากับว่าสามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี (อ้างอิงข้อมูลตัวเลขจากที่ยกตัวอย่าง)

และหากลงทุนมากกว่า 1 เครื่องวางในจุดที่คนพลุกพล่านมีกลุ่มลูกค้ามากก็เท่ากับว่ามีโอกาสในการสร้างรายได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้เราต้องไม่ลืมเรื่องค่าเช่าพื้นที่ในบางแห่ง และต้องรวมเรื่องค่าไฟ โดยส่วนใหญ่เครื่องชั่งน้ำหนักแบบหยอดเหรียญจะกินไฟน้อยประมาณ 25-30 บาท ต่อเดือน แต่ก็ถือว่าเป็นรายจ่ายที่คนอยากลงทุนต้องศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วน รวมถึงรายจ่ายเรื่องค่าบำรุงรักษาด้วย

เครื่องชั่งน้ำหนักแบบหยอดเหรียญมีแบรนด์ไหน น่าสนใจบ้าง ?

1.KROTORON  

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ

ภาพจาก https://bit.ly/3GzqNgX

โครตรอนมีความเชี่ยวชาญด้านเครื่องชั่งในทุกภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ เครื่องชั่งน้ำหนักบุคคล เครื่องชั่งน้ำหนักอุตสาหกรรมและเครื่องชั่งสั่งทำพิเศษตามความต้องการของลูกค้า ผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบคุณภาพมาตรฐานงานชั่งของกระทรวงพาณิชย์และมาตรฐานสากล โดยเริ่มดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องชั่งตั้งแต่ปี 2541 มีเครื่องชั่งหยอเหรียญหลายรุ่นให้เลือกได้ตามความต้องการ เช่นรุ่น SCML , รุ่น SCMF/BMI , รุ่น NCF , รุ่น SF/BMI เป็นต้น

2.JSK VENDING  

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ

ภาพจาก https://bit.ly/3GyC9li

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญของ JSK VENDING ตัวตู้ทำด้วยไฟเบอร์กลาสเกรด A แข็งแรง ทนทาน แท่นเหยียบทำจากยางกันลื่น แข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 150 kg.ช่องหยอดเหรียญ (Coin Acceptor) สามารถรองรับเหรียญ 1, 2, 5, 10 บาท (ใหม่และเก่า) รวมถึงสามารถตั้งราคาสำหรับให้บริการได้ นอกจากนี้ยังมีระบบการเช็คยอดเงินที่สามารถตรวจสอบยอดเงินหยอดเหรียญทั้งหมดได้ และกล่องเก็บเหรียญมีขนาดใหญ่รองรับ เหรียญ 1 บาท ได้มากกว่า 10,000 บาท

3.Green Plus  

เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ

ภาพจาก https://bit.ly/3GVfzEX

เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญอัตโนมัติภายใต้บริษัทบริษัท ถาวรอีเล็คทริค จำกัด ที่เริ่มดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2518 โดยเริ่มจากการเป็นโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านอีเล็คโทรนิคส์สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และในปี 2540 ได้ทำการศึกษาและการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์ที่เกี่ยวกับเครื่องจำหน่ายสินค้าระบบหยอดเหรียญอัตโนมัติทุกชนิด อาทิเช่น เครื่องจำหน่ายน้ำดื่มหยอดเหรียญ, เครื่องเติมเงินมือถือหยอดเหรียญ, เครื่องซักผ้า-อบผ้าหยอดเหรียญ, เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ ฯลฯ ปัจจุบันมีเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญรุ่นที่น่าสนใจเช่น สินค้ารุ่น SC-150 เป็นต้น

4.KPthaiwater  

ภาพจาก https://bit.ly/3CGo1Wb

เป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตตู้หยอดเหรีญอัตโนมัติที่พัฒนาสินค้าหลากหลายทั้งเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ , ตู้น้ำหยอดเหรียญ รวมถึง เครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ อัตโนมัติ โดยยี่ห้อ KPthaiwater เป็นเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญอัตโนมัติที่รับน้ำหนักได้กว่า 150 กิโลกรัม กล่องเก็บเงินขนาดใหญ่ใส่เงินได้กว่า 5000 บาท การออกแบบเน้นความสวยงามและใช้งานง่าย มีไฟวิ่งสลับเมื่อถูกใช้งาน มีระบบล็อคกุญแจสองชั้น นอกจากนี้มีทีมงานมืออาชีพบริการให้กับผู้สนใจทั่วประเทศ

และนอกจากแบรนด์ที่เรายกตัวอย่างมานี้ยังมีโรงงานผลิตอีกหลายแห่งที่พร้อมผลิตเครื่องชั่งน้ำหนักแบบหยอดเหรียญให้เราตามที่ต้องการ อย่างไรก็ดีการเลือกลงทุนในธุรกิจนี้แม้จะสร้างรายได้แบบไม่ต้องมีคนเฝ้า ไม่ต้องมีพนักงาน สามารถตั้งตามจุดที่คนพลุกพล่าน เป็นธุรกิจที่อาจมองว่าลงทุนครั้งเดียวแต่เก็บเกี่ยวได้ตลอดกาล แต่เราก็ควรใส่ใจในเรื่องการบำรุงรักษาเพื่อให้เครื่องมีความคงทน ดูน่าใช้งานอยู่เสมอด้วย

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3ZA1KDg , https://bit.ly/3k5v0Bg , https://bit.ly/3CA2iPz , https://bit.ly/3GPsSGW

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด