รวม 16 วิธี หาคนมาซื้อแฟรนไชส์ แบบหัวบันไดไม่แห้ง!

เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ที่กำลังมองหาช่องทางหรือวิธีการหาคนมาซื้อแฟรนไชส์ในปี 2566 แต่ไม่รู้จะหาวิธีการแบบไหนที่เหมาะกับแฟรนไชส์ของตัวเอง และสามารถขายแฟรนไชส์ได้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอวิธี หาคนมาซื้อแฟรนไชส์ แบบหัวบันไดไม่แห้งให้ทราบกัน

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

1.ลูกค้าประจำ สาวก แฟนพันธุ์แท้ร้านแฟรนไชส์

ลูกค้ากลุ่มนี้จะแฟรนไชส์เพราะได้ทดลองใช้ทดลองชิม ถ้าลูกค้าสนใจหรือชอบสินค้าและบริการของเรา จะสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ เพราะเห็นโอกาสสำเร็จในการทำธุรกิจที่ตัวเองชอบ

2.ติดป้ายประกาศหน้าร้านสาขาแฟรนไชส์

รวมถึงรถส่งของ หรือเขียนข้อความบนภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น สนใจแฟรนไชส์ ติดต่อได้ที่เบอร์โทร….เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจจะไม่เสียเลย

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

3.โพสต์ขายแฟรนไชส์หน้าเว็บไซต์ Social Media (Online Marketing)

เจ้าของแฟรนไชส์อาจจะต้องสร้างเว็บไซต์แฟรนไชส์ของตัวเองขึ้นมา เพื่อนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์

4.โพสต์บน Facebook กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์

และกลุ่มนักลงทุนต่างๆ วิธีการแบบนี้ช่วยให้เจ้าของแฟรนไชส์ไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นบางกลุ่มมีเก็บค่าแรกเข้า ส่วนข้อเสียส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนที่เน้นลงทุนแฟรนไชส์ราคาต่ำ

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

5.ยิง Ad Facebook, Google

หากยิงได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โอกาสขายได้มีสูง แต่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องมีความรู้ในการยิง Ad, มีค่าโฆษณา Facebook ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ และความแม่นำยำลดน้อยลง หรือบางครั้งเราอาจจะต้องจ่ายค่า Ad ในราคาสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์กลับมาเท่าเดิม

6.ซื้อโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์

หรือบนเว็บไซต์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย หรือเว็บไซต์ศูนย์รวมแฟรนไชส์ “ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์” ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก เป็นวิธีที่แบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่นิยมทำกัน เพราะสามารถสร้างการรับรู้และเข้าถึงตลาดนักลงทุนกลุ่มใหม่ๆ แต่จะมีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าติดตลาดหรือเป็นที่รู้จักในวงการแฟรนไชส์ก็คุ้มค่าในการโปรโมท

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

7.ออกบูธงานแสดงสินค้า หรืองานแฟรนไชส์โดยเฉพาะ

ไม่ว่าจะในต่างประเทศหรือในประเทศ เจ้าของแฟรนไชส์จะได้พูดคุยกับนักลงทุนและผู้เข้าชมงานโดยตรง แต่บางครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับการประชาสัมพันธ์ช่องทางอื่นๆ

8.ซื้อฐานข้อมูล Database

จากแหล่งน่าเชื่อถือ เพื่อที่จะนำข้อมูลของลูกค้ามาทำไดเร็กอีเมลล์ และมาร์เก็ตติ้ง

9.จัด Grand Opening หรือ Open House

เชิญนักลงทุนมางาน พร้อมจัด Business Matching ที่โรงแรมหรือบริษัทแฟรนไชส์ จะได้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ตรงและเหมาะสมกับธุรกิจแฟรนไชส์อย่างแท้จริง

10.หาลูกค้าใหม่ๆ จากพาร์ทเนอร์ที่มี

เช่น จากสินเชื่อของแต่ละธนาคาร, Land Lord, เจ้าของพื้นที่เช่าม ปั้มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้าม และซัพพลายเออร์ต่างๆ

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

11.ให้แฟรนไชส์ซีแต่ละสาขาช่วยแนะนำหรือบอกต่อนักลงทุน

รวมถึงลูกค้าที่มาซื้อเป็นประจำ พร้อมกับให้ค่าคอมมิชชั่น หรือสิทธิพิเศษอื่นๆ แก่แฟรนไชส์ซีหรือคนแนะนำผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย

12.ใช้บริการ Sale Agency

ที่รับดูแลงานขายแฟรนไชส์ที่น่าเชื่อถือ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง และบางครั้งกลุ่มผู้ให้บริการเหล่านี้อาจไม่มีความรู้ในธุรกิจแฟรนไชส์ของเราอย่างแท้จริง

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

13.ใช้ Connection จากคนรู้จัก หรือคนใกล้ชิด

พร้อมให้ค่าแนะนำเมื่อมีคนมาซื้อแฟรนไชส์ของเรา ซึ่งคนมาซื้อแฟรนไชส์อาจเป็นคนใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องของคนที่เราใกล้ชิดหรือรู้จัก

14.เข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ

รวมถึงเข้าร่วมโครงการของรัฐ ที่ให้การสนับสนุนธุรกกิจแฟรนไชส์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะมีการเปิดอบรมแฟรนไชส์ทุกปี และจัดกิจกรรมออกบูธให้ฟรีอีกด้วย

หาคนมาซื้อแฟรนไชส์

15.จัดงานแถลงข่าว

เชิญนักข่าวจากหลายสำนัก รวมถึงนักลงทุน และพาร์ทเนอร์ต่างๆ ที่เรารู้จัก มาร่วมงาน เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม เพราะใช้งบประมาณไม่สูงมากๆ

16.ออกรายการทีวี

เป็นวิธีการที่ได้ผลตอบแทนสูง ทันทีทันใด เราสามารถแนะนำสินค้าและบริการ ตลอดจนขั้นตอนการผลิตสินค้า ช่วยดึงดูดนักลงทุนและผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี

นั่นคือ ช่องทางในการติดต่อและหาคนมาซื้อแฟรนไชส์ของเราครับ ซึ่งแต่ละช่องทาง แต่ละวิธีการอาจจะเหมาะกับแฟรนไชส์แต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท ต้องดูว่าแฟรนไชส์ของตัวเองเหมาะกับการหาคนซื้อมาซื้อแฟรนไชส์แบบไหน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช