รวม 15 สิ่งที่ไม่ควรใช้เงินซื้อ! ไม่มีก็อยู่ได้

ทุกวันนี้การจำกัดค่าใช้จ่ายเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เรามีเงินเหลือใช้มากขึ้น ในสถานการณ์ที่รายได้หดหาย บางคนตกงาน จากที่เคยใช้เงินฟุ่มเฟือยเพราะหาได้ง่าย ในยุคนี้ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ แม้ว่าสินค้าหลายอย่างยังมีความจำเป็นที่เราต้องกินต้องซื้อ

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com ก็เห็นว่ามีอีกหลายอย่างเช่นกันที่ประหยัดได้ก็ควรประหยัดเพราะถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้หรือใช้จ่ายสิ่งเหล่านี้ให้น้อยลงชีวิตของเราก็ยังดำเนินต่อไปได้ แม้ไม่อาจทำให้เรารวยขึ้น แต่ก็ทำให้เรามีเงินเหลือมากขึ้นได้

ไม่มีก็อยู่ได้

ภาพจาก freepik.com

1.ซื้อสินค้าลดราคา

คำว่าสินค้าลดราคาในที่นี้เราโฟกัสไปที่พวกเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ หรือแม้แต่อุปกรณ์จิปาถะต่างๆ ที่คนขายใช้กลยุทธ์ลดราคามาดึงดูดใจเรา แต่เชื่อหรือไม่ว่าสินค้าบางอย่างเรายังไม่จำเป็นต้องใช้ ไม่จำเป็นต้องมี หรือบางทีเราก็มีสินค้าเหล่านั้นอยู่แล้ว แต่เพราะคำว่าลดราคาก็ทำให้เราต้องเสียเงินซื้อสินค้าเหล่านี้มาเก็บไว้โดยไม่จำเป็น

2.การรับประทานอาหารราคาแพง

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็น แต่บางคนเสียเงินไปกับอาหารสุดหรูแสนแพง ทั้งที่ความจริงเรากินอาหารราคาธรรมดาเราก็อยู่ได้ อาจจะเพราะด้วยหน้าตาทางสังคม หรือจะเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ บางคนชอบกินอาหารห้องแอร์ หรือในร้านที่มีราคาแพง ๆทั้งที่รายได้ตัวเองไม่ได้มีมาก วิธีใช้จ่ายแบบนี้ทำให้เราหมดเงินโดยไม่จำเป็น

6

ภาพจาก freepik.com

3.ปาร์ตี้หลังเลิกงาน

โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนส่วนใหญ่วันเงินเดือนออก หรือเย็นวันสุดท้ายของการทำงาน มักมีนัดรวมตัว ปาร์ตี้สังสรรค์ ด้วยอ้างว่าคลายเครียดจากงานที่ทำหรือเหตุผลใดๆก็ตามแต่ รายจ่ายในส่วนนี้เฉลี่ยต่อคนบางทีตกเดือนละหลายพันบาท ซึ่งถือว่าไม่มีความจำเป็นโดยเฉพาะในยุคของการแพร่ระบาดCOVID แบบนี้ยิ่งไม่สมควรอย่างมาก

4.โปรโมชั่นโทรศัพท์ที่แพงเกินไป

โทรศัพท์และอินเทอร์เนตมีความจำเป็นกับคนในยุคนี้ แต่ก็ควรเลือกโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง บางโปรราคาแพงมาก ค่าใช้จ่ายต่อเดือนสูงกว่า 1,000 บาท ทั้งที่เราไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มที่ คงจะดีกว่าถ้าเราเลือกโปรใช้งานที่ราคาถูกลงไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน อาจทำให้เรามีเงินเหลือจากส่วนนี้ได้เดือนละหลายร้อยบาท

5

ภาพจาก freepik.com

5.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ไม่จำเป็น

การใช้ชีวิตในกรุงเทพจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายจากการเดินทาง ทั้งค่ารถไฟฟ้า รถเมล์ วินมอเตอร์ไซด์ แท็กซี่ เป็นต้น ซึ่งบางคนใช้จ่ายตรงนี้สูงมาก เช่นบางทีตื่นสายต้องรีบไปทำงานก็ต้องเรียกวินมอเตอร์ไซด์ หรือไม่ก็ต้องใช้บริการแท็กซี่ หรือบางทีต้องการความรวดเร็วก็ใช้บริการรถไฟฟ้า ซึ่งหากเราปรับวิธีคิด วิธีเดินทางเช่นตื่นเร็วขึ้น ออกจากบ้านเร็วขึ้น เราอาจไม่ต้องเสียค่ารถไฟฟ้า ไม่ต้องใช้บริการแท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซด์ ก็ช่วยประหยัดรายจ่ายได้มากขึ้น

6.ค่าบริการเสริมรายเดือนเพื่อความบันเทิง

เข้าใจว่าทุกคนอยากคลายเครียด ซึ่งปัจจุบันก็มีบริการเสริมด้านความบันเทิงมากมาย เช่นแอพพลิเคชั่นสำหรับการดูหนังแบบรายเดือน หรือ บริการเสริมอื่นๆ ที่เราจำเป็นต้องจ่ายค่าบริการรายเดือน หากเรามีเงินมากพอการใช้บริการเหล่านี้ก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ถ้ายุคนี้เรามีเงินน้อย ถ้าเลือกจำกัดรายจ่ายส่วนนี้ลงได้ เราก็จะมีเงินเหลือใช้ต่อเดือนมากขึ้น

7.ค่าใช้จ่ายสำหรับยานพาหนะส่วนตัว

ยานพาหนะคือสิ่งที่จำเป็น ไม่ว่าจะมอเตอร์ไซด์หรือว่ารถยนต์ และบางคนก็ชอบตกแต่งรถยนต์ให้สวยงาม ก็เท่ากับเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้มากขึ้นโดยไม่จำเป็น เพราะปกติการใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซด์ก็มีค่าใช้จ่ายน้ำมันต่อเดือน สำหรับรถยนต์ก็อาจมีค่าทางด่วนเพิ่มขึ้น ไหนจะค่าซ่อมแซมบำรุงรถยนต์ที่ถือว่ารายจ่ายต่อเดือนค่อนข้างสูง ดังนั้นหากประหยัดส่วนนี้ได้ก็คงเป็นเรื่องที่ดีมาก

4

ภาพจาก freepik.com

8.เครื่องประดับต่างๆ

เครื่องประดับที่ไม่ควรซื้อหรือซื้อได้ก็ไม่ควรให้มากเกินความจำเป็น เช่น ต่างหู แหวน สร้อยข้อมือ หรือบางคนใส่เครื่องประดับพวกเพชรพลอยเพื่อแสดงให้คนอื่นรู้ว่าฉันมีเงิน แต่ความจริงแล้วใส่แค่นาฬิกาเรือนเดียวก็ได้ หรือคุณผู้หญิงอาจมีต่างหูหรือสร้อยสักเส้นประดับก็พอ จะได้ไม่สิ้นเปลืองเงินมากนัก

9.สินค้าแฟชั่นที่ไม่จำเป็น

บางคนตามติดแฟชั่น อินเทรนด์ตลอดเวลามีอะไรใหม่ก็ต้องรีบซื้อ ไม่ว่าจะโทรศัพท์รุ่นใหม่ เสื้อผ้าแบรนด์เนม รองเท้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ สิ่งเหล่านี้คือสินค้าแฟชั่นที่ไม่จำเป็นและยังไม่จำเป็นต้องมีในขณะนี้ เราสามารถใช้ของที่มีอยู่เดิมก่อนได้ รายจ่ายเราก็จะไม่มากขึ้นด้วย

10.ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ใช้เกินความพอดี

ค่าบริการสาธารณูปโภคอย่างค่าน้ำ ค่าไฟ คือรายจ่ายต่อเดือนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถควบคุมและจำกัดการใช้เพื่อให้ตัวเลขรายจ่ายในส่วนนี้ลดลงได้ อย่างไฟบางดวงไม่ใช้ก็ควรจะดับ หรือตอนนอนกลางคืนก็ไม่ควรนอนเปิดไฟ บ้านไหนมีแอร์ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ควรเปิดทิ้งไว้ หันมาใช้พัดลมแทนบ้าง ซึ่งการประหยัดน้ำประหยัดไฟ คือวิธีลดรายจ่ายที่เราควรทำ

3

ภาพจาก freepik.com

11.ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าออนไลน์

ยุคนี้การตลาดออนไลน์เฟื่องฟูมาก ยิ่งคนไม่ค่อยออกจากบ้านและหันมาช็อปผ่านออนไลน์ ก็ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์กลายเป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายจ่ายให้กับเราไม่รู้ตัว ด้วยความง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก บางคนสั่งสินค้าออนไลน์มาส่งทุกวัน แม้ราคาจะไม่แพงชิ้นละ 20-100 บาท แต่ถ้ามาเรื่อยๆ มาทุกวัน รายจ่ายก็มากตามไปเช่นกัน

12.เครื่องดื่มที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น

รสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกันอันนี้เราเข้าใจ บางคนชอบกาแฟพรีเมี่ยมแก้วละ 50-100 บาท หรือบางคนชอบดื่มชาไข่มุกแก้วละ 50-60 บาท ถ้าเรามีเงินเหลือใช้มากพอ ไม่เดือดร้อนใครก็คงไม่แปลก แต่ถ้าเรามีเงินน้อย รายได้หดหาย เราอาจจะลองหันมาดื่มกาแฟราคาถูกลงแก้วละ 25-40 บาท หรือชานมไข่มุกแก้วละ 20-30 บาท และลดปริมาณเหลือแค่วันละ 1 แก้ว อาจไม่ถูกใจเรามากนักแต่ก็ช่วยลดภาระรายจ่ายเราได้

2

ภาพจาก freepik.com

13.รายจ่ายที่เกิดจากการผ่อนสินค้า

เมื่อไม่มีเงินสด ไม่มีเงินก้อน ถ้าต้องการซื้อสินค้าก็ต้องใช้ระบบการผ่อนโดยเฉพาะการผ่อนผ่านบัตรเครดิตต่างๆ ที่มีโปรโมชั่น 0% กี่เดือนก็ว่ากันไป ในช่วงแรกก็แฮปปี้ดีใจกับการได้สินค้าใหม่ แถมบางทียังไม่ต้องเริ่มผ่อน แต่เมื่อถึงกำหนดผ่อนคราวนี้ก็คือการเพิ่มภาระรายจ่ายให้มากขึ้น บางคนผ่อนสินค้าหลายชนิดพร้อมกันยิ่งทำให้มีรายจ่ายมากขึ้น ทางที่ดีคือเลือกผ่อนเลือกซื้อสินค้าที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เท่านั้น อะไรที่ยังไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งไปผ่อนซื้อมา

14.รายจ่ายจากบัตรเครดิต

ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มักมีบัตรเครดิตกันคนละ 1-2 ใบอย่างน้อย ข้อดีของการมีบัตรเครดิตคือเราสามารถกดเงินสดมาใช้ก่อนได้ แต่ก็หมายความว่าเราจะเป็นหนี้ทันที หากเราบริหารจัดการไม่ดีหนี้จากบัตรเครดิตจะกลายเป็นดินพอกหางหมูและคนที่จะแย่ก็คือตัวเรา ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้บัตรเครดิต เพื่อให้เรามีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น

1

ภาพจาก bit.ly/2UvT3wp

15.การเสี่ยงโชค

บางคนมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนในการเสี่ยงโชคสูงหลายพันบาทต่อเดือน โดยมีเหตุผลคือต้องการจะถูกรางวัล แต่ถ้าไม่ถูกก็จะหลายเป็นเงินที่หายไปในทันที การเสี่ยงโชคเป็นเรื่องที่เราทำได้แต่ไม่ควรให้มากเกินไป ควรใช้จ่ายในส่วนนี้น้อยๆ เช่นงวดละ 1 ใบ และไม่ควรเล่นการพนันอื่นๆ เพราะจะทำให้มีรายจ่ายมากขึ้นและโอกาสที่จะได้ไม่คุ้มเสียนั้นมีสูง

ในยุคที่สถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID ยังรุนแรง การบริหารการเงินเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอยู่กับสถานการณ์แบบนี้อีกนานแค่ไหน ในอนาคตจะดีขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิมก็ไม่อาจคาดเดา สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดคือบริหารการเงินที่ตัวเองมีให้ดีที่สุด จำกัดรายจ่ายอะไรที่ไม่สำคัญก็หยุดไว้ก่อน เพราะถึงไม่มีก็ยังอยู่ได้ เพื่อให้เรามีเงินทุนสำรองมากขึ้นเผื่อเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3dYk5DL

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด