รวม 10 สินค้า “รับมาขาย” ขายอะไร กำไรดีที่สุด!

การรับสินค้ามาขายเป็นอีกรูปแบบของการทำธุรกิจ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ต้องยุ่งยากผลิตสินค้าเอง เพียงหาสินค้าตามที่ต้องการมาขายในช่องทางต่างๆ ทางออฟไลน์และออนไลน์ ก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดเป็นสำคัญด้วย แต่ข้อเสียของการรับสินค้ามาขายคือเรากำหนดต้นทุนเองไม่ได้หากรับสินค้ามาแพงการขายก็จะยากขึ้น รวมถึงผู้ผลิตสินค้าเองก็มีการกระจายสินค้าให้ตัวแทนคนอื่นที่ไม่ใช่เราคนเดียว อาจทำให้เกิดการตัดราคากันได้

แต่อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่กำลังคิดไม่ออกว่าถ้าจะรับสินค้ามาขายจะเลือกสินค้าแบบไหนอย่างไรดี เพื่อให้ขายง่าย และมีกำไรได้มากที่สุด

3 แหล่งสำคัญในการเลือกสินค้ามาขาย

รับมาขาย

1.แหล่งที่มีสินค้าตามที่ต้องการ

ช่วงก่อนโควิดแพร่ระบาด ชื่อของสำเพ็ง โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ แพลตทินัม หรือแม้แต่ตลาดโรงเกลือ เป็นแหล่งรวมสินค้ายอดฮิตที่มีร้านขายส่งอยู่จำนวนมาก สามารถเลือกสินค้ารับมาขายได้ตามต้องการตั้งแต่เครื่องเขียน เสื้อผ้า ของใช้ ของกิน ของเล่น ฯลฯ แต่ต้องยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิดทำให้พื้นที่เหล่านี้ได้รับผลกระทบและคนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ชุมชน แต่หากสถานการณ์คลี่คลายในทางที่ดีมากขึ้นสถานที่เหล่านี้เชื่อว่าจะกลับมาคึกคักได้อีกครั้งแน่

2.โรงงาน

ถ้าต้องการแหล่งสินค้าราคาถูกแนะนำว่าให้ไปที่โรงงานของผู้ผลิต ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการขายสินค้าอะไร เพราะปัจจุบันโรงงานเหล่านี้ก็มีระบบกระจายสินค้าให้กับตัวแทนจำหน่าย แต่ก่อนที่จะเข้าไปติดต่อรับสินค้าจากโรงงานมาขาย ควรตรวจสอบก่อนว่าแต่ละโรงงานมีเงื่อนไขอย่างไร ต้นทุนราคาสินค้าเป็นอย่างไร บางแห่งกำหนดให้มียอดขั้นต่ำในการสั่งซื้อ ซึ่งเราควรศึกษารายละเอียดเหล่านี้ให้ดี

3.เว็บไซต์

การแพร่ระบาดของโควิดทำให้การสั่งสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้รับความนิยมมากขึ้น มีหลายเว็บที่ให้เราสั่งสินค้าออนไลน์มาขายได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ข้อดีของการสั่งสินค้ามาขายจากเว็บไซต์คือเราไม่ต้องเดินทางไปหาสินค้า แต่สั่งผ่านเว็บไซต์ให้สินค้ามาส่งเราถึงที่บ้าน หรือบางแห่งเป็นระบบ Dropship ที่เรามีหน้าที่ในการโปรโมทสินค้าให้กับผู้ผลิต เมื่อมีคนสนใจและสั่งสินค้าเข้ามาก็ให้ทางผู้ผลิตจัดส่งสินค้าให้ในนามของเราได้ แต่มีข้อเสียสำหรับวิธีนี้คือเราจะไม่เห็นสินค้าที่ส่งให้ลูกค้าของเรา ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราเสียชื่อเสียงได้

10 สินค้า รับมาขาย แบบไหน กำไรดีที่สุด?

1.เสื้อยืด

รับมาขาย

เสื้อยืดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมาก ปัจจุบันมีการสกรีนเสื้อยืดเป็นลายต่างๆ ออกขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เคล็ดลับสำคัญในการรับเสื้อยืดมาขายต้องจับทิศทางความต้องการของตลาด และโฟกัสกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน แหล่งในการซื้อสินค้าสามารถหากได้จากในเว็บไซต์ หรือไปที่โรงงานผู้ผลิต หรืออาจไปหาซื้อสินค้าจากร้านค้าส่งต่างๆ บางคนลงทุนซื้อเสื้อยืดเปล่ามาสกรีนลายด้วยตัวเองก็มี

ต้นทุนโดยประมาณของราคาเสื้อยืดขึ้นอยู่กับคุณภาพเนื้อผ้า ลวดลาย เบื้องต้นประมาณ 30-40 บาท ราคาขายอยู่ที่ความสวยงามเบื้องต้นประมาณ 80-100 บาท หักลบต้นทุนค่าบริหารจัดการต่าง ๆเหลือกำไรสุทธิต่อตัวประมาณ 40-50 บาท ก็ถือว่าน่าพอใจ

2.กางเกงขาสั้น

รับมาขาย

คนรุ่นใหม่นิยมใส่กางเกงขาสั้นมากกว่ากางเกงขายาว เนื่องด้วยอากาศเมืองไทยที่ร้อน กางเกงขาสั้นจึงเป็นสินค้าที่น่าจะนำมาขายเป็นอย่างยิ่ง แหล่งสำหรับซื้อกางกางขาสั้นมาขายถ้าไม่รับจากโรงงานก็สามารถหาซื้อจากแหล่งสินค้าต่างๆ ได้ บางแห่งขายส่งกางเกงยีนส์ขาสั้นแนวนิยม ราคาเพียง 19 บาท ถ้ากางเกงขาสั้น

หลากสีสันเพียงตัวละ 15 บาท แต่ราคานี้ไม่ได้กำหนดตายตัวขึ้นอยู่กับร้านค้าส่งแต่ละแห่ง และขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า ราคาขายส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นที่ 100-150 บาท ขึ้นอยู่กับรูปแบบกางเกง ลักษณะเนื้อผ้า ต่างๆ เป็นสำคัญด้วย

3.เสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง

รับมาขาย

แฟชั่นเกาหลี ญี่ปุ่นมาแรงมาก ราคาขายเหมาจากแหล่งขายส่งที่ซื้อเหมามาจากเกาหลี จะนำมาปล่อยได้ในราคาต่ำมาก อย่างเดรสเกาหลี 20 ชุด 500 ตกตัวละ 25 บาท เป็นต้น (เป็นราคาโดยประมาณ) ขึ้นอยู่กับแหล่งสินค้าเป็นสำคัญ

และราคาขายของเสื้อผ้าแฟชั่นเหล่านี้เบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 100-200 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า เนื้อผ้า รูปทรง การตัดเย็บต่างๆ ถ้าเรามีแหล่งสินค้าที่ราคาถูกคุณภาพดี โอกาสขายได้กำไรก็มีมากขึ้น

4.ผ้าห่ม

รับมาขาย

ผ้าห่มเป็นอีกสินค้าที่ขายได้เรื่อยๆ โดยเฉพาะผ้าห่มที่มีลวดลายสวยงาม เราจะเห็นว่าส่วนใหญ่มักใช้การไลฟ์สดขายสินค้าชนิดนี้ ที่น่าสนใจคือมีธุรกิจบางแห่งรับตัวแทนจำหน่ายที่ลงทุนไม่มาก ให้นำสินค้าไปขายก่อนได้แล้วค่อยมาคิดเงินกันทีหลัง

ราคาต้นทุนของผ้าห่มขึ้นอยู่กับเนื้อผ้า คุณภาพสินค้า การตัดเย็บ ลวดลาย ราคาขายส่วนใหญ่ประมาณ 250-300 บาท หรือบางคนใช้การสั่งสินค้าจากเว็บไซต์ ก็อาจทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นได้อีก

5.เครื่องสำอาง

รับมาขาย

เครื่องสำอางเป็นสินค้าที่มีความต้องการตลอดต่อเนื่อง ปัจจุบันนอกจากผู้หญิงแล้วผู้ชายก็ยังนิยมใช้เครื่องสำอางอีกด้วย เช่น ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด แว๊กซ์เขียนคิวสำหรับผู้ชายร้านขายส่งเครื่องสำอางมีอยู่ด้วยกันหลายที่ ทั้ง ตลาดสำเพ็ง ประตูน้ำ ตลาดใหม่ดอนเมือง ตลาดเจ๊เล้ง หรือค้นหาร้านขายส่งเครื่องสำอางใน Google ก็มีเว็บไซต์ขายส่งอยู่หลายเจ้า

หรือทุกวันนี้แม้แต่ในร้านสินค้าราคา 20 บาทก็มีเครื่องสำอางวางขายราคาชิ้นละ 20-25 บาท การหาสินค้าที่ได้ราคาถูกเพื่อนำมาขายต่อเป็นโจทย์ใหญ่ของการลงทุนขายเครื่องสำอาง บางคนมีการทำOEM เพื่อสร้างแบรนด์ของตัวเอง ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการขายของเราเป็นสำคัญ

6.รองเท้ามือสอง

รับมาขาย

รองเท้ามือสองเช่นผ้าใบ ถือว่าเป็นสินค้าขายง่าย ขายดี และคนที่ทำสำเร็จรวยด้วยอาชีพนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย สำหรับราคาขายรองเท้าผ้าใบมือสองมีหลายเกรด ราคาคู่ละ 30 บาทไปจนถึง 100 บาทต่อคู่ รองเท้าพวกนี้สามารถนำมาขายต่อได้ในราคา 199-400 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพสินค้าและเกรดของสินค้า มีทั้งแบรนด์เนมและไม่ใช่ ซึ่งรองเท้าแบรนด์เนมหากต้องการรับรองเท้าผ้าใบจากตลาดโรงเกลือมาขาย

ซึ่งมีจำหน่ายทั้งแบบต่อคู่กับยกกระสอบ แบบยกกระสอบจะถูกมาก สามารถทำกำไรได้มาก แต่การซื้อแบบยกกระสอบเน้นย้ำคือต้องแกะถุงแล้วดูทุกคู่ เพราะบางครั้งอาจมีรองเท้าชำรุดเสียหายปะปนอยู่จำนวนมาก ไม่สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้ และส่งผลให้ขาดทุนได้เช่นกัน

7.กระเป๋าแฟชั่น

รับมาขาย

กระเป๋าที่ขายง่ายคือกระเป๋าที่ใช้งานสะดวก คุณภาพดี พกไปได้ทุกที่ จะมีโอกาสขายสูง เช่นกระเป๋าผ้า , กระเป๋าใส่เงิน , กระเป๋านามบัตร , กระเป๋าแฟชั่น เป็นต้น ซึ่งที่น่าจะขายได้ราคามากที่สุดก็คงจะเป็นกระเป๋าแฟชั่นที่คนขายต้องรู้จักตามเทรนด์ให้ทัน ถ้าได้แหล่งสินค้าราคาถูกโอกาสขายได้กำไรก็มีมาก

บางร้านมีการรับตัวแทนจำหน่ายที่กำหนดเงื่อนไขไว้เช่น ซื้อกระเป๋าแฟชั่น 6 ใบราคาส่ง คละสี คละแบบ คละไซส์ ได้ราคาส่งเริ่ม 300++ ขายต่อกำไร 400-1,000++ เป็นต้น อย่างไรก็ดีเราควรมีแหล่งสินค้าที่เชื่อถือและไว้ใจได้จะทำให้เราขายกระเป๋าเป็นธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

8.ชุดชั้นใน

12

ชุดชั้นในสุภาพสตรีเป็นสินค้าที่ขายดี ขายได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการขาย การจัดหาสินค้า ที่สำคัญถ้าสวยแปลกแหวกแนวจะทำให้ลูกค้าสนใจได้ โดยสินค้าประเภทชุดชั้นในก็มีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เสื้อชั้นใน กางเกงชั้นใน กางเกงสเตย์เสริมสรีระ รวมถึงชุดชั้นในไร้ขอบ เป็นต้น

อ้างอิงราคาจากร้านขายส่งบางแห่งกำหนดราคาขายปลีกหน้าร้านจะอยู่ที่ตัวละ 85-125 บาท โดยลูกค้าที่รับไปขายจะมีทั้งขายในตลาดนัดและช่องทางออนไลน์ คนที่รับไปขายจะได้กำไรเฉลี่ย 60-100% เช่น หากรับไป 3 โหล จะตกอยู่ที่ตัวละ 50 บาท ลูกค้าหากรับไปขายขึ้นห้างสรรพสินค้าก็จะขายตัวละ 120 บาท ก็จะได้กำไรเกิน 100% หรือได้กำไรแบบครึ่งต่อครึ่ง เป็นต้น

9.ตุ๊กตา

11

เป็นอีกสินค้าที่น่าสนใจ โดยเราสามารถเลือกลงทุนได้ตามงบที่เรามีอยู่ อย่างเช่น ขายส่งเป็นกระสอบ กระสอบละประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป จะได้ประมาณ 100–200 ตัว หรือมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของตุ๊กตา ด้วยหรือแบบชั่งเป็นกิโลซึ่งตุ๊กตาเราสามารถเลือกเกรดได้และตั้งราคาได้ตามความเหมาะสม

จากนั้น ต้องศึกษาตลาดและกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา เพื่อเราจะได้ทราบว่าตุ๊กตาแบบไหนกําลังเป็น ที่นิยมและเริ่มมองหาแหล่งตลาดรับซื้อที่มีต้นทุนไม่สูง สภาพดี เช่น กลุ่มตุ๊กตามืองสองต่างๆที่อยู่ในเฟสบุ๊ค ร้าน ขายส่งตุ๊กตามือสอง อย่างเช่น ตลาดโรงเกลือ เป็นต้น

แต่ถ้าเราเลือกรับตุ๊กตาทางออนไลน์ นอกจากจะได้ ราคาถูกและยังไม่ต้องเสียเวลาในการไปเอาเพราะทางร้านมีการจัดส่งให้ถึงบ้าน แม้จะมีค่าจัดส่งแต่ก็ยังคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการที่เราไปรับเองถ้าเราอยู่ไกลจากร้านขายส่ง

10.ผ้าปูที่นอน/ปลอกหมอน

16

การขายผ้าปูที่นอน ชุดเครื่องนอน มีให้เห็นเยอะมากทั้งในตลาดออนไลน์ ออฟไลน์ จุดเด่นของสินค้าผ้าปูที่นอนคือลวดลายที่สวยสะดุดตา สีสันสวยงาม จะยิ่งขายง่ายมากขึ้น ราคาก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการตัดเย็บ เนื้อผ้า ลวดลายเป็นสำคัญ และร้านค้าบางแห่งก็มีระบบหาตัวแทนจำหน่ายในการรับสินค้าไปจำหน่ายต่อ ยกตัวอย่างเช่นตัวแทนจะได้กำไรจากการขายประมาณ 130-200 บาทต่อชุด ผ้าปูที่นอนกำไรประมาณ 45-60 บาทต่อชุด ครบชุดเครื่องนอนกำไรประมาณ 170-290 บาทต่อชุด เป็นต้น

การจะเลือกขายสินค้าใดก็ตาม เราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตัวเราเองเป็นสำคัญ การหาสินค้าเพื่อจำหน่ายไม่ใช่เน้นที่สินค้าราคาถูกเท่านั้น แต่ควรเน้นที่เรื่องคุณภาพเป็นสำคัญด้วย เพราะปัจจุบันคนขายมีจำนวนมาก คนซื้อสามารถเลือกผู้ขายได้ หากเราไม่คิดรักษาฐานลูกค้าไว้ การขายสินค้าของเราก็อาจไม่สร้างรายได้ไปตามที่ตั้งใจ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3bmZ0kG

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด