รวม 10 ธุรกิจขายของกินเล่น! กำไรไม่เล่น รวยจริง!
ถ้าพูดถึง ของทานเล่น เราจะนึกถึงอะไร คำตอบที่ได้คงหลากหลาย แต่เชื่อหรือไม่ว่าของทานเล่นเหล่านี้ที่ดูเหมือนจะขายเล่นๆ แต่ความจริงคือสินค้าแบบน้ำซึมบ่อทรายที่คนกินบางทีก็ซื้อกินเป็นประจำแบบไม่รู้ตัว ด้วยราคาสินค้าที่ไม่ได้แพงเว่อร์ เป็นราคาแบบบ้านๆ 5 บาท 10 บาทก็ซื้อกินได้ คนขายอาหารทานเล่นก็ขายได้เรื่อยๆ มีลูกค้าหมุนเวียนตลอดทั้งวัน ยิ่งมีทำเลการขายดีๆ
www.ThaiSMEsCenter.com บอกได้เลยว่าของกินเล่นเหล่านี้ กำไรไม่ได้เล่นๆ ทำถูกวิธี บริหารจัดการดี ทำให้ร่ำรวยได้เลยทีเดียว มีอะไรน่าสนใจบ้างลองไปดู
1.เฉาก๊วย
ภาพจาก bit.ly/37bfHP7
อากาศร้อนๆของเมืองไทยคงไม่มีอะไรจะเหมาะไปกว่า “เฉาก๊วยเย็นๆ” สักแก้ว อันที่จริงถ้าไม่อยากยุ่งยากก็ลองมองหาแฟรนไชส์เฉาก๊วยที่มีอยู่หลายแบรนด์ แต่หากอยากลองลงมือทำเอง ขายเอง อาชีพนี้ก็เริ่มไม่ยาก งบในการลงทุนเบื้องต้นเป็นค่าวัตถุดิบและอุปกรณ์
เช่น เฉาก๊วยในน้ำเชื่อมสำเร็จรูป ราคาเฉลี่ย 89 – 120 บาท (แพค 10 ถุง) , น้ำตาลทรายแดง ราคาเฉลี่ย 20 – 30 บาท , น้ำแข็งหลอดเล็ก , แก้วน้ำขนาด 20 ออนซ์ + ฝา ราคาเฉลี่ย 120 – 150 บาท (แพค100ใบ) , โต๊ะขนาดกลาง ราคาเฉลี่ย 400 – 500 บาท , เงินหมุนเวียนในร้าน 500 – 1,000 เป็นต้น
กลยุทธ์ในการขายก็ควรตั้งราคาที่เหมาะสมเช่น 20-25 บาท หรือสินค้าสำหรับเด็กอาจใช้แก้ว 16 ออนซ์ราคาขายก็ 10-15 บาท หากยึดทำเลขายที่ดีเช่นหน้าโรงเรียน โรงงาน ตลาดนัดที่คนพลุกพล่าน รายได้ต่อวันถือว่าไม่ธรรมดา ส่วนจะขายได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดเป็นสำคัญด้วย
2.น้ำเต้าหู้
ภาพจาก bit.ly/31dRqEb
น้ำเต้าหู้เป็นอีกเมนูยอดฮิตที่หลายคนเรียกว่าเป็นเมนูสุขภาพด้วย เราจะเห็นร้านน้ำเต้าหู้มีอยู่แทบทุกแห่ง ซึ่งต้นทุนของน้ำเต้าหู้ เน้นไปที่วัตถุดิบได้แก่ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม ต้นทุนอยู่ที่ 40 บาท น้ำตาลทราย 350 กรัม ต้นทุนประมาณ 8 บาท และเกลือป่น 1 ช้อนชา ต้นทุนประมาณ 1 บาท ค่าแก๊สประมาณ 9 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 58 บาท โดยถั่วเหลือง 1 กิโลกรัมสามารถทำน้ำเต้าหู้ได้ประมาณ 30-35 ถุง
สร้างรายได้ประมาณ 240- 280 บาท (ขายถุงละ 8 บาท) หักต้นทุนเหลือกำไรประมาณ 182- 222 บาท ทั้งนี้หากมีทำเลการขายที่เหมาะสมเช่น ย่านชุมชน หน้าโรงเรียน ตลาดนัด หน้าโรงงาน อาจจะขายได้ทั้งช่วงเช้าและเย็น รายได้ก็ขึ้นอยู่กับทำเลและความขยัน
3.ปาท่องโก๋
ภาพจาก www.facebook.com/khopaka/
สินค้าที่ยอดฮิตในตอนเช้าต้องมีชื่อของ “ปาท่องโก๋” ความจริงชื่อปาท่องโก๋ที่เราเรียกจนติดปากเพี้ยนมาจาก แปะทึ่งกอ หรือ แปะถึ่งโก้ ที่พ่อค้าชาวจีนสมัยก่อนใช้เรียกสินค้านี้ การลงทุนขายปาท่องโก๋จำเป็นต้องอาศัยฝีมือในการทำ ดังนั้นควรฝึกฝนทำให้ชำนาญก่อนเปิดร้าน ซึ่งมีเงินแค่ 300 บาทก็เริ่มเปิดร้านได้เพราะขายปาท่องโก๋ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมายนัก
โดยปกติ ปาท่องโก๋จะขายกันที่ราคาตัวละ 2 บาท ซึ่งในการทำแป้งปาท่องโก๋ของแต่ละครั้ง ว่าจะสามารถตัดได้เยอะน้อยมากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการกะปริมาณขนาดของการตัดแป้งเอาเอง ถ้าอย่างมือใหม่ ก็อาจจะตัดแป้งออกมาทอดแล้วขายได้เงินประมาณ 700 บาท แต่หากชำนาญขึ้นและตัดดีๆ ก็จะสามารถทำเงินได้ถึง 1,000 บาท
4.ไอศกรีม
ภาพจาก www.facebook.com/phatarinfoods
การขายไอศกรีมก็เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจปัจจุบันมีหลายแฟรนไชส์ที่ให้เราเลือกลงทุนได้ง่ายขึ้น อย่าง #แฟรนไชส์ ภัทรินทร์ฟู้ด ศูนย์รวมแฟรนไชส์ไอศกรีม ที่มีแบรนด์ไอศกรีมให้เลือกถึง 6 แบบ ทั้งไอติมเผา ,โมจิไอศกรีม , ไอติมทอด , ไอศกรีมกะทิสด , ไอศกรีมผลไม้แบบแท่ง
สามารถทำเป็นอาชีพหลักหรือทำเป็นอาชีพเสริม หรือใครที่มีร้านค้า ร้านอาหารอยู่แล้วเลือกลงทุนเพิ่มเพื่อใช้เพิ่มรายได้ให้กับตัวเองก็ได้เช่นกัน หรือใครที่มองว่าอยากลองขายแบบไอศกรีมกะทิถัง โดยเร่ขายไปตามหมู่บ้าน เหมือนที่เราเคยเห็น ซึ่งในตลาดก็มีให้เลือกอยู่หลายแบรนด์เช่นกัน
ต้นทุนเฉลี่ยไอศครีมกะทิถังจะอยู่ที่ 1,800 – 2,000 บาทแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ รวมทั้งมีทอปปิ้งสำเร็จขายพร้อมโคนและถ้วย อุปกรณ์เหล่านี้ใช้เงินลงทุนหมุนเวียนต่อวันประมาณไม่เกิน 1,000 บาท โดยราคาขายถ้าเป็นไอศครีมโคน ตัก 1 -2 สกู๊ปตามด้วยทอปปิ้งจะขายที่โคนละ 10 บาท ส่วนถ้าเป็นใส่ถ้วยจะตั้งขายที่ราคาถ้วยละ 25 บาทขึ้นไป กำไรที่ได้รับประมาณ 50%
5.น้ำแข็งไส
ภาพจาก bit.ly/3dxZXXy
นอกจากเครื่องดื่มและไอศกรีม ก็มีน้ำแข็งไสที่ถือเป็นอีกหนึ่งเมนูสุดฮิตที่เราจะเห็นว่าตามศูนย์อาหารก็มีเมนูเหล่านี้ให้เลือก หรือร้านค้าริมทางทั่วไปก็มีน้ำแข็งไสให้เลือกรับประทาน สีสันที่สดใส ความหวาน เย็น ทำให้สินค้านี้ขายดี ข้อดีของร้านน้ำแข็งไสคือ เริ่มต้นได้ง่าย อุปกรณ์ไม่มาก ถ้ายังไม่มีทำเลที่ไหน
ถ้ามีหน้าบ้านในแหล่งชุมชนก็เริ่มต้นได้เลยต้นทุนโดยเฉลี่ยของร้านน้ำแข็งไสขนาดเล็กประมาณ 3,020 บาท เป็นค่าอุปกรณ์ที่สำคัญและวัตถุดิบต่างๆ เช่น น้ำหวานเฮลบลูบอย ราคาประมาณขวดละ 43 บาท , น้ำหวาน / น้ำเชื่อม / นม , ช้อนพลาสติก , หลอดสั้น , น้ำแข็ง , ถ้วยโฟม ,เครื่องบดน้ำแข็ง ราคาประมาณ 1,390 บาท เป็นต้น
โดยปกติร้านน้ำแข็งไสจะให้เลือกเครื่องได้ 2 อย่าง 10 บาท หรือถ้าเลือก 3 อย่างราคา 15 บาท ราคาที่กล่าวนี้ก็ไม่ได้กำหนดตายตัวเพียงแต่เป็นตัวเลขประมาณการ ซึ่งบางร้านอาจจะตั้งราคาขายมากกว่านี้ ซึ่งโดยปกติ การคิดราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณเครื่องที่ใส่ ซึ่งเจ้าของร้านก็ต้องมีวิธีบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบเหล่านี้เพราะจะว่ากันตามตรง กำไรหรือไม่กำไรก็มาจาก “เครื่องท็อปปิ้ง” ที่ใส่เป็นสำคัญ
6.หมูสะเต๊ะ
ภาพจาก bit.ly/31esRqJ
อาหารทานเล่นอย่างหมูสะเต๊ะก็น่าสนใจมาก สีสันหน้าตาถือว่าถูกใจคนไทยและสังเกตว่าจะมีขายแทบทุกพื้นที่การลงทุนหลักๆ คือเตาปิ้งย่างตัวละประมาณ 300-400 บาท เนื้อหมู กิโลกรัมละประมาณ 150 บาท กะทิ ผงกระหรี่ แตงกวา พริก ถั่วลิสง
รวมต้นทุนและอุปกรณ์เบื้องต้นประมาณ 1,000 บาทอาจเกินบ้างเล็กน้อย ราคาขายของหมูสะเต๊ะมักขายเป็นชุดชุดละ 30-35 บาท กำไรโดยเฉลี่ยประมาณ 50% จากยอดขาย ขึ้นอยู่กับทำเลและความอร่อยเป็นสำคัญ
7.ขนมปังสังขยา
เมนูอย่างขนมปังสังขยาก็ถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีแฟรนไชส์ให้เราเลือกลงทุนได้ง่ายๆ อย่าง #แฟรนไชส์ เอชเจ เฟรชมิลค์ ปังหยา-นมสด ที่ให้ผลตอบแทนในสินค้าเครื่องดื่ม ขนมปังปิ้ง สังขยา ไม่ต่ำกว่า 50% ของยอดขาย หรือ #แฟรนไชส์ เอ็มมิลค์นมสดแท้ 100% ก็มีเมนูขนมปังสังขยาเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า มีกำไรไม่ต่ำกว่า 50% จากยอดขายเช่นกัน
ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนและขายง่ายกำไรดี ในแต่ละเดือนหากมีทำเลที่ดี กลยุทธ์การขายที่ดี การตลาดที่ดี บริหารจัดการดี รายได้ดีกว่าทำงานประจำ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นคนสนใจเปิดร้านจำนวนมาก ดูจากการขยายสาขาของ 2 แฟรนไชส์ที่เรายกตัวอย่างในเบื้องต้น
8.ข้าวเหนียวหมูปิ้ง
ภาพจาก bit.ly/37cTVKI
อุปกรณ์ในการขายหมูปิ้งหลักๆคือ เตาย่าง , โต๊ะวางหรือรถเข็น จุดเด่นของการขายหมูปิ้งคือใช้พื้นที่น้อยโต๊ะตัวเดียวก็เพียงพอเปิดร้านได้ ทำเลก็ทั่วไปทั้งหน้าบ้านตัวเอง ตลาดนัด ป้ายรถเมล์ ริมถนนต่างๆ ต้นทุนอุปกรณ์เบื้องต้นเช่น หม้อนึ่งราคาประมาณ 120-200 บาท หวดนึ่งข้าวเหนียวราคาประมาณ 20-100บาท แล้วแต่ขนาดและรุ่น กระติกเก็บข้าวเหนียว ใช้เป็นกระติกน้ำแข็งทั่วไปครับ ราคาประมาณ 400-700บาท ถุงใส่ข้าวเหนียวและหมูปิ้ง
ถ้าเป็นถุงใส่ข้าวเหนียวโดยทั่วไป จะนิยมกันอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 4×6 หรือ 4×7 ส่วนถุงที่ใส่หมูปิ้งขนาดประมาณ 4×8 นิ้ว และต้องมีถุงหิ้วขนาด 6×14 นิ้ว การขายหมูปิ้งถือเป็นอาชีพยอดฮิตที่เรามองไปทางไหนก็เจอ ส่วนจะขายดี มีกำไรแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ “เทคนิคการตลาด” คุณภาพสินค้า เป็นสำคัญ ซึ่งหลายคนที่รวยจากการขายหมูปิ้งก็มีให้เห็นอยู่มาก
9.ลูกชิ้นทอด/ลูกชิ้นปิ้ง
ง่ายที่สุดสำหรับคนไม่รู้จะเริ่มขายอะไรดี แนะนำว่าลูกชิ้นทอด ลูกชิ้นปิ้ง ขายดีแน่นอน ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนเยอะใช้งบเบื้องต้นประมาณ 1,000 -3,000 บาท เครื่องปรุงทำน้ำจิ้ม 500 บาท ถุงใส่ลูกชิ้น 200 บาท อาจมีผักสดสัก 200 บาท รวมค่าใช้เบ็ดเสร็จไม่เกิน 3,000 บาท ถ้าขายไม้ละ 10 บาท X 250 ไม้ = 2,500 บาท ขายสองรอบเช้าและเย็นเท่ากับได้เงิน 5,000 บาท แต่ถ้าขายไม่ได้ถึงวันละ 250 -500 ไม้ แต่ขายได้วันละ 100 -200 ไม้ ก็จะมีรายได้ต่อวัน 1,000 – 2,000 บาท
หรือถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นแบบไหนอย่างไร แนะนำว่าให้เลือกลงทุนกับแฟรนไชส์อย่าง #แฟรนไชส์ อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช , #แฟรนไชส์ ไจแอ้นลูกชิ้นปลาระเบิดเถิดเทิง , #แฟรนไชส์ ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด 1 บาท ซึ่งแต่ละแฟรนไชส์มีแพคเกจลงทุนให้เลือกตามต้องการ สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ทันที
10.เครป / ขนมโตเกียว /วาฟเฟิล
สินค้าทานเล่นขายดียุคนี้ต้องมีชื่อของ เครป ขนมโตเกียว และวาฟเฟิลรวมอยู่ด้วย ส่วนจะขายดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับไอเดียในการพัฒนาสินค้ายิ่งแปลกก็ยิ่งน่าสนใจ และหากจะเลือกลงทุนยกตัวอย่างเปิดร้านเครป เงินทุนเบื้องต้นคือค่าอุปกรณ์และวัตถุดิบ โดยเฉพาะเตาเครป รวมๆแล้วใช้เงินทุนเบื้องต้นประมาณ 20,000 -30,000 บาทสำหรับร้านขนาดกลาง แต่หากเป็นร้านขนาดเล็กทั่วไปอาจใช้งบลงทุนไม่เกิน 10,000 บาท
ยกตัวอย่างการขายที่เครปอีกเช่นกันถ้าขายได้เฉลี่ยต่อวัน 50-80 แผ่น รายได้ประมาณ1500-2000 บาท/วัน หากหักค่าใช้จ่ายแล้วก็ยังเหลือกำไรเกินครึ่ง แต่หากไม่อยากยุ่งยากอยากเปิดร้านได้ทันที
ยุคนี้มีแฟรนไชส์ให้เลือกลงทุนได้เลยอย่าง #แฟรนไชส์ เครปอะเดย์ ที่ทุกแพคเกจมีอุปกรณ์และวัตถุดิบพร้อมสอนวิธีทำและสอนวิธีเปิดร้าน เช่นเดียวกับ #แฟรนไชส์ มารุวาฟเฟิล ที่เป็นสินค้าวาฟเฟิลกลิ่นหอมๆ ยั่วยวนใจ มีแพคเกจลงทุนที่มาพร้อมอุปกรณ์ +วัตถุดิบ และสอนเทคนิคการทำทุกอย่างให้เปิดร้านได้ทันที
เมนูขนมทานเล่นเหล่านี้มีจุดเด่นและความน่าสนใจในตัวเอง หากรู้จักใส่ไอเดียในการขาย พัฒนาการตลาดให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น คนที่ไม่ได้ซื้อแฟรนไชส์มาลงทุนแต่เลือกทำแบรนด์ของตัวเอง อาจจะประสบความสำเร็จด้วยการขายแฟรนไชส์สามารถสร้างรายได้ที่ดีมากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3ll1K58 , https://bit.ly/3ljGFI1 , https://bit.ly/3iGQjmq , https://bit.ly/34rm7Xq
อ้างอิงจาก https://bit.ly/31lWsi1