รวมเทคนิค “สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน” ยุค COVID 19

เราเข้าใจดีว่าคนไทยทั้งประเทศช่วงนี้ต้องหวาดวิตกกับการแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ระลอก 3 นี้ดูจะหนักและรุนแรงที่สุด เป้าหมายทางธุรกิจที่เคยคิดไว้หลายคนต้องพับเก็บไปก่อน สำคัญตอนนี้คือต้องเอาตัวเองให้รอด

แต่ถึงกระนั้นก็ใช่ว่ายุคCOVID แบบนี้เราหมดโอกาสสร้างธุรกิจโดยสิ้นเชิง www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าถ้าเราอยากมีธุรกิจช่วงนี้จริงๆ ต้องเปลี่ยนวิธีจาก “ใช้เงินลงทุน” มาใช้ “ไอเดีย” มากขึ้น ซึ่งในที่นี้เราได้รวบรวมวิธีสร้างธุรกิจแบบไม่ต้องใช้เงินทุน แต่คำว่าไม่ใช้เงินทุนในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ใช้เงินเลยแม้แต่บาทเดียว เพียงแต่เป็นการใช้เงินที่น้อยมากๆ

แต่สิ่งที่ต้องมีมากคือความพยายามของผู้ลงทุนเอง และต่อไปนี้คือวิธีการเริ่มธุรกิจแบบที่คนธรรมดาก็ทำได้แถมไม่มีความเสี่ยงทางการเงินไม่ต้องกู้เงินธนาคาร ไม่ต้องลงทุนก่อน ไม่ต้องปวดหัวว่าสินค้าจะขายได้หรือไม่ ถ้าลองทำตาม 5 วิธีนี้ อิสระทางการเงินจะมาสู่ตัวเราแน่นอน

1.หาลูกค้าก่อนและค่อยหาสินค้า

สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน

คนส่วนใหญ่มักจะคิดก่อนว่า “จะขายอะไร” ทั้งๆที่ความจริงยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า “ลูกค้าคือใคร” “ลูกค้าคือกลุ่มไหน” หลายคนมองเห็นว่าสินค้าแบบนี้ดี แต่พอเอามาขายจริงๆ ปรากฏว่าขายไม่ได้

ขั้นแรกต้องกลับไปที่คำว่า “มองหาโอกาส” ดูความต้องการของคนรอบข้างว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ อะไรคือสิ่งที่เขาไม่มี หรือมองภาพตลาดรวมๆ แล้วดูว่าสินค้าไหนที่คนถามถึงคนอยากได้ แล้วค่อยหาสินค้านั้นมาขาย เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มธุรกิจที่ดี

2.ใช้ทุกอย่างที่ “ฟรี” ทำตลาดออนไลน์

สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน

ลำดับต่อมาเมื่อเรารู้ว่าลูกค้าคือใครและเราต้องการขายอะไร สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้ว่าเรามีสินค้าที่เขาต้องการ แต่แนะนำเบื้องต้นก่อนว่า “ยังไม่ควรซื้อสินค้ามาสต็อค” แต่ให้โปรโมทสินค้าของเราไปก่อนในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น เพจเฟสบุ๊ค หรือเว็บไซต์ฟรีต่างๆ ที่เขาเปิดโอกาสให้เราขายของ ต้องพยายามโพสต์ให้ได้มากที่สุด

โดยมีชื่อ และช่องทางการติดต่อใส่ไปด้วย และรอดูว่าในระหว่าง 1-2 เดือนต่อจากนี้มีลูกค้าสนใจติดต่อขอซื้อสินค้าเรามากแค่ไหน บางคนตัดสินใจผิดพลาดสต็อคของมาก่อนแต่พอเอาเข้าจริงๆลูกค้าไม่มีติดต่อเข้ามาแบบนี้ก็อาจเสี่ยงเจ๊งไม่เป็นท่าได้

3.คุยกับลูกค้าเสมือนมีสินค้า

สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน

ถึงตอนนี้เรายังไม่ได้ใช้เงินทุนแม้แต่บาทเดียวในการทำธุรกิจแต่ตอนนี้เราเริ่มมีคนรู้จักและทักเข้ามาซื้อสินค้า สิ่งสำคัญคืออย่าบอกว่าเราไม่มีสินค้า ต้องรู้จักใช้ทักษะการพูด โดยพยายามชี้แจงเหตุผลให้ลูกค้ารู้ว่า “ตอนนี้สินค้าหมดสต็อคกำลังผลิตล็อตใหม่”

หรือ “สินค้ากำลังจะมาส่ง” การพูดลักษณะนี้ไม่ใช่การหลอกลวง หรือหากลูกค้าอยากได้เลขบัญชีแต่เรายังไม่มีสินค้า ก็บอกลูกค้าให้ทราบว่า ถ้ามีสินค้าเข้ามาทางเราจะติดต่อกลับไปทันที นี่คือกลยุทธ์การขายที่เราไม่ต้องลงทุนก่อนแต่ตอนนี้เริ่มเห็นธุรกิจตัวเองก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นแล้ว

4.เริ่มสต็อคสินค้าและอย่าขายแบบหวังกำไรในช่วงแรก

สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน

มาถึงตรงนี้เรารู้ว่ามีคนสนใจสินค้าและต้องการโอนเงินให้เรา หน้าที่ของเราคือไปสั่งสินค้าดังกล่าวและโทรไปหาลูกค้าเพื่อให้โอนเงินและเราก็จัดส่งสินค้าให้ตามต้องการ โดยเราต้องพยายามีแบบให้ลูกค้าเลือกมากพอ และในช่วงแรกอาจจะต้องยอมขายแบบเท่าทุนหรือไม่มีกำไรไปก่อน

ซึ่งจะเป็นการเรียกลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น ลูกค้าเชื่อมั่นมากขึ้น อันจะทำให้ตัวเราเองเริ่มมีธุรกิจที่มั่นคง และวิธีแบบนี้ก็สามารถใช้กับสินค้าได้ทุกชนิดในโลก และสามารถทำคู่กับงานประจำที่ทำอยู่ได้ และเมื่อใดที่เริ่มมีรายได้จากการขายลักษณะนี้มากขึ้นก็ตัดสินใจเอาเองว่าจะลาออกจากงานประจำมาทำเต็มตัวหรือจะทำควบคู่กันไปแบบเดิม

5.ถ้าสินค้าแรกไม่เวิร์คอย่าท้อ เปลี่ยนสินค้าใหม่ ใช้วิธีเดิม

สร้างธุรกิจแบบไร้เงินทุน

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จในการขายแบบนี้ บางคนอาจไปจับเอาสินค้าที่ครั้งแรกขายไม่ได้ไม่มีคนต้องการ สำคัญคืออย่าท้อ ให้ลองหาสินค้าใหม่เอามาขาย และใช้วิธีแบบเดิมเพราะไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนในการเริ่มต้นแม้แต่บาทเดียว

แต่ต้องมีความพยายามและอดทนรอคอยที่จะประสบความสำเร็จ วิธีนี้สามารถสร้างรายได้หลักหมื่นหลักแสนให้เราได้โดยไม่ต้องลงทุนสักบาท เพียงแต่เราต้องเชื่อมั่นและตั้งใจทำจริงๆ เท่านั้น

57

ใครที่อยากเริ่มต้นด้วยวิธีเหล่านี้ ให้มองหาร้านค้าหรือสินค้าที่เราต้องการ ขอถ่ายภาพเพื่อเอามาโพสต์ขาย โดยต้องไม่ขี้เกียจโพสต์ อย่าไปแคร์สายตาใครว่าเรากำลังทำอะไร โพสต์ไปเลยในเพจ ในเฟส ในเว็บฟรี ยิ่งโพสต์มากโอกาสที่คนจะเห็นและสั่งสินค้าก็มีมาก เมื่อได้ลูกค้าที่ต้องการสินค้าจริง ๆ ก็ค่อยเริ่มไปสั่งสินค้ามาขายเริ่มจากกำไรน้อยๆ ในตอนแรกและค่อยๆขยายกิจการให้เติบโตมีสินค้ามากขึ้น กำไรก็จะมากขึ้น โดยที่เงินลงทุนเริ่มต้นของเรายังต้องใช้แม้แต่บาทเดียว

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3vOfXNu

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด