รวมเช็คลิสต์ ปัญหาของคนขายแฟรนไชส์

เจ้าของกิจการที่กำลังคิดอยากขยายธุรกิจด้วยการขายแฟรนไชส์ อาจไม่รู้ว่าจะต้องเจอปัญหาอะไรบ้างในระหว่างการเดินไปสู่เส้นทางของระบบแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาก่อนเริ่มต้นและปัญหาหลังเริ่มต้น ถ้าถามว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์จะต้องเจอ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

1.การสร้างระบบแฟรนไชส์

รวมเช็คลิสต์ ปัญหา

ปัญหาของเจ้าของธุรกิจที่คิดจะขายแฟรนไชส์อย่างแรก ก็คือ การสร้างธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ หลายๆ คนพอมีลูกค้ามาขอซื้อแฟรนไชส์ ก็ขายให้ไปทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ เพราะอยากได้เงินก้อนที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เอามาโชว์ให้ดู สุดท้ายเครือข่ายสาขาแฟรนไชส์ก็ไปไม่รอด เพราะผู้ขายแฟรนไชส์ไม่มีระบบช่วยเหลือและสนับสนุนอะไรแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เลย ไม่มีการเรียกเก็บค่าสิทธิและค่าใช้จ่ายอะไรจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เพื่อเป็นเงินสนับสนุนผู้รับสิทธิ ดังนั้น ก่อนขายแฟรนไชส์ต้องรู้เรื่องแฟรนไชส์ ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง

#สมัครคอร์สเรียนแฟรนไชส์ https://bit.ly/3tWlgvl

2.การสร้างแบรนด์

2

ปัญหาถัดมาของ คนขายแฟรนไชส์ ก็คือ การสร้างแบรนด์แฟรนไชส์ของตัวเองให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ยิ่งคนรู้จักทั่วประเทศยิ่งทำให้มีโอกาสขายแฟรนไชส์ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ยกตัวอย่างแฟรนไชส์คาเฟ่ คาเมซอน ปัจจุบันมีมากกว่า 3 พันสาขาทั้งในและต่างประเทศ หรือ 7-Eleven มีเกือบ 1.3 หมื่นสาขาทั่วประเทศ เพราะลูกค้ารู้จักและจดจำแบรนด์ได้ง่าย ทำให้หลายๆ คนอยากเป็นเจ้าของแบรนด์ดังกล่าวด้วยการซื้อแฟรนไชส์ แต่ปัญหาอาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

3.การขายแฟรนไชส์

3

ปัญหาถัดมาของคนขายแฟรนไชส์ ก็คือ การขายแฟรนไชส์ที่มีหลากหลายขั้นตอนและองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านแต่ละสาขา ค่าแฟรนไชส์ ค่าสิทธิที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายในแต่ละเดือน การสร้างคู่มือแฟรนไชส์ การสร้างสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องรู้ เพื่อที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ได้ง่าย มีการออกบูธ โรดโชว์ จัดงานสัมมนา กว่าจะขายแฟรนไชส์ได้ยากแสนยาก

4.การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

4

ปัญหาที่คนขายแฟรนไชส์จะต้องเจออีกอย่าง ก็คือ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ถูกใจและมีคุณภาพ มีความตั้งใจการทำธุรกิจ ยิ่งในช่วงสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงข้าวยากหมากแพง เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมุ่งเน้นการคัดกรองพาร์ตเนอร์หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์อย่างละเอียด รวมไปถึงการวิเคราะห์ทำเลต้องดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแฟรนไชส์ซีคืนสัญญาแฟรนไชส์ก่อนกำหนดเพราะขาดทุน ไม่มีลูกค้า ไปต่อไม่ได้ นั่นคือ ปัญหาที่ผู้ขายแฟรนไชส์อาจต้องเจอ

5.การสนับสนุนแฟรนไชส์

6

ถือเป็นปัญหาที่ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะเติบโตและขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว อยู่ที่การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ทุกๆ ด้าน เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ขายของมีรายได้ มีผลกำไรเติบโตไปพร้อมๆ กับเจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย การอบรมพัฒนาทักษะด้านต่างๆ การให้คำปรึกษาแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เมื่อเจอปัญหาระหว่างการทำดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

6.การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ

5

เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของธุรกิจที่คิดจะขายแฟรนไชส์ต้องเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวรับมือ เพราะเมื่อขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นไปแล้ว ในฐานะตัวเองเป็นแฟรนไชส์ซอร์จะต้องให้การสนับสนุนในเรื่องของการบริการจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบไปยังสาขาต่างๆ ของแฟรนไชส์ซีที่มีอยู่ทั่วประเทศ หากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่มีความพร้อมในเรื่องการขนส่ง หรือไม่มีศูนย์กระจายสินค้าที่ครอบคลุมสาขาทั่วประเทศ ก็อาจไม่สามารถจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบให้กับสาขาในแต่ละพื้นที่ได้

7.การควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์

1

ปัญหาสุดท้ายที่เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์จะต้องเจอ นั่นคือ การควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์ในแต่ละสาขาของแฟรนไชส์ซี ถ้าหากมีสาขากว่า 100 สาขา ก็ต้องบริหารจัดการแต่ละแฟรนไชส์ให้มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เหมือนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นร้านอาหารก็ต้องมีรสชาติและเมนูเหมือนกันทุกร้าน มีรูปแบบการบริการเดียวกัน ซึ่งตรงนี้เจ้าของแบรนด์จะต้องมีทีมงานที่พร้อมออกไปดูแลและตรวจสอบสาขา รวมถึงพัฒนาทักษะพนักงานแต่ละสาขาอย่างต่อเนื่อง สาขาไหนปล่อยปละละเลยก็อาจมีการตักเตือน แต่ต้องระวังอาจเกิดการทะเลาะกับสาขาแฟรนไชส์ซีด้วย

นั่นคือ รวมเช็คลิสต์ ปัญหา ของคนขายแฟรนไชส์ ที่เจ้าของธุรกิจหลายๆ คนจะต้องเจอ หากสร้างธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ในยุคปัจจุบันครับ

Franchise Tips

  1. การสร้างระบบแฟรนไชส์
  2. การสร้างแบรนด์
  3. การขายแฟรนไชส์
  4. การคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
  5. การสนับสนุนแฟรนไชส์
  6. การจัดส่งสินค้า-วัตถุดิบ
  7. การควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3O6xw4x

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช